สินค้า
บทความ
ประวัติคณาจารย์
ประวัติหลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม
ประวัติหลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
ประวัติพระพุฒาจารย์ เอนกสถาน ปรีชาฯ (ท่านเจ้ามา)
หลวงพ่อจันทร์ โฆสโก วัดหาดสองแคว
หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้
หลวงพ่อไซร้ ติสสฺโร วัดช่องลม
หลวงปู่เขียน วัดสำนักขุนเณร
หลวงพ่อสว่าง วัดท่าพุทรา
หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่
หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน
หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์
หลวงพ่อทบ วัดชนแดน
หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง
หลวงปู่พิมพา วัดหนองตางู
ประวัติพระกรุ
พระผงสุพรรณ จ.สุพรรณบุรี
พระรอด กรุมหาวัน
พระซุ้มกอ (พระกำแพงซุ้มกอ) จ.กำแพงเพชร
พระหลวงพ่อเงินกรุวัดขวาง
พระนางพญาพิษณุโลก
พระนางพญากรุเจดีย์กลางน้ำ
ประวัติพระเครื่อง/เครื่องราง/มีดหมอ
ประวัติพระสมเด็จวัดเกศไชโย
ประวัติพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม
พระชัยวัฒน์ท่านเจ้ามา
พระสมเด็จวัดะฆัง
ประวัติการสร้างเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก รุ่นแรก ปีพ.ศ.2513
ขั้นตอนการสร้างตะกรุด หลวงพ่อทบ
การสร้างตะกรุดลูกปืน
ประวัติการลงสูตรลบผงหลวงพ่อทบ
ประวัติตะกรุดหลวงพ่อทบ วัดชนแดน
ประวัติมีดหมอหลวงพ่อเดิม
รู้ทันพระแท้
พระสมเด็จวัดเกศไชโยพิมพ์เจ็ดชั้นอกตลอด
'พระสมเด็จวัดเกศไชโยพิมพ์ ๖ ชั้นอกตัน
พระสมเด็จเกศไชโยพิมพ์ ๗ ชั้น
พระสมเด็จอรหังพิมพ์เล็กมีประภามณฑล
พระสมเด็จอรหังพิมพ์ฐานคู่
'พระสมเด็จอรหังพิมพ์ใหญ่ ฐานสามชั้น
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่พระอุระเล็ก (อกเล็ก)
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่ พระกรโค้ง' (แขนโค้ง)
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑเล็ก
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์สังฆาฏิไม่มีพระกรรณ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์สังฆาฏิ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ฐานแซมพระอุระร่อง
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ฐานแซม
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์เส้นด้ายฐานแคบ
พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้ายอกวี
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์เส้นด้ายแขนกลม
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์เส้นด้าย
พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่พระพักตร์เล็ก
พระรอดพิมพ์ต้อวัดมหาวัน
พระรอดพิมพ์กลางวัดมหาวัน
พระรอดพิมพ์เครื่องราชฯพิมพ์ที่ 2
พระรอดพิมพ์เครื่องราชพิมพ์ที่ 1
ตำหนิ พระซุ้มกอ(พิมพ์ใหญ่มีกนก) จ.กำแพงเพชร
พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง
ชั่วโมงเซียน - เหรียญจบที่...ขอบ
การดูพื้นเหนรยญพระปั้ม
หลักการดูพระทั่วๆไป
การดูมีดหลวงพ่อเดิม
บทความทั่วไป
พระรอดพิมพ์ตื้นวัดมหาวัน
เรื่องใกล้ตัวแมลงกินพระเนื้อว่าน
เล่นพระยังไง ให้เป็นซะที
ประมูลพระเครื่อง
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   
สถิติ
เปิดเมื่อ5/10/2011
อัพเดท27/02/2013
ผู้เข้าชม862753
แสดงหน้า1053996




หลวงปู่พิมพา วัดหนองตางู

อ่าน 3926 | ตอบ 0

พระครูนิทัศน์ศาสนกิจ (หลวงปู่พิมพา ธมฺมวโร)
                วัดหนองตางู อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ เทพแห่งเมืองปากน้ำโพอีกองค์หนึ่ง “เมื่อได้บวชแล้ว ถ้าศีรษะไม่ล้านถึงท้ายทอยจะไม่ยอมลาสิขาบทถ้าตายก็ยอมตายในผ้าเหลือง” ประวัติหลวงปู่พิมพา ธมฺมวโร หลวงปู่พิมพา เดิมชื่อ พิมพา นามสกุล สาริกิจ เป็นบุตร นายสิงห์ นางแถม สาริกิจ เกิดวันพฤหัสบดี ที่ 22 เดือน กรกฎาคม 2452 ตรงกับ ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 8 ปีระกา มีพี่น้องท้องเดียวกันทั้งหมด 10 คน หลวงปู่เป็นคนที่ 7 ถือกำเนิดที่ บ้านท่ามะกูด ตำบลวังเมือง อำเภอทับทัน จังหวัดอุทัยธานี ต่อมาได้ย้ายตามบิดามารดามาอยู่ที่บ้านวังกระชอน ตำบลหูกวาง อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ อายุ 7 ขวบได้ศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนบ้านวังกระชอน ตำบลหูกวาง อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ช่วงนั้นครอบครัวยากจนมากมีอาชีพทำไร่ ทำนา ต้องช่วยเหลือตนเอง จนจบชั้น ประถมศึกษาปี่ที่ 4 ต้องออกมาช่วยครอบครัวทำไร่ ทำนา
               การอุปสมบท อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้อุปสมบททดแทนบุญคุณบิดามารดา ณ วัดเขาดินใต้ อำเภอบรรพตพิสัย(ในขณะนั้นเป็นอำเภอบรรพตพิสัย ปัจจุบันเป็นอำเภอเก้าเลี้ยว) จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อ 3 พฤษภาคม 2472 เวลา 07.00 น. โดยมีพระครูพิสิษฐสมถคุณ หรือหลวงพ่อเฮง เป็นอุปัชฌาย์ หลวงปู่ได้ตั้งปณิธานไว้ว่าเมื่อได้บวชแล้ว ถ้าศีรษะไม่ล้านถึงท้ายทอยจะไม่ยอมลาสิขาบทพรรษาแรกท่านได้จำพรรษาที่วัดวังกระชอน และเกิดป่วยหนักเอาชีวิตแทบไม่รอด จนพ่อแม่ญาติพี่น้องขอร้องให้สิขาบท ออกมารักษาตัวแต่ท่านไม่ยอม ท่านว่าถ้าตายก็ยอมตายในผ้าเหลือง
              การเรียนกฤตยาคม หลวงปู่พิมพาเป็นคนสนใจการเรียนตั้งแต่เด็ก อายุประมาณ 17 ปีได้เรียนวิชาอาคมต่างๆจากอาจารย์สา และอาจารย์โสภา คนเฒ่าคนแก่บ้านวังกระชอน และยังเรียนเรื่องสมุนไพรใบยาแผนโบราณรักษาผู้ป่วยด้วย และท่านยังได้เรียนวิชาอาคมกับเกจิอาจารย์ชื่อดังอีกหลายท่าน ดังนี้ หลวงพ่อเฮง วัดเขาดินใต้ เป็นอุปัชฌาย์ด้วย (หลวงพ่อเฮงเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เชี่ยวชาญเรื่องคาถาอาคม และเป็นต้นตำหรับวัตถุมงคลงาแกะสลักที่เลื่องชื่อ รัชกาลที่ 5 เคยแวะสนทนาธรรมกับท่านที่วัดและนิมนต์ร่วมงานราชพิธีหลายครั้ง และแต่งตั้งให้เป็นพระครูชั้นพิเศษและพระอุปัชฌาย์ทั่วประเทศ) หลวงพ่อพวง วัดหนองกระโดน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ มีชื่อเสียงทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี หลวงพ่อเคลือบ วัดหนองกระดี่ อำเภอทับทัน จังหวัดอุทัยธานี วาจาศักดิ์สิทธิ์ เสกเหล้าจืด ปัจจุบันยังมีผู้บนบานสารกล่าวท่านด้วยสุราขาวกับมะขามเปี๊ยก ได้ดังใจ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เกจิชื่อดังของนครสวรรค์ หลวงปู่พิมพาได้ศึกษาการลงตะกรุด มีดหมอ รวมทั้งเวทย์มนต์ต่างๆ ถึง 5 พรรษา ศิษย์ร่วมรุ่นที่รู้จักกันดีคือ หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม จังหวัดชัยนาท (ดังประวัติของหลวงพ่อกวยที่กล่าวถึงหลวงปู่พิมพาไว้) หลวงพ่อยี วัดดงตาก้อนทอง อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก เกจิชื่อดังเมืองพิษณุโลก วิชาอาคมขลังและอิทธิฤทธิ์มากอีกองค์หนึ่ง เสกข้าวสารให้เป็นทอง พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์ อธิบดีกรมศาสนา(สมัยนั้น)กับ นายสัญญา ธรรมศักดิ์ นายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย (สมัยนั้น) ได้เดินทางไปพิสูจน์ถึงวัด เมื่อ 29 มิถุนายน 2508 และยอมรับว่ามีจริง ท่านมรณภาพเมื่อ 10 มิถุนายน 2515 อายุ 106 ปี หลวงพ่อดี วัดหัวถนน อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ หลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี และยังได้เข้าศึกษาพระธรรม ณ วัดระฆังโฆสิตาราม สมัยประมาณ ปี พ.ศ. 2484 สมัยนั้นน่าจะเป็นหลวงปู่นาค รวมทั้งหลวงพ่อจ้อยก็เคยไปศึกษาที่นั้นเช่นกัน (จากประวัติหลวงพ่อจ้อยที่กล่าวถึง) จนจบปริเฉท 9 และเข้าปฏิบัติวิปัสสนา กับท่านเจ้าคุณสังฆมนตรี วัดมหาธาตุ อีก 2 พรรษา ท่านยังได้ออกธุดงค์ เพื่อจาริกปฏิบัติธรรม ไปถึงอีสาน เหนือ เลยไปถึงประเทศลาว และจีน
               ด้านพัฒนาพระพุทธศาสนาและด้านสาธารณประโยชน์อื่นๆ หลวงปู่เป็นนักพัฒนาในหลายๆด้าน จากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ ด้านแหล่งน้ำเคยนำชาวบ้านขุดคลอง เพื่อนำน้ำมาทำนาร่วมกับท่านสวัสดิ์ คำประกอบ (สส.สมัยนั้น) สร้างโรงเรียน สถานีอนามัยและสิ่งสาธารณประโยชน์หลายอย่าง ด้านศาสนาท่านเป็นพระปฏิบัติธรรมวินัยโดยเคร่งครัด และได้สร้างและทำนุบำรุงวัดไว้มากมายหลายวัดในจังหวัดนครสวรรค์ เช่น วัดสี่แพร่ง วัดสองพี่น้องคลองวารินทร์ วัดโพธิธรรม วัดคลองมงคล อำเภอบรรพตพิสัย วัดตลิ่งสูง อำเภอลาดยาว และอีกหลายวัด ต่างจังหวัด เช่นวัดทุ่งทอง วัดเขาหนองตะเคียน วัดที่อำเภอเขาคล้อ และวัดในภาคอีสานอีกหลายวัด รวมไปถึงต่างประเทศ ประเทศลาวที่ท่านเคยไปธุดงค์ ก็สร้างวัดไว้หนึ่งวัด ท่านเคยนำพระพุทธรูปหรือพระประธานไปถวายในประเทศลาวประมาณ 150 องค์ มีคนเล่าให้ฟังว่ามีพระยานาคมายินดีกับท่านด้วย จนสมเด็จพระสังฆราชประเทศลาวมาให้การต้อนรับการสร้าวัดและทำนุบำรุงพระศาสนานี้ท่านน่าจะเจริญลอยตามหลวงพ่อเดิม
                วาระสุดท้าย หลวงปูมรณภาพด้วยโรคมะเร็งถุงน้ำดี เนื่องจากโหมงานหนักในระยะหลังมีกิจนิมนต์มาก ท่านจากไปด้วยอาการสงบในคืนวันที่ 2 สิงหาคม 2541 สิริอายุ 91 ปี ปัจจุบันร่างของท่านยังไม่เน่าเปื่อยอยู่ที่วัดหนองตางู 'ใดใดในโลกล้วน คงแต่บาปบุญยัง คือเงาติดตัวตรัง ตามแต่บาปบุญแล้ว อนิจจัง เที่ยงแท้ ตรึงแน่นอยู่นา ก่อเกื้อ รักษา'

ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :
 


ศูนย์รวมพระเครื่อง และ ความรู้พระเครื่อง
อันดับหนึ่งของภาคเหนือตอนล่างภาคกลางตอนบน