สินค้า
บทความ
ประวัติคณาจารย์
ประวัติหลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม
ประวัติหลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
ประวัติพระพุฒาจารย์ เอนกสถาน ปรีชาฯ (ท่านเจ้ามา)
หลวงพ่อจันทร์ โฆสโก วัดหาดสองแคว
หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้
หลวงพ่อไซร้ ติสสฺโร วัดช่องลม
หลวงปู่เขียน วัดสำนักขุนเณร
หลวงพ่อสว่าง วัดท่าพุทรา
หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่
หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน
หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์
หลวงพ่อทบ วัดชนแดน
หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง
หลวงปู่พิมพา วัดหนองตางู
ประวัติพระกรุ
พระผงสุพรรณ จ.สุพรรณบุรี
พระรอด กรุมหาวัน
พระซุ้มกอ (พระกำแพงซุ้มกอ) จ.กำแพงเพชร
พระหลวงพ่อเงินกรุวัดขวาง
พระนางพญาพิษณุโลก
พระนางพญากรุเจดีย์กลางน้ำ
ประวัติพระเครื่อง/เครื่องราง/มีดหมอ
ประวัติพระสมเด็จวัดเกศไชโย
ประวัติพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม
พระชัยวัฒน์ท่านเจ้ามา
พระสมเด็จวัดะฆัง
ประวัติการสร้างเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก รุ่นแรก ปีพ.ศ.2513
ขั้นตอนการสร้างตะกรุด หลวงพ่อทบ
การสร้างตะกรุดลูกปืน
ประวัติการลงสูตรลบผงหลวงพ่อทบ
ประวัติตะกรุดหลวงพ่อทบ วัดชนแดน
ประวัติมีดหมอหลวงพ่อเดิม
รู้ทันพระแท้
พระสมเด็จวัดเกศไชโยพิมพ์เจ็ดชั้นอกตลอด
'พระสมเด็จวัดเกศไชโยพิมพ์ ๖ ชั้นอกตัน
พระสมเด็จเกศไชโยพิมพ์ ๗ ชั้น
พระสมเด็จอรหังพิมพ์เล็กมีประภามณฑล
พระสมเด็จอรหังพิมพ์ฐานคู่
'พระสมเด็จอรหังพิมพ์ใหญ่ ฐานสามชั้น
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่พระอุระเล็ก (อกเล็ก)
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่ พระกรโค้ง' (แขนโค้ง)
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑเล็ก
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์สังฆาฏิไม่มีพระกรรณ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์สังฆาฏิ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ฐานแซมพระอุระร่อง
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ฐานแซม
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์เส้นด้ายฐานแคบ
พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้ายอกวี
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์เส้นด้ายแขนกลม
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์เส้นด้าย
พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่พระพักตร์เล็ก
พระรอดพิมพ์ต้อวัดมหาวัน
พระรอดพิมพ์กลางวัดมหาวัน
พระรอดพิมพ์เครื่องราชฯพิมพ์ที่ 2
พระรอดพิมพ์เครื่องราชพิมพ์ที่ 1
ตำหนิ พระซุ้มกอ(พิมพ์ใหญ่มีกนก) จ.กำแพงเพชร
พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง
ชั่วโมงเซียน - เหรียญจบที่...ขอบ
การดูพื้นเหนรยญพระปั้ม
หลักการดูพระทั่วๆไป
การดูมีดหลวงพ่อเดิม
บทความทั่วไป
พระรอดพิมพ์ตื้นวัดมหาวัน
เรื่องใกล้ตัวแมลงกินพระเนื้อว่าน
เล่นพระยังไง ให้เป็นซะที
ประมูลพระเครื่อง
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   
สถิติ
เปิดเมื่อ5/10/2011
อัพเดท27/02/2013
ผู้เข้าชม862776
แสดงหน้า1054022




พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑเล็ก

อ่าน 5934 | ตอบ 0
ผ่านไปอีกพิมพ์การชี้จุดสังเกต “พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์อกครุฑกลาง” ฉบับนี้จึงถึงคิวการชี้จุดสังเกตของ “พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์อกครุฑเล็ก” ซึ่งเป็นพิมพ์สุดท้ายของ “พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์อกครุฑ” ที่ “สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี” เป็นประธานในการสร้างและปลุกเสกในช่วงระหว่างปี พ.ศ.๒๔๑๓-๒๔๑๕ ขณะครอง “วัดระฆัง” ตามคำอาราธนาของ “เสมียนตราด้วง” ที่จัดสร้างเมื่อครั้งบูรณะ “วัดบางขุนพรหม” ครั้งใหญ่ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นวัดใหม่อมตรส) เพื่อบรรจุไว้ใน “เจดีย์องค์ใหญ่” ของ “วัดบางขุนพรหม” ตามคติความเชื่อของการสืบทอดพระพุทธศาสนา
   
สำหรับ “พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์อกครุฑเล็ก” นี้ลักษณะโดยรวมแล้วจะแตกต่างจาก “พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์อกครุฑใหญ่” และ “อกครุฑกลาง” มากมายหลายรายละเอียดเพราะ “นายช่าง” ที่สร้างสรรค์แม่พิมพ์เป็นคนละคนกับ “พิมพ์อกครุฑใหญ่” และ “พิมพ์อกครุฑเล็ก” ดังนั้นรายละเอียดต่าง ๆ จึงแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดอีกทั้ง “พิมพ์อกครุฑเล็ก” นี้ก็ไม่ค่อยพบเห็นบ่อยนักคงเป็นเพราะ “ความสวยงาม” สู้สองพิมพ์แรกไม่ได้จึงทำการสร้างออกมาน้อยองค์ (ความเห็นของผู้เขียนเอง) ประกอบกับค่านิยมก็ต่ำกว่าสองพิมพ์แรกโดยรายละเอียดของ “พิมพ์อกครุฑเล็ก” มีดังนี้
   

๑.    “ขอบข้าง” ทั้งสี่ด้านยังคงเอกลักษณ์ “พระสมเด็จ” คือปรากฏเส้นนูนแผ่ว ๆ (ในองค์ที่พิมพ์ติดชัด) เฉกเช่น “พระสมเด็จ” พิมพ์อื่น ๆ ทั้งของ “วัดระฆัง” และ “วัดบางขุนพรหม” ทุกประการ ส่วน “เส้นซุ้มครอบแก้ว” ลักษณะเป็นเส้นกลมแบบหวายผ่าซีกแต่มีขนาดเล็ก และไม่ค่อยเรียบร้อยคือเส้นซุ้มจะโย้ไปมาจึงทำให้ขาดความสวยงาม
   
๒.    “พระเกศ” (ผม) มีลักษณะแบบทรงกรวยคือ “โคนใหญ่ปลายแหลม” อีกทั้งพิมพ์นี้ปลายพระเกศจะไม่จรดเส้นซุ้ม ส่วน “พระพักตร์” (หน้า) มีลักษณะเป็น
กลมนูนโดยไม่ปรากฏ “พระเนตร” (ตา) “พระนาสิก” (จมูก) และ “พระโอษฐ์” (ปาก) เฉกเช่นพิมพ์อกครุฑกลาง
   
๓.    “พระกรรณ” (หู) ลักษณะปลายแหลมและแนบกับ “พระพักตร์” โดยปลายพระกรรณด้านบนอยู่ในลักษณะเฉียงออกด้านข้างเล็กน้อยอีกทั้งด้านซ้ายจะติดชัดกว่าด้านขวา ส่วน “พระอังสา” (ไหล่) นูนหนาเป็นเส้นตรงจึงทำให้ “พระกัจจะ” (รักแร้) เป็นซอกลึกปลายแหลม
   
๔.    “พระอุระ” (อก) ที่ต่อเนื่องกับ “ลำพระองค์” (ลำตัว) ลักษณะเป็นรูปตัววีโดยในองค์ที่ติดชัดจะปรากฏ “เส้นสังฆาฏิ” พาดจาก “พระอังสาซ้าย” (ไหล่ซ้าย) ลงไปยัง “พระอุทร” (ท้อง) ที่ค่อนข้างนูนจรด “ฝ่าพระหัตถ์” (ฝ่ามือ) 
       
๕. “พระพาหา” (แขน) ด้านขวาล่ำหนาใหญ่กว่าด้านซ้ายในลักษณะกางออกก่อนจะ “หักพระกัปปะระ” (หักศอก) ทั้งสองข้าง ส่วน “พระกร” (มือ) ประสานกันในท่านั่งสมาธิและ “พระเพลา” (ตัก) ลักษณะนูนหนาใหญ่และปลาย “พระชานุ” ด้านซ้ายยกสูงทั้งสองข้าง
         
๖. “ฐาน” สามชั้นโดย “ฐานชั้นบน” เป็นแท่งนูนหนาใหญ่ปลายทั้งสองข้างยกสูงแบบหัวเรือ ขอบข้างด้านบนปรากฏเส้นนูนเรียวเล็กยาวตลอดแนว จึงทำให้กลางฐานเป็นร่องยาวตลอดแนวเช่นกันขณะที่ “ฐานชั้นกลาง” ลักษณะเป็นสันนูนที่มีขนาดเล็กกว่าฐานชั้นบน แต่ยาวกว่าและปลายทั้งสองข้างยาวไปจรดเส้นซุ้ม ส่วน “ฐานชั้นล่าง” เป็นแท่งหนาใหญ่กว่าทุกชั้นและมีขนาดยาวเท่ากับฐานชั้นที่สอง โดยขอบบนและล่างปรากฏเส้นนูนเล็กยาวตลอดแนวและปลายฐานทั้งสองข้างจรดเส้นซุ้มเช่นกัน (ภาพประกอบจากหนังสือพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม โดย สมศักดิ์ สกุนตนาฏ).

ที่มา เดลินิวส์
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :
 


ศูนย์รวมพระเครื่อง และ ความรู้พระเครื่อง
อันดับหนึ่งของภาคเหนือตอนล่างภาคกลางตอนบน