สินค้า
บทความ
ประวัติคณาจารย์
ประวัติหลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม
ประวัติหลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
ประวัติพระพุฒาจารย์ เอนกสถาน ปรีชาฯ (ท่านเจ้ามา)
หลวงพ่อจันทร์ โฆสโก วัดหาดสองแคว
หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้
หลวงพ่อไซร้ ติสสฺโร วัดช่องลม
หลวงปู่เขียน วัดสำนักขุนเณร
หลวงพ่อสว่าง วัดท่าพุทรา
หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่
หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน
หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์
หลวงพ่อทบ วัดชนแดน
หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง
หลวงปู่พิมพา วัดหนองตางู
ประวัติพระกรุ
พระผงสุพรรณ จ.สุพรรณบุรี
พระรอด กรุมหาวัน
พระซุ้มกอ (พระกำแพงซุ้มกอ) จ.กำแพงเพชร
พระหลวงพ่อเงินกรุวัดขวาง
พระนางพญาพิษณุโลก
พระนางพญากรุเจดีย์กลางน้ำ
ประวัติพระเครื่อง/เครื่องราง/มีดหมอ
ประวัติพระสมเด็จวัดเกศไชโย
ประวัติพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม
พระชัยวัฒน์ท่านเจ้ามา
พระสมเด็จวัดะฆัง
ประวัติการสร้างเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก รุ่นแรก ปีพ.ศ.2513
ขั้นตอนการสร้างตะกรุด หลวงพ่อทบ
การสร้างตะกรุดลูกปืน
ประวัติการลงสูตรลบผงหลวงพ่อทบ
ประวัติตะกรุดหลวงพ่อทบ วัดชนแดน
ประวัติมีดหมอหลวงพ่อเดิม
รู้ทันพระแท้
พระสมเด็จวัดเกศไชโยพิมพ์เจ็ดชั้นอกตลอด
'พระสมเด็จวัดเกศไชโยพิมพ์ ๖ ชั้นอกตัน
พระสมเด็จเกศไชโยพิมพ์ ๗ ชั้น
พระสมเด็จอรหังพิมพ์เล็กมีประภามณฑล
พระสมเด็จอรหังพิมพ์ฐานคู่
'พระสมเด็จอรหังพิมพ์ใหญ่ ฐานสามชั้น
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่พระอุระเล็ก (อกเล็ก)
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่ พระกรโค้ง' (แขนโค้ง)
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑเล็ก
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์สังฆาฏิไม่มีพระกรรณ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์สังฆาฏิ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ฐานแซมพระอุระร่อง
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ฐานแซม
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์เส้นด้ายฐานแคบ
พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้ายอกวี
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์เส้นด้ายแขนกลม
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์เส้นด้าย
พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่พระพักตร์เล็ก
พระรอดพิมพ์ต้อวัดมหาวัน
พระรอดพิมพ์กลางวัดมหาวัน
พระรอดพิมพ์เครื่องราชฯพิมพ์ที่ 2
พระรอดพิมพ์เครื่องราชพิมพ์ที่ 1
ตำหนิ พระซุ้มกอ(พิมพ์ใหญ่มีกนก) จ.กำแพงเพชร
พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง
ชั่วโมงเซียน - เหรียญจบที่...ขอบ
การดูพื้นเหนรยญพระปั้ม
หลักการดูพระทั่วๆไป
การดูมีดหลวงพ่อเดิม
บทความทั่วไป
พระรอดพิมพ์ตื้นวัดมหาวัน
เรื่องใกล้ตัวแมลงกินพระเนื้อว่าน
เล่นพระยังไง ให้เป็นซะที
ประมูลพระเครื่อง
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   
สถิติ
เปิดเมื่อ5/10/2011
อัพเดท27/02/2013
ผู้เข้าชม862754
แสดงหน้า1053998




ประวัติหลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง

อ่าน 1540 | ตอบ 0
หลวงพ่อแพ เขมังกโร
คัดลอกจาก http://www.citylion.net/singnet/par/hist1.htm
หลวงพ่อแพ เขมังกโร เป็นชาวจังหวัดสิงห์บุรี ท่านมีนามเดิมว่า 'แพ ใจมั่นคง'  เกิดเมื่อวันจันทร์ ที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๘ ตรงกับ ขึ้น ๒ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเส็ง ณ บ้านสวนกล้วย เลขที่ ๙๓/๓ หมู่ที่ ๓ ตำบลพิกุลทอง อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี บิดาชื่อ นายเทียน ใจมั่นคง มารดาชื่อ นางหน่าย ใจมั่นคง
เมื่ออายุได้ ๘ เดือน มารดาผู้ให้กำเนิดได้ถึงแก่กรรม ดังนั้น นายบุญ และนางเพียร ขำวิบูลย์ สามี ภรรยา ซึ่งมีศักดิ์เป็นอา ได้ขอเด็กชายน้อยๆ ที่มีอายุเพียง ๘ เดือน จากนายเทียน ใจมั่นคง บิดาผู้บังเกิดเกล้าโดยรับอุปการะเป็นบุตรบุญธรรม
เมื่ออายุได้ ๑๑ ปี บิดามารดาบุญธรรม ได้นำเด็กชายแพไปฝากอยู่วัด กับสำนักอาจารย์ป้อม เพื่อที่จะศึกษาเล่าเรียนตามแบบโบราณนิยม คือ การเรียนภาษาไทยภาษาขอม
นอกจากนั้น ยังได้เรียนหนังสือ มูลบทบรรพกิจ ทางธรรมก็มีพระมาลัยสูตร และยังได้หัดอ่านพระธรรมเจ็ดคัมภีร์ เมื่ออายุได้ ๑๔ ปี บิดามารดาบุญธรรมได้ส่งไปศึกษาต่อที่สำนักวัดอาจารย์ อาจารย์ สม ภิกษุชาวเขมร วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ การศึกษาในกรุงเทพฯขั้นแรกได้เริ่มเรียนหนังสือโบราณท่องสนธิ เรียนมูลกัจจายนสูตร เป็นเวลา ๑ ปี ต่อมา ก็ไปเป็นนักเรียนบาลีไวยากรณ์ ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพฯ
เมื่อศึกษาหาความรู้จนอายุได้ ๑๖ ปี ก็กลับบ้านเกิด เพื่อบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๓ ณ วัดพิกุลทอง ตำบลพิกุลทอง อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี โดยมีพระอธิการพันจันทสโร เจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ครั้นเมื่อบวชเป็นสามเณรแล้วก็ได้เดินทางกลับไปอยู่วัดชนะสงครามตามเดิม และได้ศึกษาบาลีไวยากรณ์ต่อไปอีก จนสอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค ตั้งแต่ยังเป็นสามเณร
ในปีพ.ศ.๒๔๖๘ นายเทียน ใจมั่นคง บิดาผู้บังเกิดเกล้าก็ได้ถึงแก่กรรม
โดยความมุมานะพยายาม โดยอาศัยแสงสว่างจากเทียนไขหรือตะเกียง โดยส่วนมากเพราะสาเหตุนี้ นัยน์ตา อันเป็นส่วนสำคัญของสังขาร ก็เกิดอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง ทุกครั้งที่ตรากตรำอ่านหนังสือมากเกินไปในที่สุด นายแพทย์โรงพยาบาลจุฬาฯ ได้แนะนำ ไม่ให้อ่านหนังสืออีกต่อไป มิฉะนั้น นัยน์ตาอาจพิการได้ ดังนั้นภายหลังจากสอบได้เปรียญธรรม ๔ ประโยคแล้ว การศึกษาด้านพระปริยัติธรรมก็ต้องยุติลง แต่ด้วยความที่เป็นผู้มีใจใฝ่การศึกษา พระภิกษุแพ เขมังกะโร จึงได้ศึกษา และปฏิบัติสมถกัมมัฎฐาน วิปัสสนากัมมัฎฐานในสำนักของพระครูภาวนา วัดเชตุพน จนชำนาญ และดำเนินการสั่งสอนให้แก่ประชาชนทั่วไป
สามเณรเปรียญแพ ขำวิบูลย์ได้ทำการอุปสมบทเมื่ออายุครบ ๒๑ ปีบริบูรณ์ ในวันขึ้น ๖ ค่ำ ปีขาล ตรงกับวันพุธที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๙ ณ พระอุโบสถวัดพิกุลทอง โดยมีพระมงคลทิพย์มุนี เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิ์ราชาวาส กรุงเทพฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระครูสิทธิเดช วัดชนะสงคราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ท่านเจ้าอธิการอ่อน วัดจำปาทอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ได้รับฉายาว่า 'เขมังกะโร' (แปลว่า ผู้ทำความเกษม) ภายหลังจากอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์แพ เขมังกะโร หรือมหาแพ ก็ได้เดินทางกลับสู่วัดชนะสงคราม เพื่อตั้งใจศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรม ให้ได้ในระดับสูงที่สุด เพื่อที่จะได้นำความรู้ ความสามารถที่ได้ฝักใฝ่ศึกษาเล่าเรียนนั้น นำไปสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่า และประโยชน์ต่อชุมชนและพระพุทธศาสนาอย่างเต็มที่ พระภิกษุแพ เขมังกะโร พยายามที่จะศึกษาเล่าเรียนหาความรู้ อ่านหนังสือตำราเรียนอยู่เสมอ
ในปี พ.ศ.๒๔๗๔ อาจารย์หยด พวงมสิต เจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง ได้ลาสิกขาบท ทำให้ตำแหน่งว่างลง ชาวบ้านพิกุลทอง และชาวบ้านจำปาทอง จึงนิมนต์ให้พระภิกษุแพมารับเป็นเจ้าอาวาสในเดือน เมษายน พ.ศ.๒๔๗๔ ซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุเพียง ๒๖ ปี ต่อมาก็ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงค์ตำแหน่ง ตามหน้าที่การงานต่างๆ ดังนี้
พ.ศ.๒๔๘๒ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะตำบลถอนสมอ
พ.ศ.๒๔๘๓ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็น พระอุปัชฌายะ
พ.ศ.๒๔๘๔ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะอำเภอท่าช้าง
พ.ศ.๒๕๒๕ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะจังหวัดสมณศักดิ์
พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นพระครูสัญญาบัตร ผู้ทำกิจปริยัติธรรมวินัยที่พระคณุศรีพรหมโสภิต
พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษ
พ.ศ. ๒๕๒๑ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่พระสุนทรธรรมภาณี
พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่พระสิงหคณาจารย์
พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้รับพระราชทานเลื่อนชั้นสมณศักดิ์ เป็นกรณีพิเศษ
วันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๕ ในวาระครบ ๖๐ พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เป็นพระราชาคณะ ชั้นเทพที่พระเทพสิงหบุราจารย์
พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นกรณีพิเศษ วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๙ ใน วโรกาสเสด็จครองราชย์ครบ ๕๐ ปี เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่พระธรรมมุนี
นับตั้งแต่พระภิกษุแพ ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดพิกุลทอง ได้บำเพ็ญประโยชน์ภายในวัด และสาธารณประโยชน์ทั่วไป พอสรุปได้ดังนี้ ดำเนินการก่อสร้างถาวรวัตถุภายในวัด ได้แก่ พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ หอประชุมกุฎิสงฆ์ หอไตร หอฉัน ศาลาวิปัสสนา โรงฟังธรรม ฌาปนสถาน ศาลาเอนกประสงค์ เขื่อนหน้าวัด ฯลฯ ดำเนินการก่อสร้างสารธรณประโยชน์ เพื่อเป็นการอนุเคราะห์แก่ประชาชนทั่วไป พอสรุปได้ดังนี้
1. เป็นประธานในการก่อสร้างโรงพยาบาลอำเภอท่าช้าง
2. เป็นประธานในการก่อสร้างที่ว่าการอำเภอท่าช้าง
3. เป็นประธานในการก่อสร้างสถานีตำรวจอำเภอท่าช้าง
4. เป็นประธานในการก่อสร้างสถานีอนามัยตำบลพิกุลทอง
5. เป็นประธานในการก่อสร้างโรงเรียนประชาบาลวัดพิกุลทอง
6. เป็นประธานในการหาทุนสมทบในการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ที่อำเภอ อินทร์บุรีและสะพานข้ามแม่น้ำน้อย อำเภอท่าช้าง
ดำเนินการก่อสร้างสาธารณประโยชน์ ให้กับโรงพยาบาลสิงห์บุรี
พ.ศ. ๒๕๒๘ ก่อสร้างอาคารหลวงพ่อแพ ๘๐ ปี เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง ๔ ชั้น มูลค่า ๑๑,๑๐๐,๐๐๐ บาท (สิบเอ็ดล้านหนึ่งแสนบาทถ้วน) สามารถให้บริการผู้ป่วยได้ ๘๙ เตียง พร้อมทั้งจัดตั้งกองทุนเพื่อใช้เป็นค่ายาและเวชภัณฑ์ สำหรับพระภิกษุสามเณรที่อาพาธในโรงพยาบาลสิงห์บุรี เป็นเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท (สองแสนบาทถ้วน)
พ.ศ. ๒๕๓๒ ก่อสร้างอาคารเอ็กซเรย์ (อาคารหลวงพ่อแพ ๘๖ ปี) เป็นอาคารคอนกรีต เสริมเหล็ก สูง ๒ ชั้น มูลค่า ๗,๐๐๐,๐๐๐ บาท (เจ็ดล้านบาทถ้วน) ก่อสร้างแล้วเสร็จ และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๓ พ.ศ. ๒๕๓๕
พ.ศ.๒๕๓๔ ก่อสร้างอาคารหลวงพ่อแพ ๙๐ ปี เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง ๖ ชั้น มูลค่า ๓๕,๐๙๕,๕๕๕ บาท (สามสิบห้าล้านเก้าหมื่นห้าพันห้าร้อยห้าสิบห้าบาทถ้วน) อาคารหลังนี้ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๔ เวลา ๐๙.๐๙ น. และเปิดให้บริการ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๗ โดยชั้นที่ ๑ ถึงชั้นที่ ๕ เป็นหอผู้ป่วยสามัญ ชั้นที่ ๖ เป็นหอผู้ป่วยพิเศษ จำนวน๑๕ ห้อง และทางโรงพยาบาลสิงห์บุรีได้กราบทูลเชิญ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารหลวงพ่อแพ ๙๐ ปี เมื่อวันจันทร์ที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ พ.ศ. ๒๕๓๘
พ.ศ. ๒๕๓๘ ก่อสร้างอาคารหลวงพ่อแพ เขมังกโร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง ๙ ชั้น มูลค่า ๑๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งร้อยยี่สิบล้านบาทถ้วน) ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อ วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ อาคารหลังนี้มีพื้นที่ใช้สอย ๑๑,๔๓๐ ตารางเมตร โดย ชั้นที่ ๑ - ๒ เป็นแผนกบริการผู้ป่วยนอก ชั้นที่ ๓ - ๔ เป็นฝ่ายอำนวยการ ชั้นที่ ๕ - ๙ เป็นห้องผู้ป่วย จำนวน ๖๐ ห้อง ก่อสร้างแล้วเสร็จ และเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๑
พระธรรมมุนี ปัจจุบันมีอายุได้ 95 ปี พรรษา 74 ตลอดชีวิตของหลวงพ่อได้บำเพ็ญสาธารณประโยชน์อย่างเอนกอนันต์ และได้อุทิศเวลาส่วนใหญ่ให้แก่ประชาชนผู้เดือดร้อนหรือตกทุกข์ได้ยากตลอดมาหลวงพ่อแพ เปรียบเสมือนร่มโพธิ์ร่มไทรของประชาชนทั่วไปได้แผ่บารมีช่วยเหลือกิจการต่างๆ
นอกจากด้านศาสนาแล้วยังช่วยเหลือด้านการศึกษาและสาธารณสุขด้วยมีผลงานเป็นที่ประจักษ์มากมายโดยเฉพาะ
ในส่วนของโรงพยาบาลสิงห์บุรีได้รับความอนุเคราะห์จากพระเดชพระคุณหลวงพ่อแพดังจะเห็นได้จากการก่อสร้าง
อาคารหลวงพ่อแพ 80 ปี ,อาคารหลวงพ่อแพ 86 ปี (อาคารเอ็กซเรย์) ,อาคารหลวงพ่อแพ 90 ปี ที่เด่นเป็นสง่า และดูสวยงามภายในโรงพยาบาสิงห์บุรี และปัจจุบันกับอาคารหลวงพ่อแพเขมังกโร ที่สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีก็ด้วยเพราะบุญบารมีของหลวงพ่อแพ ที่ท่านมอบต่อสาธุชนด้วยเมตตาธรรม

ที่มา http://www.dharma-gateway.com/monk-home-hist-index-page.htm
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :
 


ศูนย์รวมพระเครื่อง และ ความรู้พระเครื่อง
อันดับหนึ่งของภาคเหนือตอนล่างภาคกลางตอนบน