สินค้า
บทความ
ประวัติคณาจารย์
ประวัติหลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม
ประวัติหลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
ประวัติพระพุฒาจารย์ เอนกสถาน ปรีชาฯ (ท่านเจ้ามา)
หลวงพ่อจันทร์ โฆสโก วัดหาดสองแคว
หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้
หลวงพ่อไซร้ ติสสฺโร วัดช่องลม
หลวงปู่เขียน วัดสำนักขุนเณร
หลวงพ่อสว่าง วัดท่าพุทรา
หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่
หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน
หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์
หลวงพ่อทบ วัดชนแดน
หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง
หลวงปู่พิมพา วัดหนองตางู
ประวัติพระกรุ
พระผงสุพรรณ จ.สุพรรณบุรี
พระรอด กรุมหาวัน
พระซุ้มกอ (พระกำแพงซุ้มกอ) จ.กำแพงเพชร
พระหลวงพ่อเงินกรุวัดขวาง
พระนางพญาพิษณุโลก
พระนางพญากรุเจดีย์กลางน้ำ
ประวัติพระเครื่อง/เครื่องราง/มีดหมอ
ประวัติพระสมเด็จวัดเกศไชโย
ประวัติพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม
พระชัยวัฒน์ท่านเจ้ามา
พระสมเด็จวัดะฆัง
ประวัติการสร้างเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก รุ่นแรก ปีพ.ศ.2513
ขั้นตอนการสร้างตะกรุด หลวงพ่อทบ
การสร้างตะกรุดลูกปืน
ประวัติการลงสูตรลบผงหลวงพ่อทบ
ประวัติตะกรุดหลวงพ่อทบ วัดชนแดน
ประวัติมีดหมอหลวงพ่อเดิม
รู้ทันพระแท้
พระสมเด็จวัดเกศไชโยพิมพ์เจ็ดชั้นอกตลอด
'พระสมเด็จวัดเกศไชโยพิมพ์ ๖ ชั้นอกตัน
พระสมเด็จเกศไชโยพิมพ์ ๗ ชั้น
พระสมเด็จอรหังพิมพ์เล็กมีประภามณฑล
พระสมเด็จอรหังพิมพ์ฐานคู่
'พระสมเด็จอรหังพิมพ์ใหญ่ ฐานสามชั้น
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่พระอุระเล็ก (อกเล็ก)
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่ พระกรโค้ง' (แขนโค้ง)
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑเล็ก
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์สังฆาฏิไม่มีพระกรรณ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์สังฆาฏิ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ฐานแซมพระอุระร่อง
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ฐานแซม
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์เส้นด้ายฐานแคบ
พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้ายอกวี
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์เส้นด้ายแขนกลม
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์เส้นด้าย
พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่พระพักตร์เล็ก
พระรอดพิมพ์ต้อวัดมหาวัน
พระรอดพิมพ์กลางวัดมหาวัน
พระรอดพิมพ์เครื่องราชฯพิมพ์ที่ 2
พระรอดพิมพ์เครื่องราชพิมพ์ที่ 1
ตำหนิ พระซุ้มกอ(พิมพ์ใหญ่มีกนก) จ.กำแพงเพชร
พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง
ชั่วโมงเซียน - เหรียญจบที่...ขอบ
การดูพื้นเหนรยญพระปั้ม
หลักการดูพระทั่วๆไป
การดูมีดหลวงพ่อเดิม
บทความทั่วไป
พระรอดพิมพ์ตื้นวัดมหาวัน
เรื่องใกล้ตัวแมลงกินพระเนื้อว่าน
เล่นพระยังไง ให้เป็นซะที
ประมูลพระเครื่อง
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    
สถิติ
เปิดเมื่อ5/10/2011
อัพเดท27/02/2013
ผู้เข้าชม854911
แสดงหน้า1045525




พระสมเด็จเกศไชโยพิมพ์ ๗ ชั้น

อ่าน 1311 | ตอบ 0
ความเป็นมาของ “พระสมเด็จเกศไชโย” ผู้เขียนก็ได้อธิบายไปแล้วเมื่อฉบับวันเสาร์ที่ผ่าน วันนี้จึงขอนำท่านผู้อ่านพบกับการชี้จุดสังเกตกันเลย เพื่อจะได้ทราบพิมพ์ไหนมีข้อสังเกตที่ควรรู้เช่นไรบ้าง และก่อนจะชี้จุดสังเกตผู้เขียนขอเรียนว่า “พระสมเด็จเกศไชโย” มีการสร้างขึ้นถึง ๒ ครั้ง ดังนี้ ครั้งแรก สร้างขึ้นหลังจาก “สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี” สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่เสร็จแล้วจึงสร้าง “พระพิมพ์สมเด็จเกศไชโย” ด้วยเนื้อผงขาวรูปทรง “สี่เหลี่ยมผืนผ้ายกกรอบกระจก” ที่มีทั้งพิมพ์ “๗ ชั้น ๖ ชั้น ๓ ชั้น” โดยสร้างขึ้นที่วัดระฆังแล้วนำไปบรรจุไว้ในองค์พระพุทธรูปองค์ใหญ่จำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์ เพื่อเป็นพุทธบูชาตามคตินิยมโบราณกาลเวลาผ่านไปประมาณ ๑๐ ปี “พระพุทธรูปองค์ใหญ่” ที่ประดิษฐานอยู่กลางแจ้งจึงตากแดดตากฝนนานนับสิบปี ประกอบกับการก่อสร้างไม่แข็งแรงได้พังทลายลงจึงพบเห็น “พระพิมพ์สมเด็จ” ชาวบ้านที่แห่มาดูจึงหยิบฉวยเอาไปบูชาจำนวนมากครั้น “สมเด็จโต” ทราบเรื่องจึงสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ขึ้นใหม่อีกพร้อมกับสร้าง “พระพิมพ์สมเด็จ” เพิ่มเติมเพื่อนำไปบรรจุไว้ในองค์พระพุทธรูปองค์ใหญ่ เหมือนครั้งแรกเนื่องจากพระพิมพ์ที่เหลือมีไม่ครบ ๘๔,๐๐๐องค์ และอาจจะด้วยมีเวลาที่จำกัดการสร้างพระพิมพ์ขึ้นใหม่นี้ก็ยังไม่ครบจำนวนจึงนำ “พระสมเด็จวัดระฆัง” จำนวนหนึ่งไปร่วมบรรจุไว้ด้วยเพื่อให้ครบตามจำนวนดังนั้น “เนื้อ” ของ “พระสมเด็จวัดเกศไชโย” จึงมีทั้ง “เนื้อละเอียด-เนื้อแกร่ง” และ “เนื้อน้ำมัน” (ผสมน้ำมันตังอิ้วมาก) ซึ่งวันนี้ขอชี้จุดสังเกต “พิมพ์ ๗ ชั้น” ซึ่งเป็นพิมพ์นิยมสูงสุดเป็นประเดิม
 
๑.    “กรอบกระจก” ก็คือคำเปรียบเทียบของ “พระพิมพ์” ที่องค์พระพุทธปางสมาธิขัดราบประดิษฐานอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งก็คือ “เส้นขอบแม่พิมพ์” แต่การตัดขอบไม่ได้ตัดตามแนวเส้นขอบแม่พิมพ์ โดยตัดห่างจากเส้นขอบแม่พิมพ์จึงทำให้มีปีกทั้งสี่ด้านที่ ด้านซ้ายและขวา จะใหญ่กว่า ด้านบนและด้านล่าง อีกทั้ง “เส้นขอบด้านบน” จะไม่เป็นเส้นตรงโดยมุมเส้นขอบกระจกด้ายซ้ายองค์พระจะมีลักษณะคล้ายหัวตัว “สระโอ”

๒.    “เส้นครอบแก้ว” ลักษณะคล้าย “หวายผ่าซีก” ที่ได้รูปสม่ำเสมอสวยงามส่วน “พระเกศ” (ผม) ลักษณะคล้ายกับ “ปลีกล้วย” หรือ “เปลวเทียน” ไปจรดเส้นซุ้มครอบแก้วที่หากสังเกตให้ดีจะพบว่า “พระเกศ” ของพิมพ์นี้จะไม่อยู่กึ่งกลาง “พระเศียร” (ศรีษะ) แต่เยื้องไปทางด้ายซ้ายองค์พระเล็กน้อย
 
๓.    “พระเศียร” (ศรีษะ) ลักษณะกลมมนเล็กขณะที่ “พระกรรณ” (หู) เป็นเส้นใหญ่หนาและโค้งงอนในลักษณะพระจันทร์ครึ่งเซี้ยวจึงเป็นที่มาของคำว่า “หูบายศรี” โดยพระกรรณด้านขวาจะชิดพระพักตร์มากกว่าด้านซ้ายและปรากฏ “พระศอ” (คอ) เด่นชัดทุกองค์
 
๔.    “พระพาหา” (แขน) ทั้งสองข้างกางออกแล้วไปหักมุมตรง “พระกัปปะระ” (ศอก) เพื่อประสานกันในท่านั่งสมาธิที่ด้านซ้ายองค์พระ นอกจากจะกางออกมากกว่าด้านขวาแล้วยังใหญ่กว่าด้านขวาเล็กน้อยอีกด้วย
 
๕.    “พระอุระ” (อก) หากสังเกตให้ดีจะพบว่ามีลักษณะคล้ายกับ “รากฟันกราม” ของคนโดยพระอุระด้านซ้าย จะนูนสูงกว่าด้านขวาและเป็นที่มาของคำว่า “อกร่อง” ส่วน “พระเพลา” (ตัก) ลักษณะจะเป็นแท่งทึบที่ไม่มีการแยก “พระบาท” (เท้า) ให้เห็นเป็นข้างซ้ายและขวาอีกทั้งตรงกลางจะแอ่นโค้งเล็กๆ
 
๖.    “ฐาน” มีทั้งหมด ๗ ชั้น โดยชั้นบนสุดนอกจากสั้นและหนาแล้ว ยังเป็นเส้นโค้งคล้ายกับท้องเรือขณะที่ ฐานชั้นที่ ๓ ลักษณะแอ่นขึ้นเล็กน้อยและปลายฐานทั้งสองข้าง ของฐานชั้นที่สองถึงชั้นที่เจ็ดลักษณะอ่อนพลิ้วทุกชั้นส่วนปลายฐานของ ฐานชั้นที่ ๑ ทั้งสองข้างมลักษณะเรียวแหลมและจรดเส้นซุ้ม
     
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :
 


ศูนย์รวมพระเครื่อง และ ความรู้พระเครื่อง
อันดับหนึ่งของภาคเหนือตอนล่างภาคกลางตอนบน