สินค้า
บทความ
ประวัติคณาจารย์
ประวัติหลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม
ประวัติหลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
ประวัติพระพุฒาจารย์ เอนกสถาน ปรีชาฯ (ท่านเจ้ามา)
หลวงพ่อจันทร์ โฆสโก วัดหาดสองแคว
หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้
หลวงพ่อไซร้ ติสสฺโร วัดช่องลม
หลวงปู่เขียน วัดสำนักขุนเณร
หลวงพ่อสว่าง วัดท่าพุทรา
หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่
หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน
หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์
หลวงพ่อทบ วัดชนแดน
หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง
หลวงปู่พิมพา วัดหนองตางู
ประวัติพระกรุ
พระผงสุพรรณ จ.สุพรรณบุรี
พระรอด กรุมหาวัน
พระซุ้มกอ (พระกำแพงซุ้มกอ) จ.กำแพงเพชร
พระหลวงพ่อเงินกรุวัดขวาง
พระนางพญาพิษณุโลก
พระนางพญากรุเจดีย์กลางน้ำ
ประวัติพระเครื่อง/เครื่องราง/มีดหมอ
ประวัติพระสมเด็จวัดเกศไชโย
ประวัติพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม
พระชัยวัฒน์ท่านเจ้ามา
พระสมเด็จวัดะฆัง
ประวัติการสร้างเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก รุ่นแรก ปีพ.ศ.2513
ขั้นตอนการสร้างตะกรุด หลวงพ่อทบ
การสร้างตะกรุดลูกปืน
ประวัติการลงสูตรลบผงหลวงพ่อทบ
ประวัติตะกรุดหลวงพ่อทบ วัดชนแดน
ประวัติมีดหมอหลวงพ่อเดิม
รู้ทันพระแท้
พระสมเด็จวัดเกศไชโยพิมพ์เจ็ดชั้นอกตลอด
'พระสมเด็จวัดเกศไชโยพิมพ์ ๖ ชั้นอกตัน
พระสมเด็จเกศไชโยพิมพ์ ๗ ชั้น
พระสมเด็จอรหังพิมพ์เล็กมีประภามณฑล
พระสมเด็จอรหังพิมพ์ฐานคู่
'พระสมเด็จอรหังพิมพ์ใหญ่ ฐานสามชั้น
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่พระอุระเล็ก (อกเล็ก)
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่ พระกรโค้ง' (แขนโค้ง)
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑเล็ก
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์สังฆาฏิไม่มีพระกรรณ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์สังฆาฏิ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ฐานแซมพระอุระร่อง
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ฐานแซม
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์เส้นด้ายฐานแคบ
พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้ายอกวี
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์เส้นด้ายแขนกลม
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์เส้นด้าย
พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่พระพักตร์เล็ก
พระรอดพิมพ์ต้อวัดมหาวัน
พระรอดพิมพ์กลางวัดมหาวัน
พระรอดพิมพ์เครื่องราชฯพิมพ์ที่ 2
พระรอดพิมพ์เครื่องราชพิมพ์ที่ 1
ตำหนิ พระซุ้มกอ(พิมพ์ใหญ่มีกนก) จ.กำแพงเพชร
พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง
ชั่วโมงเซียน - เหรียญจบที่...ขอบ
การดูพื้นเหนรยญพระปั้ม
หลักการดูพระทั่วๆไป
การดูมีดหลวงพ่อเดิม
บทความทั่วไป
พระรอดพิมพ์ตื้นวัดมหาวัน
เรื่องใกล้ตัวแมลงกินพระเนื้อว่าน
เล่นพระยังไง ให้เป็นซะที
ประมูลพระเครื่อง
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   
สถิติ
เปิดเมื่อ5/10/2011
อัพเดท27/02/2013
ผู้เข้าชม862757
แสดงหน้า1054001




ขั้นตอนการสร้างตะกรุด หลวงพ่อทบ

อ่าน 17514 | ตอบ 2
ลุงสมพงษ์เล่าว่า คนที่จะจารตะกรุดต้องมีสมาธิแน่วแน่จิตต้องนิ่งก่อนจารต้องแขวนประคำ 108 เม็ด ท่องคาถา 108 จบ 108 คาบอย่างน้อย 3 วัน ถึงจะออกมาจารตะกรุดของหลวงพ่อทบได้ ไม่ใช่ใครจะมาจารก็ได้.....นอกจากจารเสร็จแล้วก็จะมาถึงขั้นตอนการม้วน ต้องกำกับคาถาอีก คาถาม้วนตะกรุดต้องท่องบทนี้ตลอดเวลาการม้วนตะกรุด โอมพระพิรอด ขอดพระพินัย อุดถัง อุดโท โทอุดทังอุด ว่าไปเรื่อจนกว่าจะม้วนเสร็จ....จากนั้นคนที่พันเชือกก็จะพันก่อนนำเข้าพิธีปลุกเสก....จะมีการลองยิงก่อนเพื่อทดสอบว่าคนจาร์จิตนิ่งแค่ไหน ถ้าดอกไหนคนจารจิตไม่นิ่งโดนปืนขาดครึ่งเลย ดอกไหนที่ยิงไม่ออกจะนำมาให้หลวงพ่อทบปลุกเสกบรรจุพลังอีกครังเพื่อสัมทับความขลังอีกครั้งอีกครัง ก่อนให้ประชาชนบูชา......หลวงพ่อทบท่านเคยพูดว่า ตะกรุดจะดีหรือไม่ อยู่ที่การจาร์ลงอักขระเป็นสำคัญ คนจารจิตนิ่งจาร์ไม่ขาด ตะกรุดจะมีพลังตั้งแต่ตอนนั้นแล้วการปลุกเสกเป็นการกำกับสัมทับพุทธคุณเสริมเท่านั้น....และยังมีตะกรุดแบบพิเศษที่เชือกพันชุบน้ำมันงาขาว....หลวงพ่อทบเคยบอกลุงสมพงษ์ว่า ใช้งาขาวมาตำเอาน้ำในจะได้ของขลัง...การใช้น้ำมันงาขาวต้องมีพิธีต้องใช้สาวพรหมจรรย์ หรือหญิงที่ใกล้หมดประจำเดือนเทม่านั้น เป็นตำและกลั่นเอาน้ำมันงาขาว จึงจะศักดิ์สิทธิ์ ระหวางการตำและบีบเอาน้ำมันจะมีการบริกรรมคาถาไปด้วย หลังจากได้น้ำมัยงาขาวมาแล้วก็จะเอามาทำเป็นน้ำพุทธมนต์ และปลุกเสกก่อน มีครั้งหนึ่งกรรมการวัดชนแดน เอาน้ำมันงาขาวที่ทำเสร็จแล้วไปทาที่ตัวไก่ แล้วเอาปืนยิง ปรากฏว่ายิงยังไงก็ไม่ออก ต่อมาเลยมีการเอาเชือกพันตะกรุดมาแช่น้ำมันงาขาวก่อนพันที่ตะกรุด เคยเห็นครับแต่ไม่บ่อยนัก
........อาจาร์วีรวัฒน์ ถามต่อว่า วัตถุมงคลของหลวงพ่อทบอย่างไหนดีที่สุด ลุงสมพงษ์บอกว่า ดีทุกอย่างหลวงพ่อทบสำเร็จกสิณไฟ สั่งไฟให้ติด ให้ดับได้ ครั้งหนึ่งที่วัดตาลหล่มเก่างานพุทธาภิเษกพระชุดหลวงพ่อใหญ่วัดตาล หลวงพ่อทบท่านก็แสดงให้ดเห็นถึงกสิณไฟ ใช้จิตสั่งให้ไฟฟ้าดับทั่งงานก่อนหลวงพ่อทบจะขึ้นธรรมาส แต่ถ้าเอาดีทางเมตตาต้องสีผึ้งของท่าน และการใช้สีผึ้งของท่าน ต้องใช้ให้เป็น ลุงสมพงษ์บอกว่า การใช้สีผึ้งทาปาก ต้องทาอย่าข้ามคลอง หมายถึงทาอย่าข้ามร่องจมูก ให้เริ่มจากฝั่งซ้ายจากขอบร่องจมูกทาไปอย่ายกจนไปชนขอบจมูกอีกด้านหนึ่ง โอยไม่ให้ข้ามร่องจมูก ถ้าข้ามจะไม่เกิดผล เวลาทาสีผึ้งให้ท่องคาถากำกับว่า อุเมตตายะ ท่องจะกว่าจะทาครบ 3 รอบ ให้ทาจากซ้ายไปขวา หรือขาวไปซ้ายก็ได้ แต่ต้องให้ทาเป็นทางเดียวกัน ซ้ายก็ซ้าย ขวาก็ขวา.......
....ทีมงานและลุงสมพงษ์ถ่ายรูปร่วมกัน... ตำราพระคาถาในการจาร์ตะกรุดที่สมาชิกได้ชมนี้เป็นสมบัติของคุณลุงสมพงษ์ได้รับมาจากหลวงพ่อทบ ก่อนท่านสึกลาสิกขาบท ตำราชุดนี้หลวงพ่อทบท่านใช้ในการจารและสร้างตะกรุดมาตลอดเช่นกัน นับเป็นตำราเก่าโบราณที่เขียนด้วยมือทั้งเล่มพร้อมคาถากำกับเป็นเอกสารหลักฐานที่สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เคยเห็นมาครับ ....นี้คือคำพูดที่ออกมาจากปากคุณลุงสมพงษ์ ผมและอาจารย์วีรวัฒน์ ยืนยันได้แน่นอน.....ตะกรุดหลวงพ่อทบดอกนี้เป็นตะกรุดโทน ลายพันมาตรฐานเชือกป่าน ทารัก เข้ม สุดยอดมหสอุตม์ ยุคต้น..

 ตะกรุด 3 กษัตริย์
ยาว 3.5 นิ้ว มาตรฐาน ลายพันมาตรฐาน...หายากมากครับ เพิ่งเจอเป็นดอกที่ 3 ครับ เชือกป่านแท้ แห้ง ขึ้นคาย เข้ม ขลัง สุดคลาสิก ลงรักดำโลหะ ทองแดง อลูมิเนียม ทองเหลือง ตะกรุดแบบนี้เป็นการม้วนพร้อมกันทั้ง 3 แผ่น เก็บหัวแบบทุบมาตรฐาน จบด้วยเอกลักษณ์ ดอกนี้เป็นตะกรุดยุคต้น ตะกรุดหลวงพ่อทบสร้างยาก....กว่าจะได้ตะกรุดแต่ละดอกนั้นไม่ง่าย....การเรียกสูตรลงอักขระนั้น การจารโลหะแต่ละตัวนั้นต้องเพ่งสมาธิรวมเป็นจุดเดียวที่ตัวอักขระ.....กำกับด้วยยันตัง สันเต วิกรึงกะเร...แล้วภาวนาหัวใจของพระคาถาของยันต์นั้นๆเมื่อจารเสร็จ จะปลุกด้วยคาถาหัวใจของแต่ละยันต์ ตามด้วยพระคาถาพระพทธคุณ พระธรรมคุณและพระสังฆคุณ...จากนั้นก็จะทำการม้วนจะมีการกำกับคาถาตลอดจนการม้วนจบสิ้น....แล้วเข้าสู่ขั้นตอนพันเชือก คาถาม้วนตะกรุดต้องท่องบทนี้ตลอดเวลาการม้วนตะกรุด โอมพระพิรอด ขอดพระพินัย อุดถัง อุดโท โทอุดทังอุด ว่าไปเรื่อจนกว่าจะม้วนเสร็จ....จากนั้นคนที่พันเชือกก็จะพันก่อนนำเข้าพิธีปลุกเสก....จะมีการลองยิงก่อนเพื่อทดสอบว่าคนจาร์จิตนิ่งแค่ไหน ถ้าดอกไหนคนจารจิตไม่นิ่งโดนปืนขาดครึ่งเลย ดอกไหนที่ยิงไม่ออกจะนำมาให้หลวงพ่อทบปลุกเสกบรรจุพลังอีกครังเพื่อสัมทับความขลังอีกครั้งอีกครัง ก่อนให้ประชาชนบูชา......หลวงพ่อทบท่านเคยพูดว่า ตะกรุดจะดีหรือไม่ อยู่ที่การจาร์ลงอักขระเป็นสำคัญ คนจารจิตนิ่งจาร์ไม่ขาด ตะกรุดจะมีพลังตั้งแต่ตอนนั้นแล้วการปลุกเสกเป็นการกำกับสัมทับพุทธคุณเสริมเท่านั้น....ตะกรุดหลวงพ่อทบ 1 ดอก ต้องผ่านวิธีการแบบนี้ครับ เอากันจริงๆไม่ใช่ง่ายๆ กว่าหลวงพ่อทบท่านจะสร้างตะกรุดออกมาแต่ละดอกไม่ง่าย สมกับพลังพุทธาคมที่ประจักษ์ ไม่รู้อย่ากล่าวหาว่าตะกรุดของหลวงพ่อทบที่ท่านสร้างไว้ไม่ดีบ้าง เก๊บาง ท่านไม่ได้สร้างบ้าง...น่าเสียดายครับ ...ตะกรุดหลวงพ่อทบยุคต้น ท่านจารเอง หายห่วงเรื่องพุทธคุณ ยุคหลังๆมา ถ้าดอกไหนที่หลวงพ่อทบท่านไม่ได้จารเอง จะลองยิงก่อน ถ้าไม่ออก หลวงพ่อทบ จึงจะปลุกเสกสำทับให้ อีกครั้ง เรื่องนี้ คุณลุงสมพงษ์ อดีตพระเรขาหลวงพ่อทบ ท่านเล่าให้ผมหัง เมื่อครั้งไปสัมภาษณ์ท่านที่บ้านพัก ข้อมูลเชื่อถือได้ เรื่องพุทธคุณในตะกรุดหลวงพ่อทบจึงมีผู้กล่าวขารกันมานานจวบจนปัจจุบัน หลวงพ่อทบท่านมรณะภาพมานานกว่า 30 ปี พุทธคุณไม่เสื่อมคลาย จงมั่นใจเถอะว่า ท่านมีตะกรุดหลวงพ่อทบบูชาติดตัว แคล้วคลาดปลอดภัยแน่นอน

ตะกรุดพอกครั่งหลวงพ่อทบ 3 กษัตริย์
ตะกรุดพอกครั่งหลวงพ่อทบ เริ่มสร้างตั้งแต่ยุคต้น ก่อนปี 2500 มีการสร้าง เพียวไม่กีครั้งเท่านั้น เพราะการสร้างตะกรุดพอกครั้งนั้นสร้างยากมาก คั้นตอนการเตรียมก็ยุ่งยาก จึงนิยมลงรัก ทารัก มากกว่า ตะกรุดผิดครั้งหลวงพ่อทบ สร้างน้อยมาก เป็นการสร้างฉะเพาะกาลเท่านั้น และเป็นเดคล็ดทางมหาอุตม์ โดยเฉพาะ ตะกรุดพอกครั้งหายากกว่าตะกรุดธงชาติ จะมีการสร้างหลายขนาด ทั้งยาว และสั้น พันหนา และบาง ส่วนใหญ่ตะกรุดพอกครั่งของหลวงพ่อทบ เท่าที่พบ จะเป็นตะกรุด 3 กษัตริย์ เสียเป็นส่วนใหญ่ ตะกรุด 3 กษัตริย์ หลวงพ่อทบ มีพุทธคุณเด่นมาก ในด้าน มหาอุตม์ แคล้วคลาด เป็นเลิศ ตะกรุดแบบนี้เป็นการม้วนพร้อมกันทั้ง 3 แผ่น เก็บหัวแบบทุบมาตรฐาน จบด้วยเอกลักษณ์ ดอกนี้เป็นตะกรุดยุคต้น ตะกรุดหลวงพ่อทบสร้างยาก....กว่าจะได้ตะกรุดแต่ละดอกนั้นไม่ง่าย....การเรียกสูตรลงอักขระนั้น การจารโลหะแต่ละตัวนั้นต้องเพ่งสมาธิรวมเป็นจุดเดียวที่ตัวอักขระ.....กำกับด้วยยันตัง สันเต วิกรึงกะเร...แล้วภาวนาหัวใจของพระคาถาของยันต์นั้นๆเมื่อจารเสร็จ จะปลุกด้วยคาถาหัวใจของแต่ละยันต์ ตามด้วยพระคาถาพระพทธคุณ พระธรรมคุณและพระสังฆคุณ...จากนั้นก็จะทำการม้วนจะมีการกำกับคาถาตลอดจนการม้วนจบสิ้น....แล้วเข้าสู่ขั้นตอนพันเชือก คาถาม้วนตะกรุดต้องท่องบทนี้ตลอดเวลาการม้วนตะกรุด โอมพระพิรอด ขอดพระพินัย อุดถัง อุดโท โทอุดทังอุด ว่าไปเรื่อจนกว่าจะม้วนเสร็จ....จากนั้นก็จะมาถึงขั้นตอยการหุ่งครั่ง... *** ครั่ง คือ ยางหรือชันชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นสารที่ขับถ่ายออกจากตัวแมลงครั่ง แมลงครั่งจะอาศัยอยู่ตามกิ่งไม้ที่ใช้เลี้ยงครั่ง และใช้ปากซึ่งมีลักษณะเป็นปากดูดเจาะเข้าไปในกิ่งของต้นไม้เพื่อดูดน้ำ เลี้ยงมาเป็นอาหารและขับถ่ายครั่ง ออกมาจากภายในตัวครั่งตลอดเวลาเพื่อห่อหุ้มตัวเป็นเกราะป้องกันอันตรายจาก สิ่งภายนอก มีลักษณะ นิ่มเหนียวสีเหลืองทอง เมื่อถูกอากาศนานเข้าจะแข็งและมีสีน้ำตาล ครั่งที่เก็บได้จากต้นไม้เรียกว่า ครั่งดิบ ซึ่งมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ เรซิน ขี้ผึ้ง สี ซาก ตัวครั่ง และสารอื่น ๆ ส่วนที่ใช้เป็นประ โยชน์ในทางอุตสาหกรรมคือ สีครั่ง และเนื้อครั่ง..... ตะกรุดพอกครั่งหลวงพ่อทบดอกนี้เป็นตะกรุด 3 กษัตริย์ ยาว 5 นิ้วมาตรฐาน ลายพันมาตรฐานเชือกป่าน พอกด้วยครั่งดิบ หลวงพ่อทบท่านจะใช้ครั่งดิบที่ได้มา ใส่ถุงผ้า แล้วอังด้วยความร้อนจากไอน้ำ....น้ำยางจากครั่งจะซึมออกมาผ่านถุงผ้า ต้อนนั้น จะมีการว่ากำกับพระคาถาสำทับ เพื่อให้ครั่งมีพลังพุทธคุณ เรียกว่าการหุ่งครั่ง....เมื่อยางครั่งไหลผ่านออกมาจากถุงผ้า ก็จะใช้ไม่ตอกปาดน้ำยาวครั่ง มาทาที่ตัวตะกรุด....สังเกตุได้ว่า ตะกรุดที่พอกครั้ง จะมีหนา มีบาง ไม่เท่ากัน ในตัวตะกรุด แบบนี้เรียกว่าธรรมชาติ ของตะกรุดผอกครั่งแท้แบบโบราณ สมัยใหม่ จะใช้ครั่งแผ่น ( ครั่งสังเคาระห์) และทำให้ครั่งเกิดความร้อน นิ่มคล้ายเทียนแล้วหุ้มที่ตะกรุดเลย ตะกรุดแบบนี้ครั่งจะหนา และครั่งจะมีสีดำ จะไม่แดงธรรมชาติเหมือนครั่งสดเช่นดอกนี้ ตะกรุดคอกนี้เป็นตะกรุดเดิม เชือกด้านนอกจะเป็นการพันทับไว้เฉยๆ ไม่ได้เกิดจากการชำรุด ตะกรุดดอกนี้สมบูรณฺมาก เก่าจัด การเก็บหัวแบบทุก พันไว้หัว เอกลักษณ์ยุคต้น หายากมาก ตะกรุดพอกครั่งหลวงพ่อทบ หายากมาก ไม่พบเห็นเลยในปัจจุบัน สร้างน้อยนั้นเอง ปัจจุบันเป็นตะกรุดในตำนานไปแล้วครับ นี้คือที่สุดของตะกรุดพอกครั่ง ของหลวงพ่อทบ ที่หายาก และสุดยอดพุทธคุณ อีกดอกครับ ติชมได้เต็มที่ครับ.... ตะกรุดพอกครั่งเป็นตะกรุดในตำนานที่มีคนกล่าวถึงกันมาก แต่หาชมตะกรุดแท้ๆได้ยากยิ่ง
ความคิดเห็น :
1
อ้างอิง

ศราวุธ
ขอรบกวนถามผู้รู้หน่อยครับ ว่าถ้าตะกรุดหลวงพ่อทบยุคต้น หัก จะยังดีอยู่ไหมครับ เรื่องของพุทธคุณครับ รบกวนถามหน่อยครับ
 
ศราวุธ [223.205.88.xxx] เมื่อ 13/01/2014 09:44
2
อ้างอิง

Joy
 
Joy [68.202.141.xxx] เมื่อ 4/03/2019 01:23
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :
 


ศูนย์รวมพระเครื่อง และ ความรู้พระเครื่อง
อันดับหนึ่งของภาคเหนือตอนล่างภาคกลางตอนบน