สินค้า
บทความ
ประวัติคณาจารย์
ประวัติหลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม
ประวัติหลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
ประวัติพระพุฒาจารย์ เอนกสถาน ปรีชาฯ (ท่านเจ้ามา)
หลวงพ่อจันทร์ โฆสโก วัดหาดสองแคว
หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้
หลวงพ่อไซร้ ติสสฺโร วัดช่องลม
หลวงปู่เขียน วัดสำนักขุนเณร
หลวงพ่อสว่าง วัดท่าพุทรา
หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่
หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน
หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์
หลวงพ่อทบ วัดชนแดน
หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง
หลวงปู่พิมพา วัดหนองตางู
ประวัติพระกรุ
พระผงสุพรรณ จ.สุพรรณบุรี
พระรอด กรุมหาวัน
พระซุ้มกอ (พระกำแพงซุ้มกอ) จ.กำแพงเพชร
พระหลวงพ่อเงินกรุวัดขวาง
พระนางพญาพิษณุโลก
พระนางพญากรุเจดีย์กลางน้ำ
ประวัติพระเครื่อง/เครื่องราง/มีดหมอ
ประวัติพระสมเด็จวัดเกศไชโย
ประวัติพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม
พระชัยวัฒน์ท่านเจ้ามา
พระสมเด็จวัดะฆัง
ประวัติการสร้างเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก รุ่นแรก ปีพ.ศ.2513
ขั้นตอนการสร้างตะกรุด หลวงพ่อทบ
การสร้างตะกรุดลูกปืน
ประวัติการลงสูตรลบผงหลวงพ่อทบ
ประวัติตะกรุดหลวงพ่อทบ วัดชนแดน
ประวัติมีดหมอหลวงพ่อเดิม
รู้ทันพระแท้
พระสมเด็จวัดเกศไชโยพิมพ์เจ็ดชั้นอกตลอด
'พระสมเด็จวัดเกศไชโยพิมพ์ ๖ ชั้นอกตัน
พระสมเด็จเกศไชโยพิมพ์ ๗ ชั้น
พระสมเด็จอรหังพิมพ์เล็กมีประภามณฑล
พระสมเด็จอรหังพิมพ์ฐานคู่
'พระสมเด็จอรหังพิมพ์ใหญ่ ฐานสามชั้น
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่พระอุระเล็ก (อกเล็ก)
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่ พระกรโค้ง' (แขนโค้ง)
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑเล็ก
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์สังฆาฏิไม่มีพระกรรณ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์สังฆาฏิ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ฐานแซมพระอุระร่อง
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ฐานแซม
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์เส้นด้ายฐานแคบ
พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้ายอกวี
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์เส้นด้ายแขนกลม
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์เส้นด้าย
พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่พระพักตร์เล็ก
พระรอดพิมพ์ต้อวัดมหาวัน
พระรอดพิมพ์กลางวัดมหาวัน
พระรอดพิมพ์เครื่องราชฯพิมพ์ที่ 2
พระรอดพิมพ์เครื่องราชพิมพ์ที่ 1
ตำหนิ พระซุ้มกอ(พิมพ์ใหญ่มีกนก) จ.กำแพงเพชร
พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง
ชั่วโมงเซียน - เหรียญจบที่...ขอบ
การดูพื้นเหนรยญพระปั้ม
หลักการดูพระทั่วๆไป
การดูมีดหลวงพ่อเดิม
บทความทั่วไป
พระรอดพิมพ์ตื้นวัดมหาวัน
เรื่องใกล้ตัวแมลงกินพระเนื้อว่าน
เล่นพระยังไง ให้เป็นซะที
ประมูลพระเครื่อง
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   
สถิติ
เปิดเมื่อ5/10/2011
อัพเดท27/02/2013
ผู้เข้าชม862785
แสดงหน้า1054031




พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้ายอกวี

อ่าน 2644 | ตอบ 0
สำหรับ “พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้ายอกวี” นี้พุทธลักษณะโดยทั่วไปจะมีส่วนคล้าย “พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้ายแขนกลม” อีกพิมพ์คือรายละเอียดของพิมพ์ที่ประกอบไปด้วย เส้นซุ้ม เส้นพระเกศ พระพักตร์ เส้นพระกร พระเพลา รวมทั้ง ฐาน จะมีลักษณะที่เป็นเส้นเรียวบางแต่คมชัดให้เห็นทุกองค์ ส่วนที่ผิดแผกแตกต่างกันจนสามารถแยกออกเป็นอีกพิมพ์ได้ก็คือตรง “พระอุระ” (อก) โดย “พระสมเด็จ พิมพ์เส้นด้ายแขนกลม” พุทธลักษณะของพระอุระจะเป็นรูป    “ทรงกระบอก” ทางด้านพิมพ์    “อกวี” จะมีลักษณะเป็นรูปตัว “วี” ในภาษาอังกฤษนักสะสมจึงเรียกพิมพ์นี้ว่า “อกวี” ที่พอจะชี้จุดสังเกตเป็น   ข้อ ๆ ได้ดังนี้   

๑. “ขอบข้างทั้งสี่ด้าน” จะปรากฏเส้นนูนเรียวบางเฉกเช่น “พระสมเด็จวัดระฆัง” ที่ผู้รู้ระบุว่าเกิดขึ้นจากการถอดองค์พระออกจากแม่พิมพ์ ขณะที่องค์พระยังหมาด ๆ จึงทำให้มีเนื้อปลิ้นออกมา
   
๒. “เส้นซุ้ม” เป็นเส้นซุ้มครอบแก้วที่แม้จะมีส่วนคล้าย “พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้ายแขนกลม” แต่การสร้างแม่พิมพ์ของนายช่างเจตนาให้เส้นซุ้ม มีลักษณะที่คล้ายกับเส้นด้ายเพราะเป็นเส้นเรียวบางที่คมชัด
   
๓. “พระเกศ” (ผม) มีลักษณะเป็นเส้นเรียวบางคมชัดเช่นกันพุ่งขึ้นไปจรดเส้นซุ้ม ในลักษณะมีทั้งตรงและโค้งงอช่วงกลางเล็กน้อย
   
๔. “พระพักตร์” (หน้า) มีลักษณะคล้ายผลมะตูมแต่ขนาดค่อนข้างเล็กกว่า “พิมพ์ใหญ่” และไม่ปรากฏ      “พระกรรณ” (หู)
   
๕. “พระอังสา” (ไหล่) ลักษณะตรงกว้างเช่นกันกับ “พระกร” (แขน) หากดูผิวเผินจะมีลักษณะคล้ายกับพิมพ์ “แขนกลม”   แต่หากพิจารณาให้ถี่ถ้วนจะเห็น  ได้ว่า “พระกร” (แขน) ของพิมพ์ “อกวี” นี้ไม่วาดโค้งเป็นวงกลม  ดังนั้น “พระกัป   ปะระ” (ศอก) จึงไม่เป็นวงกลมด้วยโดยกางออกเล็กน้อยพร้อมกับ    “หักศอก” เล็กน้อยอย่างเห็นได้ชัด
   
๖. “พระอุระ” (อก) มีลักษณะนูนเด่นแต่แคบเล็กและ “ลำพระองค์” (ลำตัว) จะสอบเข้าเป็นรูป “ตัววี” จึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์ว่า “อกวี”
   
๗. “พระเพลา” (ตัก) ลักษณะเป็นเส้นเรียวบางโดย “พระชานุ” (เข่า) ด้านซ้ายมีเนื้อนูนมากกว่าด้านขวา
   
๘. “ฐาน” ฐานชั้นบนสุดและชั้นกลางมีลักษณะเป็นเส้นเรียวบาง โดยหัวฐานด้านขวาจะสูงกว่าด้ายซ้ายเล็กน้อยและไม่มี “ฐานสิงห์” เฉกเช่นพิมพ์ใหญ่เนื่องจากเป็นเส้นเล็กและเรียวบางนั่นเอง ส่วนฐานชั้นล่างสุดลักษณะเป็นเส้นคู่เฉกเช่นพิมพ์แขนกลม.
   

พุทธธัสสะ
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :
 


ศูนย์รวมพระเครื่อง และ ความรู้พระเครื่อง
อันดับหนึ่งของภาคเหนือตอนล่างภาคกลางตอนบน