สินค้า
บทความ
ประวัติคณาจารย์
ประวัติหลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม
ประวัติหลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
ประวัติพระพุฒาจารย์ เอนกสถาน ปรีชาฯ (ท่านเจ้ามา)
หลวงพ่อจันทร์ โฆสโก วัดหาดสองแคว
หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้
หลวงพ่อไซร้ ติสสฺโร วัดช่องลม
หลวงปู่เขียน วัดสำนักขุนเณร
หลวงพ่อสว่าง วัดท่าพุทรา
หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่
หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน
หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์
หลวงพ่อทบ วัดชนแดน
หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง
หลวงปู่พิมพา วัดหนองตางู
ประวัติพระกรุ
พระผงสุพรรณ จ.สุพรรณบุรี
พระรอด กรุมหาวัน
พระซุ้มกอ (พระกำแพงซุ้มกอ) จ.กำแพงเพชร
พระหลวงพ่อเงินกรุวัดขวาง
พระนางพญาพิษณุโลก
พระนางพญากรุเจดีย์กลางน้ำ
ประวัติพระเครื่อง/เครื่องราง/มีดหมอ
ประวัติพระสมเด็จวัดเกศไชโย
ประวัติพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม
พระชัยวัฒน์ท่านเจ้ามา
พระสมเด็จวัดะฆัง
ประวัติการสร้างเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก รุ่นแรก ปีพ.ศ.2513
ขั้นตอนการสร้างตะกรุด หลวงพ่อทบ
การสร้างตะกรุดลูกปืน
ประวัติการลงสูตรลบผงหลวงพ่อทบ
ประวัติตะกรุดหลวงพ่อทบ วัดชนแดน
ประวัติมีดหมอหลวงพ่อเดิม
รู้ทันพระแท้
พระสมเด็จวัดเกศไชโยพิมพ์เจ็ดชั้นอกตลอด
'พระสมเด็จวัดเกศไชโยพิมพ์ ๖ ชั้นอกตัน
พระสมเด็จเกศไชโยพิมพ์ ๗ ชั้น
พระสมเด็จอรหังพิมพ์เล็กมีประภามณฑล
พระสมเด็จอรหังพิมพ์ฐานคู่
'พระสมเด็จอรหังพิมพ์ใหญ่ ฐานสามชั้น
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่พระอุระเล็ก (อกเล็ก)
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่ พระกรโค้ง' (แขนโค้ง)
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑเล็ก
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์สังฆาฏิไม่มีพระกรรณ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์สังฆาฏิ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ฐานแซมพระอุระร่อง
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ฐานแซม
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์เส้นด้ายฐานแคบ
พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้ายอกวี
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์เส้นด้ายแขนกลม
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์เส้นด้าย
พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่พระพักตร์เล็ก
พระรอดพิมพ์ต้อวัดมหาวัน
พระรอดพิมพ์กลางวัดมหาวัน
พระรอดพิมพ์เครื่องราชฯพิมพ์ที่ 2
พระรอดพิมพ์เครื่องราชพิมพ์ที่ 1
ตำหนิ พระซุ้มกอ(พิมพ์ใหญ่มีกนก) จ.กำแพงเพชร
พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง
ชั่วโมงเซียน - เหรียญจบที่...ขอบ
การดูพื้นเหนรยญพระปั้ม
หลักการดูพระทั่วๆไป
การดูมีดหลวงพ่อเดิม
บทความทั่วไป
พระรอดพิมพ์ตื้นวัดมหาวัน
เรื่องใกล้ตัวแมลงกินพระเนื้อว่าน
เล่นพระยังไง ให้เป็นซะที
ประมูลพระเครื่อง
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    
สถิติ
เปิดเมื่อ5/10/2011
อัพเดท27/02/2013
ผู้เข้าชม855186
แสดงหน้า1045802




พระสมเด็จวัดะฆัง

อ่าน 4530 | ตอบ 0

ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆษิตาราม
ชาติภูมิ
เดิมชื่อโต บุตรนางงุด บิดาไม่เป็นที่ปรากฏ ตาชื่อนายผล ยายชื่อนางลา ถือกำเนิดในแผ่นดินรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พุทธศักราช 2331 สัมฤทธิ์ศก จุลศักราช 1150 เวลาประมาณ 06.54 น. เดิมเป็นชาวบ้านท่าอิฐ อำเภอบ้านโพ (อำเภอเมืองปัจจุบัน) จังหวัดอุตรดิตถ์ ต่อมาฝนแล้งติดต่อกันหลายปีการทำนาไม่ได้ผล จึงย้ายภูมิลำเนาไปอยู่กับยายที่บ้านไก่จ้น ตำบลท่าหลง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ต่อมา มารดาได้ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่ตำบลบางขุนพรหม และได้มอบให้เป็นศิษย์ท่านเจ้าคุณอรัญญิก เจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร เพื่อศึกษาอักขรสมัย เมื่ออายุครบ 12 ปีบริบูรณ์ตรงกับปีวอก พ.ศ. 2342 ได้บรรพชาเป็นสามเณรโดยมีพระบวรวิริยะเณร (อยู่) เจ้าอาวาสวัดบางลำพู (วัดสังเวชวิศยาราม - ปัจจุบัน) เป็นพระอุปัชฌาย์ (นาค เปรียญเอก ) สามเณรโตเป็นผู้ที่มีวิริยะ อุตสาหะในการศึกษาเนอย่างดีมีวัตรปฏิบัติที่น่าเลื่อมใสจนปรากฏว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรทรงโปรดปรานมาก ทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ได้พระราชทานเรือกัญญาหลังคากระแชงให้ท่านใช้สอยตามอัธยาศัย
เมื่ออายุครบ 21 ปี ตรงกับปีเถาะ พ.ศ. 2350 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อุปสมบทเป็นนาคหลวงที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดมหาธาตุเป็นพระอุปัชฌาย์ให้ยาว่า “พรหมรังสี” และเรียกว่าพระมหาโต ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

สมณศักดิ์
1. พระธรรมกิตติ สถาปนาพร้อมกับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆษิตาราม โดย
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปีชวด พ.ศ. 2395 ขณะท่านมีอายุ 65 ปี
2. พระเทพกวี เมื่อปีขาล พ.ศ. 2397
3. สมเด็จพระพุฒาจารย์ สถาปนาในคราวสมเด็จพระพุฒาจารย์ (สน) วัดสระเกศฯ
มรณภาพลง ตรงกับวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ขึ้น 9 ค่ำ ปีชวด พ.ศ. 2407 เป็น สมเด็จพระพุฒจารย์ รูปที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ในปีที่ 5 แห่งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระพุฒาจารย์
(โต พรหมรังสี) ได้ไปดูการก่อสร้างพระโต ที่วัดบางขุนพรหมใน ต่อมาท่านอาพาธด้วยโรคชราภาพ และถึงแก่มรณภาพบนศาลาใหญ่วัดบางขุนพรหมใน (วัดอินทรวิหาร-ปัจจุบัน) เมื่อวันเสาร์ เดือน 8 (ต้น) แรม 2 ค่ำ ปีวอก จัตวาศก จุลศักราช 2415 ยามสอง (24.00 น.) คิดทดหักเดือนตามอายุโหราจารย์ ตามสุริยคตินิยม จึงเป็นสิริมายุรวม 84 ปี พรรษาที่ 64
สมเด็จฯ กับงานประติมากรรม
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ปกติมักน้อย สันโดษ ไม่นิยมสะสมทรัพย์สมบัติ เมื่อได้ลาภสักการะ ท่านก็มักจะบริจาคไปในการสร้างวัดและสาธารณกุศลต่าง ๆ เสมอ ท่านนิยมก่อสร้างของที่ใหญ่ ๆ โต ๆ กล่าวกันว่าเพื่อให้สมกับนามของท่าน
1. พระพุทธไสยาสน์ วัดสะตือ พระนครศรีอยุธยา เป็นพระนอนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ
ไทย ก่ออิฐถือปูนยาว 1 เส้น 6 วา ฐานยาว 1 เส้น 10 วา กว้าง 4 วา 2 ศอก เป็นอนุสรณ์ว่าท่านเกิดที่นั่น
2. พระพุทธรูปนั่ง วัดเกศไชโย จังหวัดอ่างทอง ปางสมาธิ ก่ออิฐถือปูน หน้าตักกว้าง
8 วา 7 นิ้ว สูง 11 วา 1 ศอก 7 นิ้ว สร้างสมัยรัชกาลที่ 4 และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามว่า “พระมหาพุทะพิมพ์” เป็นอนุสรณ์ว่าท่านนั่งได้ที่นั่น
3. พระพุทธรูปยืน วัดอินทรวิหาร กรุงเทพมหานคร เป็นพระพุทธรูปยืนที่สูงที่สุดใน
โลก ปางทรงบาตร ก่อด้วยอิฐถือปูน ประดับด้วยกระจกโมเสก ทองคำ 24 K สูง 16 วา กว้าง 5 วา 2 ศอก ก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 ประมาณ พ.ศ. 2410 แล้วเสร็จสมบูรณ์ที่นั่น อนุสาวรีย์สถานที่เกี่ยวกับตัวท่านทั้ง 3 แห่งนั้น มีคำที่ผูกขึ้นเพื่อแสดงความสำคัญเป็นคล้องจองกันไว้ว่า “โตวัดระฆัง ชื่อเสียงดังวัดอินทร หลบบดินทร์ วัดกลางคลองข่าย ปลดปล่อยทาสวัดสะดือบันลือวัดไชโย”
4. พระเจดีย์นอน วัดละครทำ ตำบลบ้านช่างหล่อ ธนบุรี กรุงเทพฯ จำนวน 2 องค์
ระยะห่างประมาณ 2 ศอก หันฐานเข้าหากัน ท่านสร้างเพื่อประสงค์ให้เป็นพระธรรมเจดีย์สำหรับบรรจุพระธรรม เช่น คาถาอริยสัจ เย ธฺมมาเหตุ ปปฺภวา ฯลฯ เป็นต้น แต่ปัจจุบันอยู่ในสภาพทรุดโทรมมาก
5. พระพุทธรูปที่นั่ง วัดพิตเพียน (วัดกุฎีทอง) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพระพุทธ
รูปประทับนั่ง ปางมารวิชัย ก่ออิฐถือปูนหน้าตัก 4 วา 3 ศอก
6. พระพุทธรูปยืน วัดกลาง ตำบลคลองข่อย ราชบุรี เป็นพระพุทธรูปยืน ปางอุ้มบาตร
ก่ออิฐถือปูน สูง 6 วา
นอกจากนั้นท่านยังได้สร้างพระพิมพ์ชนิดต่าง ๆ ขึ้นมากมาย พระพิมพ์เหล่านี้เป็นที่รู้จัก
กันในนาม “พระสมเด็จ” มีหนังสือเกี่ยวกับพระสมเด็จอยู่มากมาย ซึ่งผู้สนใจสามารถค้นหาอ่านได้โดยสะดวก สำหรับความศักดิ์สิทธิ์ของพระสมเด็จนั้นย่อมเป็นที่ประจักษ์กันโดยทั่วไปแล้ว

พระคาถาชินบัญชร
ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

ชะยาสะนาคะตา พุทธา เชตาวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา .
ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา .
สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร.
หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะ ทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก.
ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุโล
กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก.
เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว.
กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาวาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร
ปุณโร อังคุลิมาโล จะ อุปาลี นันสีวะลี
เถระ ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเฏ ติละกา มะมะ.
เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโรระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.
ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง.
ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะสุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสลา ปาการะสัณฐิตา.
ชินา นานาวะระสังยุตตา สัตตะปาการะลังกะตา
วาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชฌัตตุปัททะวา.
อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสา
วาสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.
ชินะปัญชะระมัชฌิมหิ วิหะรันตัง มะหี ตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา.
อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
ธีมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จาระมิ ชินะปัญชะเรติฯ

การสร้างพระสมเด็จพุฒาจารย์ (โต)
มูลเหตุที่สร้างพระพิมพ์นั้นเกิดจากพวกสัปปุรุษนิยมไปบูชาสังเวชนียสถานทั้ง 4 คือ สถานที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ ประทาน ปฐมเทศนา และปรินิพพาน โดยพากันไปปีละมาก ๆ เช่นเดียวกับที่เราขึ้นไปบูชาพระพุทธบาท พวกสัปปุรุษชอบหาสิ่งที่เป็นปูชนียวัตถุกลับไปบูชาที่บ้านเมืองของตน พวกชาวเมืองที่มีเจดียสถานนั้นจึงคิดทำพระพิมพ์ขึ้นสำหรับจำหน่ายในราคาถูก ให้ซื้อหาได้ทั่วกัน พวกสัปปุรุษพากันยินดีจึงเกิดชอบสร้างพระพิมพ์ขึ้นด้วยเหตุนี้ แต่พิมพ์พระที่นำมาสร้างกันในเมืองไทยนี้มีความประสงค์เพื่อสืบต่ออายุพระศาสนาให้ถาวร จึงสร้างกันคราวละมาก ๆ และมักฝังดินหรือบรรจุไว้ในพระเจดีย์ โดยถือว่าต่อไปข้างหน้าช้านาน ถึงพระเจดีย์วิหารสูญหาย หรือผุพังไปใครไปขุดพบพระพิมพ์ก็จะได้เห็นพระพุทธรูปรู้ว่าพระพุทธเจ้าเคยมี
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้างพระเครื่องตระกูลสมเด็จขึ้นมา ด้วยมีความประสงค์ให้เกิดอภินิหารศักดิ์สิทธิ์อย่างหนึ่ง และประสงค์จะให้เป็นเอกลักษณ์ทางธรรมในพระพุทธศาสนาอย่างหนึ่ง ความประสงค์ 2 ประการนั้น มีเจตนาที่จะให้พระศาสนาเจริญรุ่งเรืองเป็นพื้นฐาน
คนในยุคนั้น ไม่ว่าจะมีความเพียรเช่นไร ก็ไม่สามารถทำคุณวิเศษหรือผงวิเศษเหมือนเจ้าประคุณสมเด็จ มีผงที่สำคัญดังนี้ (คำอธิบายมวลสารบางอย่างให้ใช้สร้างพระสมเด็จ)

1. ผงข้าวสุก สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านเลือกข้าวสุกที่ชาวบ้านตักบาตร เฉลี่ยแบ่งออกเป็น 5 ส่วนคือ
ส่วนที่ 1 ไว้ทำพระเครื่องพระสมเด็จ
ส่วนที่ 2 แบ่งให้พระภิกษุด้วยกัน
ส่วนที่ 3 แบ่งไว้ฉันเอง
ส่วนที่ 4 แบ่งให้สามเณร ศิษย์วัด
ส่วนที่ 5 แบ่งให้ทานสัตว์เดรัจฉาน
นำข้าวที่จะนำมาสร้างพระสมเด็จตากแห้ง แล้วบดให้ละเอียดเพื่อที่จะทำเป็นเนื้อพระสมเด็จต่อไป

2. ผงเกสรและว่านต่าง ๆ ผงเกสรคือผงที่ได้จากมวลดอกไม้ เช่น เกสรดอกบัว ดอกไม้
บางชนิดก็รวมทั้งหมด ทั้งเกสรและกลีบดอก เช่น ดอกมะลิ, จำปี, จำปา ส่วนมากจะใช้ดอกมะลิ, ดอกพิกุล เป็นพื้นในการสร้าง ดอกไม้ต่าง ๆ เหล่านี้จะมีผู้คนนำมาถวายเมื่อออกบิณฑบาต ท่านเจ้าประคุณจึงเก็บรักษาไว้ เพื่อบดผสมลงทำพระเครื่อง ให้ประชาชนได้สักการะต่อไป

3. ผงว่านต่าง ๆ จากตำรากบิลว่านบันทึกไว้ในสมุดข่อยโบราณ พรรณนาพฤกษชาติ
ตระกูลว่านไม้มากมายนับเป็นร้อยชนิดขึ้นไปบอกลักษณะราก ลำต้น กิ่ง ใบ บรรยายสรรพคุณไว้เสร็จ ส่วนมากเป็นยารักษาโรคบางอย่างให้คุ้มครองตัวทางอยู่ยงคงกระพันบางอย่างใช้ถอนพิษเขี้ยวงาจากบาดแผล
ข้อเท็จจริงจากหลักฐานพระสมเด็จที่ผสมเนื้อว่าน ซึ่งท่านเจ้าประคุณสมเด็จสร้างเวลาปวด
หัวหรือป่วยไข้ หาแพทย์หรือหมอที่ไหนไม่ทัน เพียงเอาพระสมเด็จเนื้อว่านจบศีรษะรำลึกถึงเจ้าประคุณสมเด็จ อาราธนาใส่ลงในภาชนะทำน้ำมนต์ อธิษฐานให้หายจากโรคภัย ไข้เจ็บ เอาน้ำมนต์ประพรมบนศีรษะ ล้างหน้า ลูบตา ลูบทั่วศีรษะ และรับประทาน อาการเจ็บป่วยก็จะทุเลาหรือหายทันตาเห็น สาเหตุที่ทำให้หายจากการเจ็บป่วยสันนิษฐาน 3 ประการ คือ
ประการแรก เป็นเพราะพระสมเด็จเนื้อว่านตัวยาชั้นยอด พออาราธนาใส่ลงในภาชนะทำ
น้ำมนต์ อณูของเนื้อว่านป่นละเอียดจะซึมแพร่กระจายทั่ว น้ำทุกหยาดหยดแปรสภาพจากหยดน้ำธรรมดากลายเป็นน้ำยารักษาโรคได้
ประการที่สอง อาจจะเป็นเพราะฤทธิ์เดชอานุภาพของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือ องค์เทพศักดิ์สิทธิ์ที่พระคณาจารย์อาราธนามาประทับในองค์พระเครื่อง
ประการสุดท้าย เป็นเพราะอำนาจและพลังอธิษฐานของเจ้าประคุณสมเด็จที่ให้พระสมเด็จเนื้อว่านนี้มีคุณลักษณะคือ หนูและแมลงกินเนื้อพระ ชอบแทะกิน เฉพาะหนูถ้ามีโอกาสมันจะคาบไปไว้ในรัง คอยแทะกินวันละเล็กน้อย โดยสัญชาตญาณตามธรรมชาติของสัตว์รู้ว่ามีตัวยา

4. ผงตะไคร่ใบเสมา ตะไคร่ เป็นพืชผงชนิดหนึ่งลอยไปกับกระแสลม ลมพัดพาไปตกที่
ไหนที่มีความชุ่มชื้นจะงอกงามเจริญเติบโตเช่น ใบเสมา ภูเขา หิน กำแพงวัด เจดีย์ พระปรางค์ปราสาทราชวัง มองดูมีสีเขียวขจี พอหน้าแล้งจะเปลี่ยนเป็นสีหม่นดำ มีคุณสมบัติในทางดูดซับน้ำ ทางตำราเภสัชศาสตร์ระบุว่าเป็นยารักษาโรค
เจ้าประคุณสมเด็จ ใช้ตะไคร่ใบเสมามาบดผสมทำพระเครื่อง อาศัยประโยชน์ 2 ประการ คือ
1. มีประโยชน์ทางดุดซับน้ำ สามารถรักษาเนื้อพระให้ทนได้นาน ไม่ผุกร่อน
2. มีความหมายทางพระศาสนา เพราะคนทั่วไปมีความเห็นว่าเสมาที่อยู่กำแพง
วัดเป็นแดนศักดิ์สิทธิ์ เป็นปูชนียสถานที่มีพระพุทธรูปตัวแทนพระพุทธเจ้า ทำให้สิ่งที่เลวร้ายสิ่งอัปมงคล ภูตผีปีศาจ ไม่สามารถรุกล้ำเข้าไปในเขตเสมา ดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ได้

5. พระสมเด็จลงกรุ ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ที่รู้จักวัดระฆังมานาน ได้เล่าเรื่องราว
ต่อ ๆ กันมาว่า วัดระฆังมีกรุพระสมเด็จอยู่หลายแห่งส่วนจะบรรจุไว้เท่าใดไม่มีใครทราบ
กรุแรก ได้แก่ พระปรางค์ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 (พระบาทสมเด็จพระพุทธ
ยอดฟ้าจุฬาโลก)
กรุที่ 2 คือ เจดีย์ที่ประดิษฐ์ทั้งสี่มุมของพระอุโบสถวัดระฆัง
ส่วนกรุสุดท้าย พระเครื่องสมเด็จในเจดีย์ ได้ใช้ไม้ระแนงทำเป็นสี่เหลี่ยมตาหมากรุกตอกตะปู นำสมเด็จมาเรียงแถวผึ่งลม วางซ้อนกันถึงยอดเจดีย์
บางกรุได้นำพระใส่ในไหโบราณ ทำให้มีอากาศร้อนอบอ้าว น้ำมันตังอิ้ว (Linseed) ที่ประสานเนื้อพระจึงลอยขึ้นมาอยู่บนผิวพระทำให้พระคงสภาพสวยงาม

6. ผงพระกรุเก่า ท่านเจ้าประคุณสมเด็จนำผงมาจากกรุพระเก่าที่พบเห็นตาม
โบราณสถาน เช่น ที่จังหวัดกำแพงเพชร และจังหวัดต่าง ๆ จากการธุดงค์ ฉะนั้นเนื้อพระสมเด็จผสมด้วยผงกรุเก่าคล้ายพระกำแพงบ้าง เนื้อจุซุยมีเศษโลหะ หิน กรวด ทราย และพระธาตุปรากฏให้เห็นบ่อย ๆ

วัสดุที่ใช้ในการสร้างพระสมเด็จ
การบอกเล่าจากท่านเจ้าคุณพระเทพญาณเวที (ลุมูล สุตาคโม) วัดระฆัง อ้างคำบอกเล่าจากท่านเจ้าคุณพระธรรมถาวร (ช่วง)
การสร้างพระสมเด็จของเจ้าประคุณสมเด็จนั้น ท่านใช้ปูนขาวเป็นหลักผสมด้วยเกสร ดอกบัว ผงตะไคร่ ใบเสมา น้ำอ้อย เนื้อและเปลือกกล้วยน้ำวา น้ำมันตังอิ้ว ขี้ธูปในพระอุโบสถ ปูน และดินกรุพระเจดีย์เก่า ๆ เศษอาหารและชานหมากที่สมเด็จฉันแล้ว ผงถ่านใบลานว่านวิเศษต่าง ๆ และผงวิเศษในทางแคล้วคลาดและเมตตามหานิยมจากผงดินสอที่เจ้าประคุณเขียนอักขระตัวขอมในเวลาลงเลขยันต์ต่าง ๆ
เวลาสร้างพระจะนำวัสดุที่เตรียมไว้ผสมคลุกเคล้าตำจนละเอียด จึงให้นายน้อยกับพระ
ธรรมถาวร (ข่วง) ช่วยกันพิมพ์พระบนแม่พิมพ์ที่นายเทศ (ช่างราษฎร์) เป็นคนแกะแม่พิมพ์ถวายซึ่งมีหลายพิมพ์หลายแบบ นำใส่บาตรเก็บไว้ในกุฏิชั้นใน แล้วทำพิธีปลุกเสกวันละ 3 ครั้ง คือ เช้า กลางวัน เย็น (หัวค่ำ) จนพอแก่ความต้องการ จึงนำออกไปแจกจ่ายผู้คนในตอนออกบิณฑบาตในตอนเช้า สันนิษฐานเป็นสมเด็จยุคแรกของเจ้าประคุณสมเด็จ
ต่อมาพิธีปลุกเสกพระสมเด็จได้เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ เมื่อสมเด็จรุ่นแรกของเจ้าประคุณสมเด็จได้แสดงอภินิหาร เช่น นำไปรบก็แคล้วคลาดปลอดภัย ทั้งยังทำน้ำมนต์รักษาโรคบางชนิดได้ด้วย
อีกประการหนึ่ง ชื่อเสียงของเจ้าประคุณสมเด็จเป็นพระนักเทศน์ที่เทศน์สนุกสนานไพเราะ เป็นที่นิยมของคนในสมัยนั้น
ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้ผู้คนมีความเลื่อมใสศรัทธาในตัวเจ้าประคุณสมเด็จฯ และพระเครื่องของเจ้าประคุณสมเด็จฯ จึงมีคนสร้างพิมพ์พระถวาย มีทั้งช่างหลวง เช่น หลวงวิจารณ์ เจียรนัย (เฮง) ช่างราษฎร์ (ช่างชาวบ้าน)
ฉะนั้น พิมพ์พระในยุคนี้จึงมีจำนวนมากพิมพ์ โดยเฉพาะพระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ มีทั้งฝีมือ
ช่างราษฎร์และช่างหลวง

มวลสาร (Material) ที่ใช้สร้างพระสมเด็จ
หนังสือสุดยอดพระเครื่องเบญจภาคี ได้กล่าวไว้ว่า มวลสารหลักในการผสมเนื้อพระสมเด็จมีมวลสารดังนี้
1. ผงวิเศษ
2. เปลือกหอยทะเล
3. เกสรดอกไม้
4. ข้าวสุก
5. ปูนขาว
6. กล้วย
7. ขนุน
8. เศษจีวร
9. เศษผงพระเครื่องหัก
หนังสือมหาโพธิ์ฉบับพิเศษ
ได้กล่าวไว้ว่า มวลสารที่ใช้สร้างพระสมเด็จมีวัสดุต่าง ๆ ดังนี้
1. ปูนขาวจากเปลือกหอยทะเลเผาไฟถ้าใช้ปูนขาวจากหินเผาไฟเนื้อพระจันตัน ผิวไม่ขึ้น
มัน
2. ผงวิเศษ ซึ่งได้มาจากพระอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิมีความรู้ จัดทำสร้างขึ้นมาจากการเขียน
และลบผงดินสอพอง เพื่อให้เกิดความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ในเนื้อพระชั้นต้น
3. เกสรดอกไม้แห้งที่เป็นมงคลบดละเอียดผสมใส่ลงไป
4. กล้วย ฝานเอาแต่เนื้อตำผสมเพื่อให้เนื้อพระเหนียว
5. น้ำมันตังอิ้ว เป็นตัวประสานไม่ให้เนื้อปูนปริแตกแยกร้าว
6. น้ำพระพุทธมนต์ ผสมไม่ให้เนื้อเหลวไปหรือแข็งไป
7. ถ้าต้องการให้เนื้อพระออกสีเหลืองใส่เนื้อขนุนสุกลงถ้าต้องการให้เนื้อพระออกสี
เหลืองใส่เนื้อขนุนสุกลงถ้าต้องการให้เนื้อพระออกสีเหลืองใส่เนื้อขนุนสุกลงถ้าต้องการให้เนื้อพระออกสีเหลืองใส่เนื้อขนุนสุกลงถ้าต้องการให้เนื้อพระออกสีเหลืองใส่เนื้อขนุนสุกลงถ้าต้องการให้เนื้อพระออกสีเหลืองใส่เนื้อขนุนสุกลงถ้าต้องการให้เนื้อพระออกสีเหลืองใส่เนื้อขนุนสุกลงถ้าต้องการให้เนื้อพระออกสีเหลืองใส่เนื้อขนุนสุกลงไป แล้วจะทำให้เนื้อพระแห้งแข็งตัวเร็วอีกด้วย
8. ถ้ามีผงเก่าพระเก่าโบราณที่แตกหัก ชำรุด อาจจะตำผสมใส่ลงไปด้วยก็ได้

หนังสือรวมพระสมเด็จวัดระฆัง
ได้กล่าวถึงส่วนผสมวัตถุมงคลสาร ในการสร้างพระสมเด็จ
1. ปูนขาวจากเปลือกหอยทะเลที่นำมาเผาไฟ เพราะจะทำให้เนื้อพระเกิดเป็นเงามันกว่าเดิม
2. ผงที่นำมาจากอาจารย์ทั้งหลาย จริงๆ แล้วก็คือผงดินสอพองที่อาจารย์เขียน แล้วลบเหลือเศษ ๆ นำมารวมกัน เราเรียกว่า “ผงวิเศษ”
3. ดอกไม้แห้งต่าง ๆ
4. กล้วย เพื่อทำให้เนื้อพระเหนียว
5. น้ำมันตังอิ้ว
6. น้ำพระพุทธมนต์
7. สิ่งที่เร่งให้เนื้อพระแข็งตัวเร็ว “ขนุนสุก”
8. ถ้ามีผงเก่า ๆ จากพระที่แตกหัก ก็นำมาบดผสมด้วย จะทำให้เกิดความขลังและเป็นสิริมงคลยิ่งขึ้น
ในสังคมพระสมเด็จก็เช่นเดียวกัน ที่มีความสกปรกมาก ถ้ากลุ่มใดให้เช่า (ขาย) พระสมเด็จได้ราคาแพง ๆ อีกกลุ่มถือว่าขัดผลประโยชน์ก็วิจารณ์ต่าง ๆ นานาว่า เก๊บ้าง หลอกลวงเป็น 18 มงกุฎบ้าง ความจริงพระแท้ ไม่แท้ ดูจากเนื้อพระและมวลสาร ธรรมชาติองค์พระ แค่นี้ก็จบแล้ว ทางพระท่านจึงบอกว่า “ความโลภในจริตของมนุษย์ไม่มีที่สิ้นสุดได้เท่าไรๆ ก็ไม่พอๆ” สุดท้ายก็หนีความทุกข์ ความเจ็บ ความตายไม่พ้น
มวลสาร ส่วนผสมในเนื้อสมเด็จมีมวลสารที่มีคุณวิเศษในตัวเองอย่างมีความหมาย มี
เหตุผลในตัวเอง ในทางไสยศาสตร์ และความเชื่อ

1. ผงวิเศษ ในการทำพระสมเด็จของเจ้าประคุณสมเด็จฯ มี 5 ชนิด
1.1 ผงอิทธิเจ มีพลานุภาพทางเมตตามหานิยม
1.2 ผงปัตถะมัง มีพลานุภาพทางคงกระพันชาตรี
1.3 ผงตรีนิสิงเห มีพลานุภาพทางมหาเสน่ห์
1.4 ผงพุทธคุณ มีพลานุภาพทางแคล้วคลาด และเมตตามหานิยม
1.5 ผงมหาราช มีพลานุภาพทางมหาอำนาจทั่วไป

2. ไม้มงคล
2.1 ดอกสวาด มีคุณทาง มหานิยมคนรักทั่วไป
2.2 ดอกกาหลง มีคุณทาง ใครเห็น ใครชอบ
2.3 ดอกรักซ้อน มีคุณทาง มหาเสน่ห์
2.4 ดอกกาฝากรัก มีคุณทาง เมตตามหานิยม
2.5 ดอกชัยพฤกษ์ และดอกราชพฤกษ์ มีคุณทาง มหาอำนาจและแคล้วคลาดภัยทั้งปวง
2.6 ดอกว่านนางคุ้ม และดอกว่าน มีคุณทาง คุ้มกันอันตรายแก่คนทั่วไป
2.7 ดอกว่านเสน่ห์จันทร์ขาว จันทร์แดง จันทน์ดำ มีคุณทาง มหาเสน่ห์ และแคล้วคลาด
2.8 ดอกว่านนางกวัก มีคุณทางมหานิยมแก่คนทั่วไป
2.9 ว่านพระพุทธเจ้าหลวง มีคุณทางคงกระพันชาตรี มหาอำนาจ
2.10 ใบพลูร่วมใจ มีคุณทาง มหานิยมแก่คนทั่วไป
2.11 ใบพลูสองทาง มีคุณทาง กันการกระทำ และอันตรายแคล้วคลาด
2.12 ผงเกสรบัวทั้ง 5 และเกสรดอกไม้ 108 มีคุณทาง มหาเสน่ห์ และแคล้วคลาด

3. ดินอาถรรพ์
3.1 ดิน 7 โป่ง ที่เสือลงมากิน มีคุณทาง มหาอำนาจ ใครเห็นกลัวเกรงทั่วไป
3.2 ดิน 7 ป่า มีคุณทาง เมตตามหานิยม
3.3 ดิน 7 ท่า มีคุณทาง แคล้วคลาด
3.4 ดิน 7สระในวัด มีคุณทาง เมตตามหานิยมของคนทั่วไป
3.5 ดินหลักเมือง มีคุณทาง มหาเสน่ห์แก่ตัวเอง
3.6 ดินตะไคร่เจดีย์ มีคุณทาง กันภูตผีปีศาจ และกันเสนียดจัญไร
3.7 ดินตะไคร่รอบโบสถ์ มีคุณทางป้องกันอันตรายทั่วไป
3.8 ดินตะไคร่ใบเสมา มีคุณทางเมตตามหานิยม และแคล้วคลาด
3.9 ดินสอขาว หรือดินขาว (ดินสอพอง) สำหรับเขียนยันต์ตามสูตรพระเวท มีคุณทาง แก้อาถรรพ์
3.10 ดินประแจะปรุงด้วยของหอม มีคุณทาง เมตตามหานิยม

4. ผงดำ คือแม่พิมพ์พระที่แตกหัก ชำรุดนำมาเผาเป็นถ่าน แล้วนำมาบดผสมผงถ่าน ใบลาน (คือใบลานและคัมภีร์เก่า ๆ นำมาเผาจนเป็นถ่าน) แล้วนำมาผสมกันเป็นผงดำ มีคุณทาง คงกระพันชาตรี และแคล้วคลาด

5. ตะไบพระกริ่ง มีทั้งเนื้อเงิน และเนื้อทองเหลือง มีคุณทาง คงกระพันชาตรี
6. ตะไบเงินตะไบทอง มีคุณทาง ร่ำรวยโชคลาภ
7. พระธาตุทั้ง 5 ชนิด มีคุณทาง การมีสิริมงคล โชคลาภ
8. จุดแดง เกสรดอกไม้ 108 มีคุณทางมหาเสน่ห์ มหานิยม
9. เศษพระกำแพงหัก (อิฐกำแพง) มีคุณทาง คงกระพันชาตรี โชคลาภ เงินทองไหลมาเทมา

 

พิมพ์พระสมเด็จ วัดระฆัง
จากการอ่านค้นคว้าตำราหลายเล่ม และถามจากผู้เฒ่าผู้แก่ได้ความชัดเจนว่า แม่พิมพ์พระสมเด็จของเจ้าประคุณสมเด็จโตนั้น มีอยู่มากมายหลายสิบพิมพ์ เพราะเป็นยุคที่นิยมสร้างพระสมเด็จกันมากต่อจากพระสังฆราชสุกไก่เถื่อน พระสมเด็จได้แจกจ่ายให้กับประชาชนทุกชั้นวรรณะ บางแบบบางพิมพ์ก็มีอีกมากมายที่คนไม่รู้จักเพราะไม่เคยเห็น และไม่ได้ตีพิมพ์ในหนังสือ
ฉะนั้น ในสภาพสังคมปัจจุบัน ก็คงจะเสาะหาแบบเฉพาะที่หาได้ ซึ่งแยกแยะได้ 7 พิมพ์ (ซึ่งแต่ละพิมพ์ก็แยกไปอีกมากพิมพ์)
1. พิมพ์ประธาน
2. พิมพ์ใหญ่ (พิมพ์ชายจีวร บาง, หนา, เส้นลวด)
3. พิมพ์อกร่อง หูยาน ฐานแซม
4. พิมพ์เกศบัวตูม
5. พิมพ์ปรกโพธิ์
6. พิมพ์ทรงเจดีย์
7. พิมพ์เส้นด้าย
(แต่ในหนังสือเล่มนี้จะกล่าวเฉพาะพิมพ์พระประธานและพิมพ์ใหญ่ ส่วนพิมพ์อื่น ๆ นั้นจะกล่าวในเล่มต่อไป)

1. พิมพ์ประธาน คือพิมพ์พระที่การวางองค์พระสง่างาม ซุ้มขอบหวายลำใหญ่
ข้อสังเกต คือ มีผ้าปูรองนั่ง เกศคล้ายปลีกล้วย องค์พระดูล่ำสัน น่าศรัทธายิ่งนัก (รูปพระสมเด็จหมายเลข 111 เล่ม 1) ดูลักษณะรวม ๆ แล้วคล้ายสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่
2. พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ แยกได้มากกว่า 9 พิมพ์ วีสังเกตการณ์วางองค์พระว่า
เป็นศิลปะช่างราษฎร์ หรือช่างหลวง เมื่อดูศิลปะก็มาดูมวลสาร เนื้อหาสาระความเป็นธรรมชาติของเนื้อพระ พอจะสรุปได้ว่า ลักษณะทางกายภาพ (Physical) ของพระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ คือ ขนาดขององค์พระโดยเฉลี่ย 2.5 x 3.5 ซม. อาจจะมีการคลาดเคลื่อนได้เล็กน้อยของเนื้อพระ


ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :
 


ศูนย์รวมพระเครื่อง และ ความรู้พระเครื่อง
อันดับหนึ่งของภาคเหนือตอนล่างภาคกลางตอนบน