สินค้า
บทความ
ประวัติคณาจารย์
ประวัติหลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม
ประวัติหลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
ประวัติพระพุฒาจารย์ เอนกสถาน ปรีชาฯ (ท่านเจ้ามา)
หลวงพ่อจันทร์ โฆสโก วัดหาดสองแคว
หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้
หลวงพ่อไซร้ ติสสฺโร วัดช่องลม
หลวงปู่เขียน วัดสำนักขุนเณร
หลวงพ่อสว่าง วัดท่าพุทรา
หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่
หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน
หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์
หลวงพ่อทบ วัดชนแดน
หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง
หลวงปู่พิมพา วัดหนองตางู
ประวัติพระกรุ
พระผงสุพรรณ จ.สุพรรณบุรี
พระรอด กรุมหาวัน
พระซุ้มกอ (พระกำแพงซุ้มกอ) จ.กำแพงเพชร
พระหลวงพ่อเงินกรุวัดขวาง
พระนางพญาพิษณุโลก
พระนางพญากรุเจดีย์กลางน้ำ
ประวัติพระเครื่อง/เครื่องราง/มีดหมอ
ประวัติพระสมเด็จวัดเกศไชโย
ประวัติพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม
พระชัยวัฒน์ท่านเจ้ามา
พระสมเด็จวัดะฆัง
ประวัติการสร้างเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก รุ่นแรก ปีพ.ศ.2513
ขั้นตอนการสร้างตะกรุด หลวงพ่อทบ
การสร้างตะกรุดลูกปืน
ประวัติการลงสูตรลบผงหลวงพ่อทบ
ประวัติตะกรุดหลวงพ่อทบ วัดชนแดน
ประวัติมีดหมอหลวงพ่อเดิม
รู้ทันพระแท้
พระสมเด็จวัดเกศไชโยพิมพ์เจ็ดชั้นอกตลอด
'พระสมเด็จวัดเกศไชโยพิมพ์ ๖ ชั้นอกตัน
พระสมเด็จเกศไชโยพิมพ์ ๗ ชั้น
พระสมเด็จอรหังพิมพ์เล็กมีประภามณฑล
พระสมเด็จอรหังพิมพ์ฐานคู่
'พระสมเด็จอรหังพิมพ์ใหญ่ ฐานสามชั้น
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่พระอุระเล็ก (อกเล็ก)
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่ พระกรโค้ง' (แขนโค้ง)
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑเล็ก
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์สังฆาฏิไม่มีพระกรรณ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์สังฆาฏิ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ฐานแซมพระอุระร่อง
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ฐานแซม
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์เส้นด้ายฐานแคบ
พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้ายอกวี
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์เส้นด้ายแขนกลม
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์เส้นด้าย
พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่พระพักตร์เล็ก
พระรอดพิมพ์ต้อวัดมหาวัน
พระรอดพิมพ์กลางวัดมหาวัน
พระรอดพิมพ์เครื่องราชฯพิมพ์ที่ 2
พระรอดพิมพ์เครื่องราชพิมพ์ที่ 1
ตำหนิ พระซุ้มกอ(พิมพ์ใหญ่มีกนก) จ.กำแพงเพชร
พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง
ชั่วโมงเซียน - เหรียญจบที่...ขอบ
การดูพื้นเหนรยญพระปั้ม
หลักการดูพระทั่วๆไป
การดูมีดหลวงพ่อเดิม
บทความทั่วไป
พระรอดพิมพ์ตื้นวัดมหาวัน
เรื่องใกล้ตัวแมลงกินพระเนื้อว่าน
เล่นพระยังไง ให้เป็นซะที
ประมูลพระเครื่อง
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    
สถิติ
เปิดเมื่อ5/10/2011
อัพเดท27/02/2013
ผู้เข้าชม855228
แสดงหน้า1045844




พระนางพญาพิษณุโลก

อ่าน 17789 | ตอบ 1
พระนางพญา วัดนางพญา เป็นพระยอดนิยมอันดับหนึ่งของเมืองพิษณุโลก และเป็นหนึ่งในชุดพระเบญจภาคีซึ่งเป็นสุดยอดของพระเครื่องเมืองไทย ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุด สำหรับพระนางพญาสมควรค่าแก่สมญานาม “ราชินีแห่งพระเครื่อง” พระนางพญาเป็นพระพุทธรูปปฏิมากรรมขนาดเล็กรูปทรงสามเหลี่ยม สร้างจากดินนำมาเผาให้สุกเสร็จแล้วบรรจุไว้ในกรุเจดีย์ด้านหลังโบสถ์ “วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก” ภายหลังเจดีย์ได้พังลงมาพระนางพญาที่บรรจุในกรุก็กระจัดกระจายอยู่เต็มลานวัดนางพญา วัดนางพญา เป็นวัดเล็กๆ อยู่ตรงข้ามกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือวัดใหญ่ จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานองค์พระพุทธชินราช สำหรับวัดนางพญานั้นถึงแม้ว่าจะเป็นวัดที่ค่อนข้างเล็กแต่ชื่อเสียงของวัดนางพญาเป็นที่รู้จักเลื่องลือของคนไทยทั่วทั้งประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักสะสมพระเครื่องต่างรู้จักกันเป็นอย่างดีเพราะเป็นสถานที่ซึ่งค้นพบพระนางพญา ยอดพระเครื่องที่ทุกคนใฝ่หานั่นเอง ประวัติการแตกกรุ พระนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก เป็นพระที่อยู่ในกรุเจดีย์วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก เริ่มมีการค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2444 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองพิษณุโลก เพื่อทอดพระเนตรการหล่อพระพุทธชินราชจำลองเพื่อนำมาเป็นพระประธานที่วัดเบญจมบพิตร ในครั้งนั้นล้นเกล้าฯ รัชกาลที่5 ได้เสด็จประพาสวัดนางพญาด้วย ซึ่งทางจังหวัดได้เตรียมการรับเสด็จที่วัดนางพญา โดยทำการจัดสร้างปะรำพิธีเพื่อรับเสด็จ เมื่อคนงานได้ขุดหลุมเสาก็ได้พบพระนางพญาเป็นจำนวนมาก ทางจังหวัดและเจ้าอาวาสในสมัยนั้นจึงได้เก็บรวบรวมพระไว้ได้เป็นจำนวนหนึ่ง ในการเสด็จประพาสต้นหัวเมืองฝ่ายเหนือของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 เมื่อพระองค์เสด็จขึ้นไปยังวัดนางพญา ทางจังหวัดและเจ้าอาวาสวัดนางพญาจึงได้นำพระนางพญาขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงแจกจ่ายให้แก่ข้าราชบริพารที่ตามเสด็จกันถ้วนหน้า และได้นำพระนางพญาบางส่วนลงมายังกรุงเทพฯ เหตุที่มีการค้นพบพระนางพญาอยู่ทั่วบริเวณวัดนางพญานั้น สันนิษฐานว่า เจดีย์หลังโบสถ์พระประธานวัดนางพญาล้มลง พระนางพญาจึงกระจัดกระจายเต็มลานวัด ทางวัดได้นำเศษอิฐปูนอันเป็นซากพระเจดีย์ที่ล้มลงไปเทถมในสระน้ำกลางวัด นอกจากนี้ก็ยังขุดพบบางส่วนในกรุวัดต่างๆ ในจังหวัดพิษณุโลกอีกด้วย แต่มีไม่มากนัก เจดีย์ละองค์สององค์ ส่วนใหญ่เก็บไว้บนยอดพระเจดีย์เป็นส่วนใหญ่ แม้แต่คราวบูรณะพระประธานในโบสถ์วัดนางพญาซึ่งเป็นพระประธานปูนปั้นชำรุด ทางวัดได้กระเทาะเอาปูนฉาบที่เสื่อมคุณภาพออก ช่างที่ซ่อมแซมองค์พระประธานได้พบพระนางพญาบนยอดพระเกศองค์พระประธาน เป็นพระนางพญา พิมพ์เข่าตรง พระนางพญา พิมพ์สังฆาฏิ พระนางพญา พิมพ์ทรงเทวดา และพระนางพญา กรุโรงทอ ซึ่งเป็นพระที่ล้วนแล้วแต่พุทธลักษณะสวยงามทั้งสิ้น พระนางพญา ฝากกรุในกรุงเทพมหานคร นอกจากค้นพบพระนางพญาจากกรุในจังหวัดพิษณุโลกแล้ว ยังได้มีการค้นพบพระนางพญาในกรุงเทพฯ มีลักษณะพิมพ์ทรงและเนื้อหาแบบเดียวกันกับพระนางพญาจากกรุวัดนางพญาทุกประการ สันนิษฐานว่าเป็นพระนางพญา กรุวัดนางพญานำมาฝากกรุไว้ตั้งแต่คราวปี 2444 นั่นเอง ซึ่งการค้นพบพระนางพญาในกรุต่างๆ ในกรุงเทพฯ มีหลายกรุด้วยกัน ได้แก่ พระนางพญา กรุวัดอินทร์ ประมาณปี พ.ศ.2479 ได้มีการพบพระนางพญาที่วัดอินทรวิหาร โดยมีคนเจาะเจดีย์องค์หนึ่งพบพระนางพญาบรรจุอยู่ในบาตรผุ มีพระนางพญาบรรจุอยู่จำนวนหนึ่งประมาณ 700 องค์ มีคราบสีน้ำตาลไหม้ของสนิมเหล็กจับอยู่ ซึ่งพระนางพญาที่พบในเจดีย์วัดอินทรวิหาร ปรากฏมีครบทุกพิมพ์ แต่จะพบพิมพ์สังฆาฏิ พิมพ์เทวดา และพิมพ์อกนูนเล็กมากกว่าพิมพ์อื่นๆ และที่สำคัญได้มีการค้นพบแผ่นลานเงิน ลานทอง และลานนาก ขนาดเท่าฝ่ามือ มีจารึกข้อความบอกเรื่องราวการบรรจุพระนางพญากรุนี้ไว้ว่า เป็นพระที่รับพระราชทานในคราวที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสเมืองพิษณุโลกเพื่อนมัสการพระพุทธชินราชและทอดพระเนตรการหล่อพระพุทธชินราชจำลอง มีผู้นำพระนางพญาขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระองค์ พระนางพญา กรุวัดราชบูรณะ(วัดเลียบ) กทม. นอกจากได้พบพระนางพญา ที่เจดีย์วัดอินทรวิหารแล้ว ก็ได้มีการพบพระนางพญา วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลกที่กรุวัดราชบูรณะ(วัดเลียบ)กรุงเทพฯ เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝ่ายพันธมิตรได้มาทิ้งระเบิดโรงไฟฟ้าวัดเลียบ และสะพานพุทธ เจดีย์ในวัดเลียบโดนระเบิดพังลงมาจึงได้พบพระขรัวอีโต้ และพระนางพญา วัดนางพญา รวมอยู่ด้วยแต่มีจำนวนน้อยมาก ลักษณะสำคัญของพระกรุนี้จะมีการลงรักปิดทองแทบทุกองค์ พระนางพญา ที่กรุวังหน้า กทม. พบเมื่อปี พ.ศ.2502 ขณะที่มีการบูรณะพระอุโบสถวัดพระแก้ววังหน้าข้างโรงละครแห่งชาติ ได้มีการค้นพบพระนางพญา วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก ที่บนเพดานพระอุโบสถ ใต้ฐานชุกชีและตามพื้นพระอุโบสถซึ่งเต็มไปด้วยเศษอิฐ ดิน ทรายที่ทับถมกันอยู่ พระนางพญา วัดนางพญา พิษณุโลก ที่พบจากกรุนี้จะมีเนื้อแห้งสนิทและลงรักปิดทองทุกองค์ รักทองแห้งสนิท มีจำนวนไม่มากนัก พระนางพญา ที่กรุวัดสังข์กระจาย พระนางพญาที่พบเป็นครั้งสุดท้ายคือ พระนางพญา จากกรุวัดสังข์กระจาย กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ.2509 พบขณะที่ทางวัดกำลังรื้อเจดีย์อยู่ พระนางพญาที่พบมีเนื้อแห้งจัด พระจากกรุนี้พบน้อย แต่ส่วนมากจะสวย และไม่ปรากฏการลงรักปิดทองเหมือนกับวัดอื่นๆ พระนางพญา วัดนางพญา กรุน้ำ พระนางพญา วัดนางพญา กรุน้ำ หรือที่เรียกว่า“กรุบางสะแก กรุเหนือ หรือกรุตาปาน”เป็นพระนางพญาที่ขุดค้นพบภายในจังหวัดพิษณุโลก เมื่อราวต้นปี พ.ศ.2487 ที่ตำบลบางสะแก ณ บริเวณลานบ้านนายปาน ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน ใกล้กับวัดชีปะขาวหาย สาเหตุของการค้นพบก็เนื่องมาจากตาปานเจ้าของบ้านต้องการย้ายเสาเรือนใหม่ และขณะขุดหลุมเสาอยู่นั้นก็ได้พบหม้อดินซึ่งภายในบรรจุพระนางพญาไว้ เมื่อขุดขยายหลุมจนทั่วแล้วก็ได้พระนางพญาอีกจำนวนหนึ่ง ประมาณพันกว่าองค์ พระนางพญากรุนี้ผิวจะเสีย ทำให้เห็นเม็ดแร่ผุดพรายจากในเนื้อ เพราะหม้อดินถูกน้ำท่วมขังจนซึมเข้าไปเป็นเวลานาน ทำให้ผิวพระเสียสภาพไป นอกจากนี้แล้วยังมีการขุดค้นพบพระนางพญาทั้งจากกรุวัดนางพญา และบริเวณใกล้เคียงอีกหลายครั้ง พบพระจำนวนมากบ้าง น้อยบ้าง ครั้งล่าสุดเมื่อประมาณปี พ.ศ.2530 ได้มีการพบพระนางพญา อยู่ภายในเจดีย์องค์หนึ่งซึ่งตั้งอยู่นอกวัดนางพญาที่สร้างติดกับถนนทางหลวง ตามกระแสข่าว กล่าวกันว่าเป็นพระนางพญาที่หลวงตาที่วัดนางพญาได้เก็บพระซึ่งตกเรี่ยราดอยู่ตามโคนพระเจดีย์ไว้ แล้วนำไปบรรจุในพระเจดีย์ซึ่งสร้างใหม่ พระชุดนี้มีไม่มากนัก แต่เป็นพระที่ค่อนข้างสวยงามและสมบูรณ์มาก มีพระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง พิมพ์อกนูนใหญ่ ที่ปรากฏหู ตา จมูกอย่างชัดเจน


ข้อมูล2

 

พระนางพญา
พิษณุโลก

ตำนานพระนางพญาพิษณุโลก ศุภมัสดุพระศาสนายุกาลล่วงไปแล้วประมาณ 1501 ยังมีกษัตริย์องค์หนึ่งครองเมืองพิษณุโลก มีอัครมเหสีทรงพระนามว่า เบญจราชเทวี กาลนั้นพระสวามีทิวงคตไปเสียแล้ว ดำรงชีวิตอยู่แต่พระนางเบญจราชเทวี ได้ครอบครองไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ ณ เมืองพิษณุโลกแทนพระสวามี
ในลำดับนั้น มีศึกรามัญมาตั้งล้อมเมืองพิษณุโลก 4 ทิศ เพื่อจะตีเมืองพิษณุโลก เอาเป็นเมืองขึ้นในขอบขัณฑสีมา สมเด็จพระนางเจ้าฯจึงได้กะเกณฑ์โยธา และราษฎรพลเมืองทั้งชายหญิงให้เตรียมพร้อมคอยรับทัพรามัญ เพื่อปราบข้าศึกรามัญให้ราบคาบ ยังมีชีปะขาวอีกองค์หนึ่งมารับอาสาสมัครสมเด็จพระนางเจ้าเพื่อนำพระพุทธปฏิมากรเล็ก ๆ แจกจ่ายแก่ทหารที่จะปรามศึกรามัญให้พินาศไป สมเด็จพระนางเจ้าฯ จึงได้สั่งให้ตาชีปะขาวเข้าเฝ้า และตรัสถามว่า พระที่ท่านทำขึ้นนั้นป้องกันสรรพาวุธได้หรือไม่ ตาชีปะขาวจึงกราบทูลว่า ป้องกันสรรพาวุธได้ทุกอย่าง ตลอดทั้งเมตากรุณา และเป็นศรีสวัสดิ์มงคลทุกประการ สมเด็จพระนางเจ้าให้คำมั่นว่า ถ้าชนะศึกรามัญกลับมาเรียบร้อยแล้ว ขอให้สมเด็จพระนางเจ้าสร้างวัดขึ้นแห่งหนึ่งขนานนามว่า วัดนางพญา แล้วให้เรียกเอาพระที่แจกจ่ายกลับคืนแล้วให้สร้างสถูปเจดีย์ คือพระเจดีย์ที่ประดิษฐานพระทั้งนี้ให้มั่นคงตลอดทั้งพิมพ์พระสมเด็จพระนางเจ้าจึงรับคำ แล้วชีประขาวนำดินนั้นมาจากประเทศอินเดีย 4 แห่งคือ ดินที่สวนลุมพินีวันระหว่าเมืองกบิลพัสดุ์ กับเมืองเทวะทหะต่อกันที่พระองค์ประสูติแห่งหนึ่ง ดินที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ใต้ต้นโพธิ์พฤกษ์ ตำบลอุรุเวลาแขวงเมืองพารานาสีแห่งหนึ่ง ดินที่แสดงประถมเทศนาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพารานาสีแห่งหนึ่งและดินที่พระองค์ดับขันธ์ปรินิพาน แขวงเมืองกุสินาราแห่งหนึ่ง คือ ดินที่ประสูติ สีแดง ดินที่ตรัสรู้ สีเหลือง ดินที่ปฐมเทศนา สีเขียว ดินที่ปรินิพพาน สีดำ

อนึ่ง เมื่อตาชีปะขาวพิมพ์พระเสร็จแล้วจึงเกณฑ์ให้บรรดาทหารไปตัดไม้รวกบรรทุกเล่มเกวียนมามากมายแล้วจึงผ่าแย้มออกเล็กน้อยแล้วจึงให้ทหารเอาแขนของตนผ่าไม้รวกทุกคนต่อพระพักตร์สมเด็จพระนางเจ้า หาเป็นอันตรายไม่นอกจากนี้ยังให้ทหารกระโจนขึ้นไปบนหอกบนดาบก็หาเป็นอันตรายไม่สมเด็จพระนางเจ้าทอดพระเนตรเห็นดังนั้น จึงบังเกิดความโสมนัสยิ่งนัก
เมื่อชีปะขาวพิมพ์พระเท่าจำนวนทหารเสร็จแล้ว สมเด็จพระนางเจ้าเวลานั้น พระชนพรรษาได้ 28 ปีพระองค์จึงให้ตาชีปะขาวสร้างขึ้นอีก 28 องค์ ประจำพระชนมายุพระนางชันษา 28 ปี 28 องค์นี้เป็นพิมพ์พิเศษใหญ่กว่าที่สร้างแจกทหาร เมื่อสร้างเสร็จแล้วชีปะขาวก็อำลาเดินหายไปในป่า สมเด็จพระนางเจ้าจึงได้สร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่ง เรียกว่าวัดชีปะขาวหายจนทุกวันนี้ จึงเข้าใจกันว่า มีพระปฏิมากรสมเด็จนางพญาองค์หนึ่งองค์ใด สีหนึ่งสีใดบูชาไว้ในบ้านจะเป็นศิริมงคลคุ้มกันภัยได้ทุกประการแลถ้าผู้ใดอาราธนาไปกับตัว หรือการไปสู่การณรงค์สงครามก็ดีให้ตั้งนะโม 3 จบ แล้วให้ว่าพระไตรสรณ คือ พุทธํ ฯ ธมมํ ฯ สังฆํ ฯ ทุติ ฯ ตติ ฯ เสร็จแล้วให้ระลึกถึงเทวดาผู้สร้าง กับสมเด็จนางพญา จะพ้นอันตรายทั้งปวงถ้าผู้ใดทำราชการมีสมเด็จนางพญา จะได้เป็นที่เสน่หา เมตตากรุณา แก่ท้าวพญาและสตรีทั้งหลายแล
ถ้าบูชาไว้กับบ้าน จะเป็นศรีสวัสดิ์มงคลบุญราศี ทุกทิพาราตีกาลแล อีกประการหนึ่งถ้าท่านผู้ใดได้บูชาพระแล้วห้ามทำการลบหลู่เป็นต้นว่า ใช้อาวุธต่าง ๆ ทดลองกันหรือยิงกันท่านว่า ผู้นั้นดูหมิ่นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นแท้

วิจารณ์ตำนาน โดยโบราณวิจารณ์
ตำนานพระนางพญา มีพลความหมายหลายตอน และสำนวนการเขียนแสดงว่า เป็นของที่เขียนขึ้นทีหลัง มิใช่ตำนานจากคำศิลาจารึกแผ่นลานเงิน แต่เข้าใจว่าคงจะได้เค้ามาจากแผ่นลานเงินหรือแผ่นลานทอง หรือมิฉะนั้นก็หลักฐานประการอื่น ๆ แต่อาศัยที่จดจำหรือคัดลอกต่อ ๆ กันเป็นทอด ๆ และได้มีการเพิ่มเติมความกันอีกด้วยฉะนั้นการอ่านตำนานจึงต้องพิจารณาตัดตอนและแยกแยะกันหลายประการดังนี้
“ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนายุกาลล่วงประมาณ 1501 ปี” หมายถึงปี พ.ศ.1501 ซึ่งเป็นไปไม่ได้เป็นอันขาด ในวาระดังกล่าวนี้ไทยเรากำลังได้รับการเสื่อมโทรมอยู่ในอาณาจักรน่านเจ้า จะมีไทยที่อพยพเข้ามาอยู่ในสุวรรณภูมิเมื่อก่อนหน้านี้บ้าง แต่ก็หามีอิทธิพลอันใดไม่ ถึงแม้จะมีอยู่จำนวนไม่น้อยก็ตาม แต่คงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้มีอำนาจเดิม คือ มอญเขมร อนึ่งเมืองพิษณุโลกในปี พ.ศ. 1501 กำลังอยู่ในอำนาจของเขมรด้วยเหตุผลตามมาอีกสองประการ
ประการแรก พระนางพญา จะเป็นพุทธปฏิมากรในสมัยขอมได้หรือไม่ ? และพระนางเบญจราชเทวี อาจจะเป็นกษัตริย์ขอมตัดปัญหานี้ออกไปและเป็นไปไม่ได้ทั้งนี้แม้แต่ศิลปะในพระเครื่องธรรมดาแม้มิใช่นักโบราณคดีก็ย่อมพิจารณาได้ง่าย ศิลปะฝีมือการสร้างพระเป็นศิลปะสกุลอย่างอยุธยาไม่ใช่ศิลปะขอมแต่อย่างใด
ประการที่สอง จะต้องพิจารณาว่าศักราชที่อ้างไว้ผิด เพราะปี 1501 จะเป็นปีพุทธศักราชตามตำนานไม่ได้ เท่าที่ปรากฏในตำนานลานเงินลานทอง โบราณนิยมใช้มหาศักราช เช่น ลานทองของกรุพระกำแพงทุ่งเศรษฐี (วัดพระบรมธาตุนครชุมกำแพงเพชร) และลานทองของกรุพระผงสุพรรณ (วัดพระศรีมหาธาตุ สุพรรณบุรี) เป็นต้น เช่นกรุสุพรรณบุรี ใช้คำว่า “ ศุภมัสดุ” 1265 พอแปลงมาเป็นพุทธศักราชก็จะได้ ปีพ.ศ.1887 ซึ่งเป็นปีที่พระเจ้าอู่ทองเสวยราชสมบัติพอดี สำหรับกรุกำแพงเพชร จารึกในศิลาจารึกไว้ว่า (หลักศิลาจารึกที่ 3 ของพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ) ศักราช 1279 ซึ่งแปลงมาเป็นพุทธศักราชก็ได้ พ.ศ. 1900 ตรงกับสมัยพระเจ้าลิไทยธรรมราชาที่ 1
ในการจารึกของคนไทยสมัยโบราณ นิยมมหาศักราชกันมาก รองลงมาก็คือ จุลศักราช ดังนั้นคำว่า ศุภมัสดุ หรือ ศักราช เฉย ๆ ข้อนี้เองทำให้คิดไปว่า คำว่า ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนยุกาล ล่วงแล้ว ประมาณ 1501 ปี ส่วนตำนานของพระนางพญานั้น ประโยคเดิมคงจะมีเพียงคำว่า ศุภมัสดุ 1501 คงจะลอกต่อ ๆ กันมาผิด ๆ
ประการที่สาม คือ เรื่องของชีปะขาวพฤติการณ์ในการสร้างพระนางพญานั้นดูคล้ายคลึงกับการสร้างพระพุทธชินราช ซึ่งชีปะขาวที่หายไปเป็นผู้สร้างก็เดินหายไปในป่า ต่อมาสร้างวัดชื่อ วัดชีปะขาวหาย ปัจจุบันชาวบ้านเรียกเพี้ยนเป็นวัดเต่าไห จึงเข้าใจว่า ตำนานวัดนางพญานั้นจะเอาอย่างตำนานการสร้างพระพุทธชินราช ซึ่งมีอายุมากกว่าการสร้างพระนางพญา
จากการวิเคราะห์ทางด้านอักษรศาสตร์หลักฐานโบราณคดี สิ่งแวดล้อมและความเป็นไปได้ คงจะเป็นเรื่องที่เล่าต่อ ๆ กันมา และบันทึกไว้เป็นตำนาน

การพิจารณาทางศิลปะและสกุลช่าง
พระนางพญา เป็นศิลปะการสร้างสกุลช่างสมัยอยุธยา ลีลาของพุทธลักษณะ แข็งทื่อเย็นชา และเป็นฝีมือการช่างราษฎร์และช่างหลวงช่วยกันสร้าง
พระเครื่องสกุลอยุธยา มีพุทธลักษณะดังนี้
1. พระเศียร มักจะสั้นไม่ปรากฏเม็ดพระศก พระพักตร์เป็นแนวเดียวกับพระกรรณ ดูแล้วคล้ายการสวมชฎา
2. พระพักตร์ มักจะเป็นรูปไข่ทรงชะลูด รายละเอียดเกี่ยวกับพระเนตร พระนาสิก พระโอษฐ์ มีลักษณะโปนขึ้นมา ไม่เรียบร้อย ไม่ปรากฏพระขนง
3. พระพาหามีลีลาที่อ่อน บางทีก็แข็งทื่อขาดความสวยงาม
4. ช่วงพระองค์ ค่อนข้างชะลูดเล็กน้อย ดูแล้วไม่ได้สัดส่วน
5. พระเพลาดูใกล้เคียงพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย แต่ลีลาไม่อ่อนช้อยเท่า ส่วนความโค้งนูน(Curverture) ของรูปพระองค์พระเป็นรูปนูนต่ำ (low relief)

การพิจารณาทางประวัติศาสตร์
จากการพิจารณาการสร้างพระนางพญาพบว่า เป็นการสร้างของสกุลช่างสมัยอยุธยา
รายพระนามกษัตริย์ที่เคยประทับอยู่ ณ เมืองพิษณุโลกและข้อพิจารณาที่เกี่ยวข้อง
กษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง กษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงที่มีความสำคัญแก่เมืองพิษณุโลกมี 3 พระองค์ คือ พระยาลิไทย (พระมหาธรรมราชาที่ 1 ) พระยาไสยลือไทย (พระมหาธรรมราชาที่ 2 ) พระมหาธรรมราชา (พระมหาธรรมราชาที่ 3 ) ซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระยาไสยลือไทย และพระยาบาลเมือง (พระมหาธรรมราชาที่ 4 ) แยกเป็นตอนที่สำคัญดังนี้
1. พระยาลิไทย (พระมหาธรรมราชาที่ 1 ) ในแผ่นลานทองจารึกและศิลาจาลึก เมืองกำแพงเพชรถวายพระเกียรติ นามว่า พญาศรีธรรมไตรปิฎกพระองค์ทรงสร้างเมืองพิษณุโลก และพระพุทธชินราชที่สวยงาม และทรงศักดิ์สิทธิ์ พระองค์ทรงปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ตามหัวเมืองต่าง ๆ เช่นสุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร พิษณุโลก และพิจิตร หลักฐานในศิลาจารึกของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
ในสมัยพระยาลิไทย มีประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาดังต่อไปนี้
1.1 เมื่อพิจารณาอายุวัดราชบูรณะและวัดนางพญา หากวัดทั้งสองสร้างในสมัยพระยาลิไทย ศิลปะต้องแสดงอิทธิพลของศิลปะสมัยสุโขทัยอย่างเห็นได้ชัด เมื่อดูศิลปะจากสิ่งก่อสร้างของวัดทั้งสองแล้วไม่ปรากฏศิลปะสมัยสุโขทัยแต่อย่างใด
1.2 พิจารณาพิมพ์พระนางพญา ไม่ใช่พระที่สร้างในสมัยสุโขทัย เป็นสกุลช่างของสมัยอยุธยา ทำอย่างรีบร้อน ทำให้คิดว่าบ้านเมืองอยู่ในระหว่างศึกสงคราม สร้างเพื่อเป็นกำลังใจแผ่นดิน กำลังใจให้ทหารไปรบเป็นศิริมงคลแก่บ้านเมือง และนำพระที่เหลือบรรจุกรุ
1.3 พิจารณาเหตุการณ์บ้านเมืองมีความสงบ ในสมัยพระยาลิไทยไม่ปรากฏว่ามีการรบกับพม่าแต่อย่างใด
จากเหตุผลดังกล่าวทำให้ทราบว่าพระนางพญาไม่ได้สร้างในสมัยพระเจ้าลิไทย(พระมหาธรรมราชาที่ 1 ) แต่อย่างใด
2. พระยาไสยลือไทย (พระมหาธรรมราชาที่ 2 ) มีหลักฐานจากหลักศิลาจารึกหลักที่ 8 ของพิพิธพันธ์สถานแห่งชาติพระองค์เคยเสด็จประทับอยู่ที่พิษณุโลก แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างวัดพระนางพญาและวัดราชบูรณะแต่อย่างใด
3. พระมหาธรรมราชาพิษณุโลก (เข้าใจว่าเป็นพระมหาธรรมราชาที่ 3 ) เป็นกษัตริย์พระร่วงองค์สุดท้ายที่เคยครองเมืองพิษณุโลก(พระราชโอรสของพระเจ้าไสยลือไทย)
จากพงศาวดาร ฉบับของหลวงประเสริฐระบุปีที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงเสด็จเสวยราชสมบัติไว้ดังนี้
ศักราช 910 (พ.ศ. 2091) จึงเชิญพระเฑียรราชาธิราชสมบัติ ทรงพระนามว่าสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
พลความตอนหนึ่งที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ทรงโปรดแต่งตั้ง พระมหาธรรมราชาเสด็จขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก ปรากฏในพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาภาคที่ 1 ฉบับพิมพ์ปีที่ 2425 หน้า 24-25 มีความดังนี้
ครั้นรุ่งเช้าเสด็จออกสู่มุขยามาตย์มนตรีทั้งปวงพร้อมแล้วตรัสปรึกษาความชอบขุนพิเรณทรเทพแล้ว ขุนอิทรเทพ หมื่นราชเสน่หา หลวงศรียศ บ้านลานตากฟ้า สี่คนนี้เป็นประถมคิด และพระหลวงหมื่นหัวเมืองทั้งปวงเป็นผู้ช่วยราชการมหานคร ทั้ง 4 เชิญพระธรรมนูญหอหลวงมาปรึกษาความชอบเอาบำเหน็จนั้น ครั้งเจ้าพระยามหาเสนาบดีรับพระนครอินทร์เข้าวังได้ มาเปรียบในบำเหน็จนั้นพระราชทานลูกพระสนมองค์หนึ่ง เจียดทองคู่หนึ่ง พานทองคู่หนึ่ง น้ำเต้าทอง กระบี่กั้นหยั่น เสลี่ยง เสลี่ยงกลีบบัว เอาคำปรึกษากราบบังคมทูล ทรงพระกรุณาดำรัสว่า น้อยนักคน 4 คนนี้ เอาชีวิตและโคตร แลกความชอบในแผ่นดิน แล้วตรัสว่า
ขุนพิเรนทรเทพเล่า บิดาเป็นราชวงศ์พระร่วง มารดาไซร้เป็นพระราชวงศ์แห่งสมเด็จพระชัยราชาธิราชเจ้าให้รับพระบัณฑูรครองเมืองพิษณุโลก จึงตรัสเรียกลูกเจ้ายาเธอพระสวัสดิราช ถวายพระนามวิสุทธิกษัตริย์เป็นตำแหน่งพระอรรคมเหสีเมืองพิษณุโลกพระราชทานเครื่องราชบริโภค ฯลฯ
จากพงศาวดารสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงปูนบำเหน็จผู้มีความชอบนั้น ทรงพระราชดำริว่า ขุนพิเรนทรมีความชอบมากกว่าผู้อื่นและตัวเองเป็นเชื้อสายราชวงศ์พระร่วง จึงทรงแต่งตั้งให้ไปครองเมืองพิษณุโลกและพระราชทานพระวิสุทธิกษัตริย์ราชธิดา (ธิดาในสมเด็จพระนางศรีสุริโยทัย) ให้เป็นพระชายาด้วยเพราะพระมหาธรรมราชา (ขุนพิเรนทร) เป็นเชื้อสายพระร่วงเจ้าเป็นที่รู้จักคุ่นเคยกับชาวเมืองเหนือ ชาวเหนือนิยมชมชอบ จึงพระราชทานบำเหน็จให้เหนือกว่าผู้อื่นคือ โปรดให้อภิเษกสมรสกับพระธิดา ทรงมีพระราชดำริว่าถ้ามีพระหน่อจะได้เป็นเชื้อสายของราชวงศ์พระร่วงกับราชวงศ์อู่ทอง เชื่อมสองราชวงศ์ให้แน่นแฟ้นกันยิ่งขึ้นในภายภาคหน้า ต่อมาก็สมอย่างพระหฤทัยหวัง กับทั้งมีคุณกับบ้านเมืองได้จริงด้วยเกิด สมเด็จพระนเรศวร กับพระเอกาทศรถทั้งสองพระองค์
ดังนั้นผู้ที่จะสร้างวัด หรือซ่อมแซมวัดราชบูรณะนั้นจะต้องอยู่ในฐานะพระเจ้าแผ่นดิน มิใช่พระอุปราชผู้ครองหัวเมืองเท่านั้นส่วนของวัดนางพระยานั้น ผู้สร้างก็ต้องดำรงตำแหน่งพระอัครมเหสีของพระเจ้าแผ่นดินถ้าเป็นสามัญสตรี มิใช่กษัตริย์แล้วเป็นนางพญาไม่ได้
อีกประการหนึ่งเจตนารมณ์ของผู้สร้างวัดต้องการสร้างคู่กันเพราะมีเนื้อที่ติดต่อกัน
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ให้ความเห็นว่า ผู้ที่สร้างวัดนางพญาก็คือ พระวิสุทธิกษัตริย์
สรุป จากพงศาวดาร หลักฐานในการก่อสร้างศิลปะในพิมพ์พระเครื่อง ระยะเวลาเหตุการณ์บ้านเมืองในขณะนั้น สันนิษฐานได้ชัดเจนว่าผู้สร้างวัดนางพญา คือ พระวิสุทธิกษัตริย์ และผู้ที่สร้างวัดราชบูรณะ คือ พระมหาธรรมราชา จากเหตุการณ์บ้านเมืองในขณะนั้นอยู่ในศึกสงคราม เพราะถูกพม่ารุกรานและเมืองขึ้นของพม่า ทำให้การสร้างวัดทั้งสองอาจยังไม่สมบูรณ์พอ ทั้งนี้ดูจากพิมพ์พระเครื่องจะขาดความประณีตอ่อนช้อย มีความแข็งทื่อพิจารณาได้ว่ารีบร้อน ใช้ไม้แกะเป็นแม่แบบ องค์พระที่สมบูรณ์คงจะปรากฏเสี้ยนไม้ในพิมพ์พระนางพญาเข่าโค้ง ในการสร้างการกระทำเพื่อการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง
หลังจากที่สมเด็จพระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพ เป็นกษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยาแล้ว จึงหันมาพัฒนาวัดพระศรีมหาธาตุ วัดนางพญา วัดราชบูรณะ ที่พระราชบิดา และ พระราชมารดาทรงสร้าง และสร้างพิมพ์พระเพื่อเป็นกำลังของแผ่นดินแจกจ่ายให้ทหาร เพื่อเป็นขวัญกำลังใจจากนั้นได้ทำการบรรจุพระนางพญาในกรุทั้งสามวัด เพราะมีเขตขัณฑสีมาติดต่อกัน มีวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดนางพญา วัดราชบูรณะ พิมพ์พระที่สร้างบรรจุในกรุ มีพิมพ์เข่าตรง เข่าโค้งพิมพ์สังฆาฏิ พิมพ์เทวดา พิมพ์อกนูนใหญ่ พิมพ์อกนูนเล็ก เพราะมีหลักฐานการพบพระพิมพ์พระนางพญาที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ(วัดใหญ่)ด้วย ส่วนพิมพ์นั้นได้นำแม่พิมพ์ของเก่ามาใช้เป็นบางส่วน และบางส่วนก็ทำขึ้นมาใหม่(จะมีความสวยงามมากกว่าพระยุคแรก เพราะได้นำช่างหลวงมาช่วยแกะแม่พิมพ์ ในขณะที่บ้านเมืองสงบ) พระนางพญาจึงสร้างใน 2 ยุค ยุคที่ 1 โดยสร้างพระวิสุทธิกษัตริย์ ยุคที่ 2 สร้างโดย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระทั้งสองยุคนี้อายุการสร้างใกล้เคียงกัน มีพุทธคุณที่เหมือนกันคือเน้นหนักเรื่องความคงกระพันชาตรี โชคลาภ เงินทองและมหานิยมเป็นหลัก เพราะสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้นอยู่ในศึกสงครามกับพม่า
พิธีในการสร้างนั้นได้อัญเชิญเหล่าทวยเทพฯ เทวดา ฤๅษี พระสงฆ์ ผู้ทรงศีล และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในเมืองพิษณุโลกอันได้แก่ พระพุทธชินราชเจ้า และนำพระเครื่องที่สร้างนี้เข้าพิธีปลุกเสกที่วัดพระศรีมหาธาตุ จากประสบการณ์ทหารเอกของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไปรบที่ไหนก็ประสบแต่ชัยชนะ เป็นที่หวั่นเกรงของพม่าในขณะนั้น และจากประสบการณ์ที่ทหารไทยไปรบในสงครามอินโดจีน มีชัยชนะครั้งแล้วครั้งเล่าจึงได้เกียรติอันสูงส่งที่นำเชิญ เป็น 1 ในพระชุดเบญจภาคี พุทธศิลปะอยุธยา ประเภทเนื้อดินเผาผสมว่าน ผสมแร่มงคล และศาสตราวุธ

มวลสารในการสร้างพระนางพญา
มวลสารที่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่ามีดังต่อไปนี้
1. พระธาตุเหล็กไหล
2. เหล็กน้ำพี้
3. โพรงเหล็กไหล (แร่ดอกมะขาม)
4. พระธาตุสีขาวขุ่น
5. พระธาตุสีชมพู
6. ผงถ่านใบลาน
7. เกสรดอกไม้ 108
8. ว่าน 108
9. น้ำทิพย์
10. ดินมงคล
11. ทรายเงินทรายทอง
สิ่งที่นำมาสร้างล้วนแต่มีความหมาย มีสิริมงคล ทั้งนี้ตามเจตนารมณ์ของผู้สร้างซึ่งแฝงความศักดิ์สิทธิ์ และคติธรรมที่เป็นอมตะนิรันดร์กาล

พระนางพญาที่พบตามกรุต่าง ๆ
นอกเหนือไปจากวัดนางพญา
จากการสัมภาษณ์นายเฉลียว ได้ข้อมูลว่าในปี พ.ศ. 2452 มารพบกรุนางพญา ซึ่งตรงกับระยะเวลาที่ล้นเกล้าฯ ร.5 เสด็จเมืองพิษณุโลก เพื่อทอดพระเนตรการหล่อพระพุทธชินราชจำลอง และได้เสด็จวัดนางพญาด้วย จึงมีราษฎรทูลเกล้าถวายพระพิมพ์นางพญาพิมพ์ต่าง ๆ จำนวนมาก รวมทั้งพระราชวงศ์น้อยใหญ่ตลอดจนข้าราชบริพารใหญ่น้อย กระนั้นยังมีพระนางพญาที่อยู่ที่วัดนางพญาอีกจำนวนมากเพราะขณะนั้นยังไม่นิยมเท่าปัจจุบัน
กรุวัดอินทร์ ได้พบจารึกแผ่นลานทองซึ่งมีข้อความดังต่อไปนี้
พระพิมพ์ที่บรรจุในกรุนี้นำมาจากวัดนางพญาจังหวัดพิษณุโลก ในปี พ.ศ. 2444 ซึ่งเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ รัชการที่ 5 เสด็จพระราชดำเนินประพาสจังหวัดพิษณุโลก เพื่อนมัสการพระพุทธชินราชและทอดพระเนตรการหล่อพระพุทธชินราชจำลอง
กรุวัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) กรุงเทพฯ (นำพระมาบรรจุภายหลังเช่นเดียวกับกรุวัดอินทร์)
กรุวัดสังข์กระจาย กรุงเทพฯ (นำพระมาบรรจุภายหลังเช่นเดียวกับกรุวัดอินทร์)
กรุวัดบางสะแก (เรียกว่ากรุเหนือ) ชื่อกรุตาปาน กรุเหนือ และกรุน้ำ ในต้นปี พ.ศ. 2478 ได้พระนางพญาเป็นจำนวนมาก ริมฝั่งแม่น้ำน่านด้านตะวันตก เยื้องกับวัดชีปะขาวหาย(วัดเต่าไห)

ลักษณะพระนางพญาทางพิมพ์ทรง
1. ลักษณะทั่วไปของพระนางพญา พุทธลักษณะเป็นปางมารวิชัย พุทธศิลป์เรียบง่าย อันเป็นลักษณะของศิลปะอยุธยายุคกลาง
2. การจำแนกพิมพ์ทรง
1.1 พิมพ์เข่าโค้ง
1.2 พิมพ์เข่าตรง
1.3 พิมพ์สังฆาฏิ
1.4 พิมพ์เทวดา
1.5 พิมพ์อกนูนใหญ่
1.6 พิมพ์อกนูนเล็ก
3. มวลสารและความหมายในการสร้างชื่อมวลสารที่ได้กล่าวมาแล้ว มีความหมายดังนี้
3.1 พระธาตุเหล็กไหล มีความหมายด้านความคงกระพันชาตรี
3.2 เหล็กน้ำพี้ มีความหมายเอาเคล็ดคือมีความแข็งแกร่ง คง เหมือนเหล็กกล้า
3.3 โพรงเหล็กไหล (แร่ดอกมะขาม) มีความหมายด้านความคงกระพันชาตรี คลาดแคล้ว
3.4 พระธาตุสีขาวขุ่น มีความหมายด้านความมีสิริมงคล แก้อาถรรพ์
3.5 พระธาตุสีชมพู มีความหมายเดียวกันกับข้อ 3.4
3.6 ผงถ่านใบลาน มีความหมายด้านความอยู่ยงคงกระพัน
3.7 เกสรดอกไม้ 108 มีความหมาย ด้านมหานิยมโชคลาภ
3.8 ว่าน 108 มีความหมายทางคลาดแคล้ว คงกระพัน
3.9 น้ำทิพย์ ตามสถานที่สำคัญมีความหมายด้านการแก้เคล็ดแก้อาถรรพ์
3.10 ดินมงคล มีความหมายด้านความมีสิริมงคล
3.11 ทรายเงินทรายทอง มีความหมายเกี่ยวกับเงินทองและโชคลาภ

4. สัญลักษณ์ของขอบด้านข้าง หมายถึงรอยตอกตัด ที่มีร่องรอยของธรรมชาติปรากฏ เช่น ความเหี่ยวย่นของรอยตัดตอกจะยุบลงไปเกิดจาการหดตัวโดยธรรมชาติของเนื้อพระที่ทำให้ง่ายต่อการพิจารณาพระแท้
5. สัญลักษณ์ด้านหลัง บางองค์ปรากฏลายนิ้วมือ ซึ่งหมายความคือการเบิกพระเนตรพระเครื่องโดยลายนิ้วมือผู้ทรงศีล บางองค์ไม่ปรากฏแต่จะมี เม็ดผด ปรากฏนูนขึ้นมาสามารถสัมผัสได้
6. สีและริ้วรอยของธรรมชาติ แบ่งพระออกเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 จะถูกบรรจุในภาชนะที่พบบ่อย คือไหโบราณปั้นด้วยดินเผา
กลุ่มที่ 2 จะอยู่นอกภาชนะ สาเหตุเกิดจากภาชนะบรรจุแตกชำรุด พระจึงกระจายออกมาข้างนอก
การที่แบ่งพระเป็นสองกลุ่มเพราะเป็นสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อสีผิวของพระเป็นอย่างมาก และง่ายต่อการพิจารณา พระที่บรรจุในภาชนะจะมีสีเขียวตากบหรือสีตับเป็ด ใกล้เคียงกับสีของพระผงสุพรรณ แต่การซึมลึกของสีผิวมีน้อยกว่า ทั้งนี้เกิดจากขบวนการดูดซึม (osmosis) ของราดำโดยขบวนการของธรรมชาติทั้งที่ในเนื้อพระเป็นอีกสีหนึ่ง มักจะพบพระที่สมบูรณ์ลักษณะที่เก็บสภาพเดิมหรือพระคงสภาพ ส่วนพระที่อยู่นอกภาชนะ องค์พระจะถูกหุ้มด้วยคราบกรุ (calcium) บางองค์จะปรากฏราดำในกรณีที่พระอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีความชื้นเหมาะแก่การเจริญของราดำ ตรงกันข้ามถ้าพระอยู่ในที่แห้งจะไม่มีราดำติด
7. ความหดเหี่ยวของเนื้อพระ นับว่าเป็นจุดหนึ่งในการพิจารณาพระนางพญา ความหดตัวของมวลสารที่มีของแข็งผสมอยู่เช่นเนื้อพระนางพญา เม็ดแร่มักจะนูนขึ้นมาเป็นเม็ดผดมักจะปรากฏด้านหลังพระ ยกเว้นพระกรุเก่าซึ่งผ่านการใช้จนสึกหรือทำให้ศึกโดยใช้หินเจียร เม็ดแร่จะจะโผล่มาให้เห็น สัมผัสด้วยมือจะสากมือ ส่วนใหญ่เป็นพระกรุเก่าซึ่งขาดความสวยงามสุนทรีทางความงามของงผิวพระและธรรมชาติ เทียบกับพระนางพญากรุใหม่ไม่ได้ แต่เป็นที่นิยมของนักสะสมรุ่นเก่า
ความหดตัวอีกประการหนึ่งที่จะขอกล่าว คือ ความแกร่งของเนื้อพระที่มีความหดแห้งแข็งเหมือนแก่นไม้เนื้อแข็ง มีน้ำหนักในมือ เมื่อเทียบเคียงกับพระใหม่ในขนาดเท่ากัน
1. สีและเนื้อของพระนางพญา
สีพระนางพญาพิษณุโลก มีมากมายหลายหลากสีเนื่องจากการเผาใช้ไฟแรงและรีบสร้างพระให้เสร็จตามกำหนด พระนางพญาจึงมีลักษณะคล้ายกับสีของพระรอด ซึ่งมีสีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
8.1 สีตับเป็ดหรือเขียวตากบ (พระที่บรรจุในไหจะมีลักษณะเดียวกับสีพระผงสุพรรณแต่ราดำของพระผงสุพรรณแต่ราดำของพระผงสุพรรณจะมีการซึมลึกเข้าไปมากกว่าเพราะมีอายุมากกว่าพระนางพญา รวมทั้งความหนึกนุ่มของเนื้อพระ)
8.2 สีดอกพิกุล
8.3 สีอิฐ
8.4 สีแดง
8.5 สีแดง
8.6 สีหัวไพลแห้ง
8.7 สีเขียวมะกอกดิบ
8.8 สีเขียวหินครก
8.9 สีดำ

เนื้อพระนางพญา แบ่งลักษณะของเนื้อพระเป็น 3 กลุ่ม
1. ชนิดเนื้อละเอียดปนหยาบ แก่ว่านพระพิมพ์เนื้อชนิดนี้ จะสวยงามในทางสุนทรียภาพ หนึกนุ่มกว่าเนื้อพระชนิดอื่น
2. ชนิดเนื้อหยาบ เนื้อชนิดนี้เซียนโบราณนิยมแต่ไม่สวย เนื้อพระผุ ขาดความงามทางสุนทรียภาพ
3. ชนิดเนื้อแก่แร่ เนื้อพระชนิดนี้เนื้อพระจะปรากฏมวลสารเม็ดใหญ่โผล่มาให้เห็นชัดเจน

สรุป
พระนางพญาสร้างโดย สมเด็จพระวิสุทธิกษัตริย์(พระมารดาสมเด็จพระนเรศวรมหาราช) และสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นพระดินเผาผสมว่าน เกสร และเร่ พุทธลักษณะเป็นพระนั่งปางมารวิชัย ศิลปะสมัยอยุธยาในสามเหลี่ยม มีขนาดต่าง ๆ แยกตามพิมพ์ที่พบ พิมพ์เข่าโค้ง พิมพ์เข่าตรง พิมพ์เข่าตรง พิมพ์สังฆาฏิ พิมพ์ทรงเทวดา พิมพ์ออกนูนใหญ่ พิมพ์อกนูนเล็ก (แต่ละพิมพ์ก็แยกออกเป็นอีกหลายบล็อก) มีสีต่างๆ คือ สีแดง สีเขียว สีดำ สีหัวไพลแห้ง สีขมิ้นชัน สีพิกุลแห้ง สีดอกจำปี สีอิฐ สีเขียวหินครก ฯลฯ

ความคิดเห็น :
1
อ้างอิง

Joy
warehouse for sale warehouse for sale warehouse for sale Miami warehouse for sale Miami warehouse for sale Miami warehouse for sale warehouse for sale Miami find real estate agent beach house for sale best real estate agents Miami real estate real estate agents houses for sale Florida homes for sale | Commercial Real Estate Agent | Doral Florida Commercial Real Estate | Commercial Real Estate Agent | Warehouse For Sale Miami | Warehouses For Sale | Commercial Real Estate Miami | Commercial Real Estate Miami Fl | Commercial Building For Sale | Miami Commercial Real Estate For Sale | Commercial Real Estate Miami | Commercial Real Estate Broker | Warehouses For Sale | Office Space For Lease | Commercial Real Estate Brokers | Commercial Property For Sale | Office Space Miami Florida | Commerical Real Estate Companies | Office Space | commercial real estate companies | Buy Hotel | Warehouse For Sale | Office Buildings For Sale | Office For Rent | Commerical Real Estate For Sale | Office Buildings For Sale | Commercial Office Space | Office Space Miami | Warehousing | Office Building For Sale | Commercial Real Estate Agents | Commercial Property For Sale | Commercial Mortgage | Commercial Real Estate Mortgage | Warehouse For Lease | Commercial Real Estate In Miami | Commercial Property | Commercial Warehouse For Sale | Commercial Real Estate Miami Fl | Commercial Real Estate For Sale | Miami Commercial Realtors | Commercialrealestate | Commercial Real Estate Listings | Commercial Real Estate Miami Fl | Commercial Real Estate | Commercial Office Building | Motel For Sale | Warehouses For Sale Miami | Motel For Sale | Commercial Realtor | Commercial Real Estate Miami Fl | Miami Commercial Real Estate Broker | Office Space For Rent Miami | Commercial Properties | Warehousing | Commercial Property | Office Building For Lease | Buildings For Sale | Commercial Properties | Warehouse For Lease | Office Building For Rent | Office Building | Comercial Property | Hotel Motels For Sale | Commercial Mortgage | Miami Warehouse Space | Warehouse Space | Office Space For Rent | Commercial Real Estate Companies | Commercial Real Estate Brokers Miami Fl | Comercial Property For Sale | Miami Warehouses | Commercial Realtors | Commercial Real Estate Company | Warehouse For Lease | Office Building Sale | Miami Commercial Real Estate | Miami Dade Commercial Real Estate | Shopping Center For Sale | Commercial Real Estate Mls | Commerial Real Estate | Commercial Real Estate Interest Rate | Commercial Property | Warehouse In Miami | Hotel Brokers | Commercial Realtors | Miami Warehouse | Office Building Miami | Offices For Sale | Warehouses For Sale | Commercial Realtor | Commercial Real Estate Brokers | Office Space For Rent Miami | Commercial Real Estate Broker | Commercial Real Estate Miami Florida | Industrial Property | Office Building For Sale | Office Building For Sale | Commercial Real Estate Brokers | Miami Commercial Real Estate Broker | Commercial Real Estate Agents | Commercial Property Brokers | Warehouses For Sale Miami | Commercial Real Estate Mortgage | Commercial Real Estate Miami | Commerical Real Estate | Warehouse For Lease | Commercial Mortgage Interest Rates | Commercial Property | Office Space For Sale | Hotel Brokers | Miami Warehouse Space | Commercial Real Estate Miami | Hotels For Sale | Commercial Real Estate For Sale | Commerical Real Estate For Sale | Miami Office Buildings | Commercial Real Estate Brokers | Commercialrealestate | Comercial Property | Office Buildings | Commercial Real Estate Companies | Miami Dade Commercial Real Estate | Warehouse Listings | Office Buildings | Commercial Mortgage Rates | Commerical Real Estate Listings | Offices For Lease | Commercial Realtors | Office Space For Lease | Commercial Mls | Commercial Real Estate Miami Florida | Commercial Real Estate Search | Lease Office | Hotel Broker | Commercial Real Estate Loan | Commercial Office Buildings For Sale | Search Commercial Real Estate | Commercial Real Estate Broker | Warehouses For Sale Miami | Miami Warehouses For Lease | Office Space | Commercial Real Estate Broker Miami | Commercial Real Estate Agents | Comercial Real Estate For Sale | Warehouses For Sale In Miami | Commercial Real Estate Listing | Hotel For Sale | Commercial Realtors | Doral Commercial Real Estate | Miami Commercial Realtors | Warehouse For Sale In Miami Florida | Commercal Property For Sale | Commercial Properties | Warehouse For Sale | Commercial Real Estate For Sale | Office Building For Lease | Commercail Real Estate | Warehouse For Sale Miami | Miami Commercial Real Estate | Hotel For Sale
 
Joy [68.202.141.xxx] เมื่อ 16/03/2019 05:20
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :
 


ศูนย์รวมพระเครื่อง และ ความรู้พระเครื่อง
อันดับหนึ่งของภาคเหนือตอนล่างภาคกลางตอนบน