สินค้า
บทความ
ประวัติคณาจารย์
ประวัติหลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม
ประวัติหลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
ประวัติพระพุฒาจารย์ เอนกสถาน ปรีชาฯ (ท่านเจ้ามา)
หลวงพ่อจันทร์ โฆสโก วัดหาดสองแคว
หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้
หลวงพ่อไซร้ ติสสฺโร วัดช่องลม
หลวงปู่เขียน วัดสำนักขุนเณร
หลวงพ่อสว่าง วัดท่าพุทรา
หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่
หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน
หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์
หลวงพ่อทบ วัดชนแดน
หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง
หลวงปู่พิมพา วัดหนองตางู
ประวัติพระกรุ
พระผงสุพรรณ จ.สุพรรณบุรี
พระรอด กรุมหาวัน
พระซุ้มกอ (พระกำแพงซุ้มกอ) จ.กำแพงเพชร
พระหลวงพ่อเงินกรุวัดขวาง
พระนางพญาพิษณุโลก
พระนางพญากรุเจดีย์กลางน้ำ
ประวัติพระเครื่อง/เครื่องราง/มีดหมอ
ประวัติพระสมเด็จวัดเกศไชโย
ประวัติพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม
พระชัยวัฒน์ท่านเจ้ามา
พระสมเด็จวัดะฆัง
ประวัติการสร้างเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก รุ่นแรก ปีพ.ศ.2513
ขั้นตอนการสร้างตะกรุด หลวงพ่อทบ
การสร้างตะกรุดลูกปืน
ประวัติการลงสูตรลบผงหลวงพ่อทบ
ประวัติตะกรุดหลวงพ่อทบ วัดชนแดน
ประวัติมีดหมอหลวงพ่อเดิม
รู้ทันพระแท้
พระสมเด็จวัดเกศไชโยพิมพ์เจ็ดชั้นอกตลอด
'พระสมเด็จวัดเกศไชโยพิมพ์ ๖ ชั้นอกตัน
พระสมเด็จเกศไชโยพิมพ์ ๗ ชั้น
พระสมเด็จอรหังพิมพ์เล็กมีประภามณฑล
พระสมเด็จอรหังพิมพ์ฐานคู่
'พระสมเด็จอรหังพิมพ์ใหญ่ ฐานสามชั้น
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่พระอุระเล็ก (อกเล็ก)
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่ พระกรโค้ง' (แขนโค้ง)
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑเล็ก
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์สังฆาฏิไม่มีพระกรรณ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์สังฆาฏิ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ฐานแซมพระอุระร่อง
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ฐานแซม
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์เส้นด้ายฐานแคบ
พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้ายอกวี
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์เส้นด้ายแขนกลม
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์เส้นด้าย
พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่พระพักตร์เล็ก
พระรอดพิมพ์ต้อวัดมหาวัน
พระรอดพิมพ์กลางวัดมหาวัน
พระรอดพิมพ์เครื่องราชฯพิมพ์ที่ 2
พระรอดพิมพ์เครื่องราชพิมพ์ที่ 1
ตำหนิ พระซุ้มกอ(พิมพ์ใหญ่มีกนก) จ.กำแพงเพชร
พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง
ชั่วโมงเซียน - เหรียญจบที่...ขอบ
การดูพื้นเหนรยญพระปั้ม
หลักการดูพระทั่วๆไป
การดูมีดหลวงพ่อเดิม
บทความทั่วไป
พระรอดพิมพ์ตื้นวัดมหาวัน
เรื่องใกล้ตัวแมลงกินพระเนื้อว่าน
เล่นพระยังไง ให้เป็นซะที
ประมูลพระเครื่อง
ปฎิทิน
May 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
    
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
สถิติ
เปิดเมื่อ5/10/2011
อัพเดท27/02/2013
ผู้เข้าชม863537
แสดงหน้า1055051




พระผงสุพรรณ จ.สุพรรณบุรี

อ่าน 15007 | ตอบ 2

พระผงสุพรรณ พระผงสุพรรณเป็นพระที่กำเนิดในจังหวัดสุพรรณบุรี พบในองค์พระปรางค์ ซึ่งเป็นพระประธานของวัดพระศรีมหาธาตุ ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี มีจารึกลานทองแจ้งว่าสร้างในสมัยอู่ทอง
ตำราในแผ่นทองวัดพระธาตุเมืองสุพรรณบุรี ที่พระยาสุนทรสงคราม (อี้ กรรณสูตร) ผู้ว่าราชการเมืองสุพรรณบุรี ค้นพบในกรุพระปรางค์วัดพระธาตุ และกรุถูกเปิดเป็นทางการ เมื่อปี พ.ศ. 2456 ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่งสำรวจขุดค้น แล้วอนุรักษ์ของที่มีค่ากับวัตถุ โบราณไว้ในปีเดียวกันนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้เสด็จประพาสดอนเจดีย์ สมเด็จกรมพระยาดำรงนุภาพได้ตามเสด็จไปด้วยที่วัดร้างเมืองสุพรรณบุรี เมื่อปีพุทธศักราช 2456 (ในแผ่นทองอักษรขอมโบราณแปลออกดังนี้)
การสร้างขยายถนน และการสร้างถนนข้างวัดพระศรีมหาธาตุ และการขุดท่อระบายน้ำบริเวณหน้าวัด ทำให้ช่างโยธาได้พบพระผงสุพรรณจำนวนมาก ซึ่งบรรจุในหม้อดินเผาโบราณ จากการเปิดเผยของช่างแจ๊ค และปลัดอาวุโส อำเภอ สองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี จากความเป็นจริงอดีตเจ้าอาวาสคนเก่าได้ให้ข้อคิดว่าจะมีพระเจดีย์ใหญ่น้อยล้อมรอบพระปรางค์ (เจดีย์องค์ใหญ่ ) องค์ ใหญ่ ประมาณ 40-50 องค์ ดังนั้น การขุดสร้างถนนด้านข้างวัด จึงเขาเขต เจดีย์ ใหญ่เล็กที่ล้อมรอบองค์พระธาตุอยู่ จึงค้นพระผงสุพรรณแท้ เป็นจำนวนมาก
พระผงสุพรรณที่ค้นพบส่วนใหญ่จะมีลายมือด้านหลังพระใหญ่มวลสาร ใกล้เคียงพระรอดพระคงวัดมหาวัน จากกมวลสารการสร้าพระผงสุพพรณน่าจะเป็นการสร้างยุคแรกยุคที่พระฤษีสร้างเพราะเป็นสูตรการสร้างพระเนื้อดินของพระฤษี ที่มีดินศิลาธิคุณ เป็นหลักในการสร้าง

จากการค้นพบ มีพระสุพรรณสีใบลาแห้งส่วนผสมแก่ดินศิลาธิคุณ การนี้ไปตรงกับเนื้อพระรอดองค์ 14 ล้าน ( สีดอกพิกุล ที่ค้นพบโดยน้อยหมาวัดมหาวัน )

ศัภมัสดุ 1265 สิทธิการิยะ แสดงบอกให้รู้ว่า มีฤๅษี 4 ตน พระฤๅษีพิลาไลย์ เป็นประธานเราจะทำด้วยฤทธิ์ทำเครื่องประดิษฐาน มีสุวรรณ เป็นต้น คือ บรมกษัตริย์พระยาศรีธรรมโศกราช เป็นศรัทธา (หมายถึง พระมหาธรรมราชาลิไทย) ฤๅษีทั้ง 4 ตน จึงพร้อมกันนำว่านทั้งหลาย พระฤๅษีจึงอัญเชิญเทพยดามาช่วยกันทำพิธีทำเป็นพิมพ์พระไว้ สถานหนึ่งแดง สถานหนึ่งดำ ให้เอาว่านเป็นผงปั้นก้อนพิมพ์ด้วยลายนิ้วมือ (สันนิษฐานลายนิ้วมือที่ใช้ในการเบิกพระเนตรที่พระเกศพระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่) ของพระมหาเถรปิยะทัสสะสีศรีสารีบุตร คือเป็นใหญ่เป็นประธานในที่นั้น ได้นำเอาแร่ต่าง ๆ ซัดยาสำเร็จแล้วให้นามว่า แร่สังฆวานรได้หล่อเป็นพิมพ์ต่าง ๆ มีอานุภาพต่างกัน เสกด้วยมนต์คาถาทั้งปวงครบ 3 เดือน (บางตำราบอกว่า 3 พรรษา) แล้วท่านนำไปประดิษฐานไว้ในพระสถูปใหญ่แห่งหนึ่งที่เมืองพรรณชุม
การใช้พระวัดมหาธาตุ สุพรรรณบุรี
ถ้าผู้ใดไปพบเห็น ให้รีบนำไปสักการบูชาเป็นของวิเศษ แม้นจะมีอันตรายประการใดก็ดี ให้อาราธนาพระผูกไว้ที่คอ อาจคุ้มเกรงภยันตรายได้ทั้งปวง ถ้าผู้ใดจะออกรณรงค์สงคราม ประสิทธิประสาทศาสตราวุธทั้งปวงเอาพระสรงน้ำหอมแล้วนั่งบริกรรมพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ 108 จบ พาหุง 13 จบ ใส่ขันสัมฤทธิ์ ตั้งอธิษฐานเอาตามปรารถนาเถิดให้ทาทั้งหน้า แลผม คอ หน้าอก ถ้าใช้เมตตาให้มีสง่าเจรจาให้คนทั้งหลายเชื่อฟังยำเกรงให้เอาดอกไม้ธูปเทียนบูชา ทำพิธีในวันเสาร์ วันพระหรือวันขึ้น 15 ค่ำ น้ำมันหอมเก็บไว้ใช้ได้เสมอไป ทาริมฝีปาก หน้าผาก และผม ถ้าผู้ใดพบพระดังกล่าวมานี้ พระว่าน (สันนิษฐานได้แก่พระผงสุพรรณพิมพ์ต่าง) ก็ดี พระเกศก็ดีพระทำด้วยแร่สังฆวานร (สันนิษฐานว่าได้แก่ พระมเหศวร และพระผงสุพรรณที่ทำด้วยโลหะ) ก็ดี อย่าประมาทเลย อานุภาพพระทั้ง 3 อย่างนี้ดุจกำแพงแก้วกันอันตรายได้ทั้งปวง แล้วให้ว่าคาถา ทเยสันตา จนจบ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ สังฆคุณจนจบ พาหุงไปจนจบ แล้วให้ว่าดังนี้อีก
คะเตสิกเถถะระณังมะกาไชยยังมังคุลัง นะมะ พะทะ แล้วให้ว่า กิริมิถิ กุรุมุธุ เกเลเมเถ กะละมะทะ ประสิทธิ์แลฯ
คาถานี้ให้ว่าทุกวันคืนได้ประเสริฐเพียงจบเดียวก็เพียงพอ ถ้าว่าได้ 13 จบตามตำราจะประเสริฐใหญ่ยิ่ง ให้ระลึกถึงท่านมหาเถรปิยะทัสสะสีศรีสารีบุตร กับทั้ง ฤๅษีพิลาไลย์ ช่วยป้องอันตรายได้ทั้งปวงฯ
จากหนังสือ พระเบญจภาคีชุดที่ 2 ของใหญ่ท่าไม้ได้กล่าวไว้ว่า จารึกที่ 47 (มีด้านเดียว)
ความสำเร็จจงมีฯ พระราชาผู้ยิ่งใหญ่กว่าพระราชาทั้งหลายในอโยธยาทรงพระนามว่าพระจักรพรรดิ โปรดให้สร้างพระสถูปองค์นี้ขึ้นไว้และทรงบรรจุพระบรมธาตุของพระพุทะเจ้าไว้ภายในแต่สถูปของพระองค์ชำรุดทรุดโทรมตามกาลเวลา พระราชโอรสของพระองค์เป็นพระราชาเหนือพระราชาทั้งหลายในพื้นแผ่นดินทั้งมวลและเป็นราชาธิราชผู้ประเสริฐ โปรดให้ปฏิสังขรณ์ให้กลับคืนสภาพเช่นเดิม และทรงบรรจุพระธาตุของพระพุทธเจ้าไว้ภายในพระสถูปนั้น พระองค์เลื่อมใสในพระสถูป จึงบูชาด้วยเครื่องบูชามีทองเป็นต้น และตั้งความปรารถนาว่าด้วยบุญธรรมแห่งข้านี้ ขอให้ข้าพึงได้เป็นพระพุทะเจ้าในอนาคตกาลเทอญ
นักปราชญ์ นักวิชาการและผู้รู้ทั้งหลายได้ให้ข้อสันนิษฐานว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสมพระยา) ทรงสร้างพระสถูป สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระราชโอรส ทรงบุรณะปฏิสังขรณ์ (ความเป็นไปได้ค่อนข้างใกล้เคียงความเป็นจริง เพราะพระองค์เป็นผู้มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนามาก เช่น ได้เสด็จมาทรงสร้างวัดจุฬามณี และทรงเครื่องที่พิษณุโลก)

มวลสารที่ใช้ในการสร้างพระผงสุพรรณ
หลักฐานในลานทอง ชี้ให้ทราบว่า ฤๅษีทั้ง 4 ตนพร้อมกันนำว่านทั้งหลายมา จึงถือว่าพระผงสุพรรณนั้นผสมว่านผสมดินและมวลสารอื่น ๆ ที่เป็นสิริมงคล
ตามวัตถุประสงค์ของผู้สร้าง และประเพณีการสร้างพระที่ปฏิบัติต่อ ๆ กันมาในอดีต มักจะใช้มวลสารที่มีความหมาย และมีสิริมงคลในตัว (จากการสันนิษฐาน มีมวลสารในการสร้างใกล้เคียงกันระยะเวลาในการสร้างใกล้เคียงกันกับพระกำแพงเพชร) พอจะแยกออกตามมวลสารที่พบในองค์พระผงสุพรรณ ดังต่อไปนี้
1. พระธาตุเหล็กไหล มีความหมายทางความคงกระพันชาตรี
2. โพรงเหล็กไหล (แร่ดอกมะขาม) มีความหมายทางความคงกระพันชาตรีและคลาดแคล้ว
3. เหล็กน้ำพี้ มีความหมายคือมีความแข็งแกร่ง มั่นคงเหมือนเหล็กกล้า
4. เกศรดอกไม้ 108 มีความหมายทางเมตตามหานิยมโชคลาภ
5. ว่าน 108 มีความหมายทางคลาดแคล้ว และคงกระพันชาตรี
6. น้ำทิพย์จากแหล่งต่าง ๆ มีความหมายในเรื่อง แก้อาถรรพ์และคุณไสย
7. ดินมงคล มีความหมายทางความมีสิริมงคล
8. พระธาตุต่าง ๆ มีความหมายทางความมีสิริมงคล
9. ผงถ่านใบลาน มีความหมายทางความคงกระพันชาตรี

พระพุทธลักษณะของพระผงสุพรรณ
พระผงสุพรรณเป็นพระนั่งปางมารวิชัยอยู่บนฐานชั้นเดียว ศิลปะสมัยอู่ทอง องค์พระทรง 3 เหลี่ยม 4 เหลี่ยม 5 เหลี่ยม ด้านหลังพระผงสุพรรณจะมีลายนิ้วมือปรากฏเป็นลายก้นหอยบ้าง ลายปล้องอ้อยบ้าง ลายมือสลับกันบ้าง (เนื่องจากรอยจับเนื้อเจิมเบิกพระเนตร ที่พระเกศพระผงสุพรรณ) ความหนาบางขององค์พระไม่แน่นอน ถ้าเป็นพระแท้มีอายุการสร้าง รอยแตกตัดจะยุบตัวลงไปซึ่งง่ายต่อการพิจารณาเป็นอย่างดี ความหนาขององค์พระนั้นไม่แน่นอน มักจะพบว่าการตัดด้านล่างนั้นหนากว่าด้านบน ลักษณะองค์พระจะมีลักษณะผอม บางคนให้ข้อคิดไว้ว่าเป็นพระพุทธเจ้าปางบำเพ็ญทุกรกิริยา

ลายเสี้ยนไม้บนองค์พระผงสุพรรณ
ลายเสี้ยนไม้บนองค์พระผงสุพรรณ ในการออกแบบแม่พิมพ์พระสมัยโบราณนิยมทำด้วยไม้มงคล ข้อมูลเปรียบเทียบจากพระรอดพิมพ์ใหญ่ ยุคแรก พระนางพญาพิษณุโลก พระสมเด็จวัดระฆังบางพิมพ์ ฉะนั้นรอยเสี้ยนไม้บนองค์พระผงสุพรรณก็คือรอยเสี้ยนไม้ของจริงที่ทำมาจากพระต้นแบบ ส่วนของปลอมยังทำไม่ได้

สีของพระผงสุพรรณ
สีของพระผงสุพรรณมีหลากหลายสีขึ้นอยู่กับอุณหภูมิในการเผา ถ้าใกล้ไฟพระผงสุพรรณจะมีสีเขียว เนื้อแก่ง ถ้าอยู่ไกลไฟเนื้อพระผงสุพรรณจะมีสีน้ำตาล หรือสีแดง จะเป็นลักษณะเนื้อดินดิบ เนื่องจากการเผาหรืออบพระผงสุพรรณ จะค่อย ๆ เร่งความร้อนขึ้นไปทีละน้อย ๆ ทั้งนี้จุดประสงค์ของผู้สร้าง ต้องการรักษาเนื้อว่านและเกสร ให้มีความแตกต่างไปจากการเผาพระรอดลำพูนและพระนางพญาพิษณุโลกซึ่งเผาด้วยไฟร้อนสูง และรีบเร่งในการสร้างความคิดเห็นนี้ ไปตางกับความคิดของคุณใหญ่ท่าไม้ ซึ่งได้ให้ความคิดเห็นไว้ในหนังสือเบญจภาคีชุดที่ 2 ว่า พระผงสุพรรณเป็นพระเนื้อดินผสมผงไม่ได้เผาไฟ แต่เดี๋ยวนี้เชื่อกันแล้วว่าเป็นพระเนื้อดินเผาผสมว่าน

1. สีเขียว
2. สีตับเป็ด (สีน้ำตาลช็อกโกแลต เอกลักษณ์ของพระผงสุพรรณ เป็นพระที่บรรจุอยู่ใน
3. ใบลานแห้ง
4. สีอิฐ
5. สีช๊อคกอแลต
6. สีดำ
7. สีเขียวก้านมะลิ
8. สีเม็ดมะขาม
ไหหรือ ภาชนะ) คนโบราณ เรียกว่า รอย อาบน้ำว่าน จะมีลักษณะคล้ายยางไม้หรือน้ำเกลี้ยง คนทั่วไปเรียกว่า น้ำว่าน สันนิษฐานว่า พระที่บรรจุในเจดีย์ได้รับความชื้น ความร้อนตามฤดูกาลหลาย ๆ ปี ทำให้เนื้อว่านที่อยู่ในองค์พระผงสุพรรณซึมออกมาหลังจากได้รับความร้อน พอกลางคืนอากาศเย็นลงน้ำว่านนี้จะแห้งจับที่ผิวพระ แต่นักวิชาการบางท่านให้ความคิดเห็นว่า เกิดจากการดูดซึม (Osmosis) ราดำ และทำปฏิกิริยาทางเคมีกับเนื้อว่านในองค์พระ
รอยอาบน้ำว่านนี้มักจะพบในพระเนื้อดิน เช่น พระกำแพง พระนางพญา
9. สีขมิ้น
10. สีหัวไหลแห้ง
11. สีน้ำตาลไหม้
12. สีก้านมะลิ
13. สีดอกจำปี
14. สีน้ำตาลแดง
15. สีดำ

สรุป จากหลักฐานในลานทอง และโบราณวัตถุที่พบ พระผงสุพรรณสร้างโดยฤๅษี ในสมัยพระธรรมราชาลิไทย หรือพระบรมไตรโลกนาถเป็นพระเนื้อดินเผาผสมว่านเกสร และแร่พุทธลักษณะ พระนั่ง ปางมารวิชัยในรูป 3 เหลี่ยม 4 เหลี่ยม 5 เหลี่ยม พุทธศิลป์ ศิลปะสมัยอู่ทองความกว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร ความสูง 2.5 เซนติเมตร โดยเฉลี่ย
พิมพ์พระผงสุพรรณ แบ่งออกเป็น 3 พิมพ์ทรง ได้แก่ พิมพ์หน้าแก่ พิมพ์หน้าหนุ่ม พิมพ์หน้ากลาง (แต่ละพิมพ์ทรงก็แยกไปอีกหลายบล็อก) ที่น่าสังเกตในองค์พระผงสุพรรณมักตะพบราดำ และราขาว หรือสนิมไข บางคน เรียกว่า ดินนวลที่ทำปลอมยังไม่ได้

ความคิดเห็น :
1
อ้างอิง

นาย เธียรพงศ์ ปลูกงาม
สวยมากๆๆๆครับผม
 
นาย เธียรพงศ์ ปลูกงาม [192.168.55.xxx] เมื่อ 2/11/2014 19:25
2
อ้างอิง

Sue
 
Sue [68.202.141.xxx] เมื่อ 9/12/2019 07:19
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :
 


ศูนย์รวมพระเครื่อง และ ความรู้พระเครื่อง
อันดับหนึ่งของภาคเหนือตอนล่างภาคกลางตอนบน