สินค้า
บทความ
ประวัติคณาจารย์
ประวัติหลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม
ประวัติหลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
ประวัติพระพุฒาจารย์ เอนกสถาน ปรีชาฯ (ท่านเจ้ามา)
หลวงพ่อจันทร์ โฆสโก วัดหาดสองแคว
หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้
หลวงพ่อไซร้ ติสสฺโร วัดช่องลม
หลวงปู่เขียน วัดสำนักขุนเณร
หลวงพ่อสว่าง วัดท่าพุทรา
หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่
หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน
หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์
หลวงพ่อทบ วัดชนแดน
หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง
หลวงปู่พิมพา วัดหนองตางู
ประวัติพระกรุ
พระผงสุพรรณ จ.สุพรรณบุรี
พระรอด กรุมหาวัน
พระซุ้มกอ (พระกำแพงซุ้มกอ) จ.กำแพงเพชร
พระหลวงพ่อเงินกรุวัดขวาง
พระนางพญาพิษณุโลก
พระนางพญากรุเจดีย์กลางน้ำ
ประวัติพระเครื่อง/เครื่องราง/มีดหมอ
ประวัติพระสมเด็จวัดเกศไชโย
ประวัติพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม
พระชัยวัฒน์ท่านเจ้ามา
พระสมเด็จวัดะฆัง
ประวัติการสร้างเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก รุ่นแรก ปีพ.ศ.2513
ขั้นตอนการสร้างตะกรุด หลวงพ่อทบ
การสร้างตะกรุดลูกปืน
ประวัติการลงสูตรลบผงหลวงพ่อทบ
ประวัติตะกรุดหลวงพ่อทบ วัดชนแดน
ประวัติมีดหมอหลวงพ่อเดิม
รู้ทันพระแท้
พระสมเด็จวัดเกศไชโยพิมพ์เจ็ดชั้นอกตลอด
'พระสมเด็จวัดเกศไชโยพิมพ์ ๖ ชั้นอกตัน
พระสมเด็จเกศไชโยพิมพ์ ๗ ชั้น
พระสมเด็จอรหังพิมพ์เล็กมีประภามณฑล
พระสมเด็จอรหังพิมพ์ฐานคู่
'พระสมเด็จอรหังพิมพ์ใหญ่ ฐานสามชั้น
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่พระอุระเล็ก (อกเล็ก)
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่ พระกรโค้ง' (แขนโค้ง)
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑเล็ก
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์สังฆาฏิไม่มีพระกรรณ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์สังฆาฏิ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ฐานแซมพระอุระร่อง
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ฐานแซม
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์เส้นด้ายฐานแคบ
พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้ายอกวี
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์เส้นด้ายแขนกลม
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์เส้นด้าย
พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่พระพักตร์เล็ก
พระรอดพิมพ์ต้อวัดมหาวัน
พระรอดพิมพ์กลางวัดมหาวัน
พระรอดพิมพ์เครื่องราชฯพิมพ์ที่ 2
พระรอดพิมพ์เครื่องราชพิมพ์ที่ 1
ตำหนิ พระซุ้มกอ(พิมพ์ใหญ่มีกนก) จ.กำแพงเพชร
พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง
ชั่วโมงเซียน - เหรียญจบที่...ขอบ
การดูพื้นเหนรยญพระปั้ม
หลักการดูพระทั่วๆไป
การดูมีดหลวงพ่อเดิม
บทความทั่วไป
พระรอดพิมพ์ตื้นวัดมหาวัน
เรื่องใกล้ตัวแมลงกินพระเนื้อว่าน
เล่นพระยังไง ให้เป็นซะที
ประมูลพระเครื่อง
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    
สถิติ
เปิดเมื่อ5/10/2011
อัพเดท27/02/2013
ผู้เข้าชม854895
แสดงหน้า1045509




หลวงพ่อไซร้ ติสสฺโร วัดช่องลม

อ่าน 3565 | ตอบ 0
หลวงพ่อไซร้ ติสสฺโร

วัดช่องลม อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
 

ประวัติ.....

              พระครูนิกรธรรมรักษ์ ติสฺสโร นามเดิม ไซร้ ทิพยาวงษ์ เป็นบุตรคนที่ 5 ของขุนนิกรรักษา กับนางแท่น ทิพยาวงษ์

              วัน เดือน ปีเกิด  วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2436 ตรงกับวันอาทิตย์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 3 ปีมะเส็ง ที่บ้านหนองเหี้ย

ตำบลหาดงิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันรวม 7 คน หลวงพ่อไซร้ในสมัยหนุ่มหน้าตาดี

มีสง่าราศี รูปร่างสูงโปร่ง ผิวขาวสะอาด อัธยาศัยดี สงบเสงี่ยม กิริยาวาจาสุภาพเรียบร้อย มีเมตตาธรรมต่อผู้อื่นเสมอ

ก่อนอุปสมบทได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์วัดอยู่กับหลวงพ่อฮวบ เจ้าอาวาสวัดสามัคคยาราม และได้ศึกษาเล่าเรียนภาษาไทย

และภาษาขอมจาก หลวงพ่อฮวบ จนมีความรู้แตกฉาน และยังมีความชำนาญนำไปใช้ในการศึกษาธรรมะได้เป็นอย่างดี

              ต่อมาได้ออกจากวัดหาดงิ้ว กลับไปอยู่บ้านช่วยเหลือบิดามารดา ในการประกอบอาชีพทำนาทำไร่อยู่ได้ระยะหนึ่ง

จนกระทั่งอายุได้ 16 ปี ด้วยนิสัยใฝ่เรียนรู้ด้านธรรมะ และมีความรักความศรัทธาเลื่อมใสในสมณเพศ จึงได้ขอบรรพชาเป็น

สามเณรกับ พระอธิการก้อน เจ้าอาวาสวัดช่องลม เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2452

               การบรรพชาอุปสมบท หลังจากบวชเป็นสามเณรจนกระทั่งอายุครบ 20 ปี จึงได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุ

ณ พัทธสีมาวัดช่ิองลม ต.หาดงิ้ว อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2456 มี พระอธิการขีด วัดกุมภีร์ทอง

ต.บ้านด่าน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการจ้อน เป็นกรรมวาจาจารย์ และ พระอธิการป้อม เป็นอนุสาวนาจารย์

บำเพ็ญสมณะธรรม.....

               หลังจากอุปสมบทแล้ว หลวงพ่อไซร้ตั้งใจบำเพ็ญสมณะธรรมเอาใจใส่กิจวัตร เคร่งครัดในพระธรรมวินัยอย่างยิ่ง

ไม่ยอมละทิ้งการงานของพระภิกษุและสามเณร ซึ่งในพระพุทธศาสนามีอยู่ 2 อย่างคือ 1.คันถะธุระ การศึกษาพระธรรมวินัย

อันเป็นส่วนปริยัติ 2.วิปัสสนาธุระ การเรียนพระกัมมัฎฐาน ทั้งที่เป็นสมถะและวิปัสสนา อันเป็นสายปฏิบัติและปฏิเวช ซึ่งท่าน

สนใจเป็นพิเศษเพราะเป็นเหตุให้เจริญทางด้านจิตใจ ท่านได้อยู่ปฏิบัติพระอุปัชฌาย์ที่วัดกุมภีร์ทองเป็นเวลา 4 พรรษา

หลังจากนั้นจึงได้ย้ายไปจำพรรษาต่อที่วัดดอยแก้ว ต.แสนตอ อ.เมือง และที่วัดหาดงิ้ว ได้ศึกษาวิทยาคุณไสยศาสตร์กับ

หลวงพ่อฮวบ ที่วัดหาดงิ้ว จนมีความรู้อย่างแตกฉาน จึงได้ย้ายไปอยู่วัดช่องลมในเวลาต่อมา ซึ่งพระครูวิเชียรปัญญามหา

มุนี(เรือง) เจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ เจ้าอาวาสวัดท่าถนนในสมัยนั้น ได้พิจารณาเห็นว่าหลวงพ่อไซร้ เป็นที่เคารพนับถือของ

บรรพชิตและคฤหัสถ์ จึงแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลม ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 สืบต่อมา

การทำนุบำรุงศาสนา....

               ภายหลังจากได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลม ท่านได้เอาใจใส่ในการก่อสร้าง และปฏิสังขรณ์

เสนาสนะ วางระเบียบแผนผังของวัดที่ท่านพำนักจนเป็นที่เรียบร้อย ดังปรากฏหลัฐานมาจนถึงทุกวันนี้ เช่น หอไตร

กุฏิเจ้าอาวาส อุโบสถ หอสวดมนต์ ศาลาการเปรียญ พระวิหาร เจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ กำแพงรอบวัด โรงเรียน

ปริยัติธรรม และโรงเรียนประชาบาลวัดช่องลม การก่อสร้าง และการปฏิสังขรณ์ดังกล่าว รวมทั้งอุโบสถของวัดหาดงิ้ว

ศาลาการเปรียญวัดสามัคคยาราม และอุโบสถของวัดดอยท่าเสา เป็นต้น

 

วัตถุมงคลของหลวงพ่อไซร้.....

                เงินทุนที่ท่านได้มาใช้จ่ายในการก่อสร้างและปฏิสังขรณ์นี้ ส่วนใหญ่เกิดมาจากการจำหน่ายวัตถุมงคลของท่าน

เช่น เหรียญ รูปเหมือน แหวนรูปท่าน ตะกรุด ฯลฯ ให้กับประชาชนเช่าบูชา เงินที่ชาวบ้านบริจาคทำบุญก็มีแต่เป็นส่วนน้อย

วัตถุมงคลของท่านที่ทำขึ้นเองก็ดีหรือมีผู้อื่นนำมาถวายให้ท่านปลุกเสกให้ก็ดี ล้วนแล้วแต่เป็นของที่มีอาุนุภาพศักดิ์สิทธิ์

เป็นที่ปรากฏต่อลูกศิษย์และชาวบ้านทั่วไป แม้แต่คนที่นับถือศาสนาอื่นๆยังแขวนพระเครื่องและตะกรุดของหลวงพ่อไซร้

ติดตัวตลอด เพราะท่านเป็นพระที่มีสมาธิจิตสงบนิ่งมั่นคงมากในเวลาปลุกเสก ประกอบกับผู้รับไปบูชามีจิตใจเชื่อมั่นเคารพ

นับถือในวิทยาคุณของท่านด้วย

                หลวงพ่อไซร้หรือพระครูนิกรธรรมรักษ์ ท่านมีเมตตาธรรมเป็นอุปปัญญาประจำใจไม่เลือกชั้นวรรณะใครมี

ธุระก็ติดต่อได้ทุกเวลา อัธยาศัยกว้างขวางเคารพในการปฏิสันถาร วาจาอ่อนน้อมน่าบูชายิ่งนัก ใครจะขอให้ปลุกเสกเลข

ยันต์ทำน้ำมนต์ ท่านทำให้ทุกอย่าง จนหาเวลาว่างของตนเองไม่ได้แม้แต่ยามอาพาธท่านยังยอมเสียสละเวลาและชีวิต

เพื่อผู้อื่นโดยถือคติธรรมตามรอยพระพุทธองค์ว่า ผู้เสียสละ คือ ผู้ชนะแล้ว หมายถึง การเอาชนะใจตนเองถือเป็นการ

ชนะเลิศเพราะว่าไม่มีทางกลับมาแพ้ได้อีกต่อไป

                 หลวงพ่อไซร้ มรณภาพเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2507 สิริอายุรวม 71 ปี พรรษา 51 ปี

ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :
 


ศูนย์รวมพระเครื่อง และ ความรู้พระเครื่อง
อันดับหนึ่งของภาคเหนือตอนล่างภาคกลางตอนบน