สินค้า
บทความ
ประวัติคณาจารย์
ประวัติหลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม
ประวัติหลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
ประวัติพระพุฒาจารย์ เอนกสถาน ปรีชาฯ (ท่านเจ้ามา)
หลวงพ่อจันทร์ โฆสโก วัดหาดสองแคว
หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้
หลวงพ่อไซร้ ติสสฺโร วัดช่องลม
หลวงปู่เขียน วัดสำนักขุนเณร
หลวงพ่อสว่าง วัดท่าพุทรา
หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่
หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน
หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์
หลวงพ่อทบ วัดชนแดน
หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง
หลวงปู่พิมพา วัดหนองตางู
ประวัติพระกรุ
พระผงสุพรรณ จ.สุพรรณบุรี
พระรอด กรุมหาวัน
พระซุ้มกอ (พระกำแพงซุ้มกอ) จ.กำแพงเพชร
พระหลวงพ่อเงินกรุวัดขวาง
พระนางพญาพิษณุโลก
พระนางพญากรุเจดีย์กลางน้ำ
ประวัติพระเครื่อง/เครื่องราง/มีดหมอ
ประวัติพระสมเด็จวัดเกศไชโย
ประวัติพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม
พระชัยวัฒน์ท่านเจ้ามา
พระสมเด็จวัดะฆัง
ประวัติการสร้างเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก รุ่นแรก ปีพ.ศ.2513
ขั้นตอนการสร้างตะกรุด หลวงพ่อทบ
การสร้างตะกรุดลูกปืน
ประวัติการลงสูตรลบผงหลวงพ่อทบ
ประวัติตะกรุดหลวงพ่อทบ วัดชนแดน
ประวัติมีดหมอหลวงพ่อเดิม
รู้ทันพระแท้
พระสมเด็จวัดเกศไชโยพิมพ์เจ็ดชั้นอกตลอด
'พระสมเด็จวัดเกศไชโยพิมพ์ ๖ ชั้นอกตัน
พระสมเด็จเกศไชโยพิมพ์ ๗ ชั้น
พระสมเด็จอรหังพิมพ์เล็กมีประภามณฑล
พระสมเด็จอรหังพิมพ์ฐานคู่
'พระสมเด็จอรหังพิมพ์ใหญ่ ฐานสามชั้น
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่พระอุระเล็ก (อกเล็ก)
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่ พระกรโค้ง' (แขนโค้ง)
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑเล็ก
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์สังฆาฏิไม่มีพระกรรณ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์สังฆาฏิ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ฐานแซมพระอุระร่อง
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ฐานแซม
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์เส้นด้ายฐานแคบ
พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้ายอกวี
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์เส้นด้ายแขนกลม
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์เส้นด้าย
พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่พระพักตร์เล็ก
พระรอดพิมพ์ต้อวัดมหาวัน
พระรอดพิมพ์กลางวัดมหาวัน
พระรอดพิมพ์เครื่องราชฯพิมพ์ที่ 2
พระรอดพิมพ์เครื่องราชพิมพ์ที่ 1
ตำหนิ พระซุ้มกอ(พิมพ์ใหญ่มีกนก) จ.กำแพงเพชร
พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง
ชั่วโมงเซียน - เหรียญจบที่...ขอบ
การดูพื้นเหนรยญพระปั้ม
หลักการดูพระทั่วๆไป
การดูมีดหลวงพ่อเดิม
บทความทั่วไป
พระรอดพิมพ์ตื้นวัดมหาวัน
เรื่องใกล้ตัวแมลงกินพระเนื้อว่าน
เล่นพระยังไง ให้เป็นซะที
ประมูลพระเครื่อง
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   
สถิติ
เปิดเมื่อ5/10/2011
อัพเดท27/02/2013
ผู้เข้าชม862786
แสดงหน้า1054032




หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์

อ่าน 3126 | ตอบ 1
พระครูนิวาสธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเดิม พุทฺธสโร) วัดหนองโพ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ต้นตระกูลของหลวงพ่อเดิม เป็นชาวนาตั้งรกรากมายาวนานอยู่ในหมู่บ้านหนองโพ บิดาของท่านชื่อ นายเนียม ภู่มณี เกิดที่บ้านเนินมะกอก (อยู่เลยหมู่บ้านหนองโพไปประมาณสองสถานีรถไฟ) ต่อมาได้แต่งงานอยู่กินกับ นางภู่ โยมมารดา ซึ่งเป็นชาวบ้านหนองโพและย้ายมาประกอบการอาชีพอยู่ที่บ้านโพ สมัยนั้น หลวงตาชมเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองโพ หลวงพ่อเดิม เกิดเมื่อวันพุธ แรม 11 ค่ำ เดือน 3 ปีวอก จ.ศ. 1222 ตรงกับวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2403 โยมบิดาและโยมมารดาตั้งชื่อให้ว่า “เดิม” อาจหมายถึง “ประเดิม” ก็ได้ เนื่องจากท่านเป็นบุตรชายคนโตของครอบครัว แต่ชาวบ้านถือว่าชื่อยาวเกินไปจึงหดให้สั้นลงเหลือแค่ เดิม เท่านั้น หลวงพ่อเดิม มีพี่น้องร่วมท้องดังนี้ 1. นางทองคำ คงหาญ 2. นางพู ทองหนุน 3. นายดวน ภู่มณี 4. นางพันธ์ จันทร์เจริญ 5. นางเปรื่อง หมื่นนราเดชจั่น เนื่องจาก หลวงพ่อเดิม เกิดในตระกูลชาวนาน ทำให้ตอนเด็ก ๆ ท่านได้รับการพาเข้าไปศึกษาเล่าเรียนที่วัดหนองโพ ซึ่งการศึกษาในสมัยนั้นใช้กระดานชนวน ใช้ดินสอพองเขียนตัวหนังสือ การเรียน เขียน อ่านมักจะทำเวลากลางวันเป็นส่วนใหญ่ โดยมีพระบ้าง ฆราวาสบ้าง มาช่วยกันสอนให้หัดเขียนอ่านจนคล่องแคล่ว ตกเย็นถึงกลางคืนหลังจากกลับบ้านไปกินข้าวกินปลา พระทำวัตรเย็นเสร็จก็พากันมาวัดต่อการเรียนกับพระที่วัด สิ่งที่สอนกลางคืนก็คือ การสวดมนต์บทต่าง ๆ อันเป็นพระพุทธมนต์ เช่น พระอิติปิโสถวายพรพระ และพระคาถาต่างๆ วิธีการเรียนก็คือเข้าไปหาพระตามกุฎิแล้วขอเรียน โดยท่านจะสอนให้วันละท่อนสองท่อนแล้วแต่สติปัญญาของเด็กแต่ละคน ใครหน่วนก้านดีก็ต่อมากหน่อย ใครปัญญาทึบก็สอนน้อยหน่อย ท่องต่อหน้าท่านแล้วก็กลับบ้าน วันรุ่งขึ้นก็มาใหม่ สิ่ง ที่ทุกคนได้รับคือพระอบรมขัดเกลาจิตใจให้สะอาด ไม่อวดอ้างข่มเหงใคร ให้รู้จักศีลธรรมอันดีงาม บางครั้งท่านก็เล่านิทานธรรมะให้ฟัง เช่น เรื่องในนิทานชาดกต่าง ๆ สนุกสนาน จนลืมนอนกันก็มี ชีวิตวัยรุ่นก่อนเข้าสู่ร่มกาสาวพัตร 1. ท่านชอบเลี้ยงสัตว์ ท่านชำนาญในเรื่องนกเขามาก เรียกว่าดูลักษณะและฟังเสียงได้คล่อง เข้าใจว่าเรียนมาจากนายพรานดักนกในหมู่บ้าน ท่านชอบดักนก และต่อนกเขา มีนกต่อเสียงดีหลายตัว ทำการต่อนกเขามาเลี้ยง มีบางครั้งท่านเห็นใครมีนกดีก็เอาของไปแลกกับเขา อุปนิสัยรักสัตว์ทุกชนิดมาแต่วัยหนุ่ม เมื่อบวชแล้วก็รักสัตว์และเลี้ยงสัตว์ไว้ใช้งานไปแลกนกเขา เรื่องรักสัตว์นี้ มีเรื่องเล่าอยู่ว่าครั้งหนึ่งโยมบิดาได้ซื้อตุ้มหูระย้าให้ข้างหนึ่งให้ใส่หู ท่านได้นำตุ้มหูไปแลกนกเขา ความรู้ไปถึงหูโยมบิดามารดา จึงถูกว่าบ้าง ท่านก็ลงทุนไปเหลาเพลาเกวียนขายเพื่อรวบรวมเงินมาคืนให้โยมบิดามารดาจบครบ ไม่ยอมเสียนกเขาให้ใคร 2. ชอบโพกผ้าขาวม้าบนศรีษะ หลวงพ่อเดิมเมื่อวัยหนุ่มจะไปไหนมาไหน มักจะเอาผ้าขาวม้าโพกศรีษะ โบราณว่า คนผมหยิก หน้ากร้อ คอสั้น ฟันขาว ไม่มีใครคบ หลวงพ่อมีผมศรีษะหยิก แต่ท่านมีผิวกายขาว สูงโปร่ง หน้ายาว ศีรษะนูนผิดจากตำรา แต่เพื่อความสบายใจจึงเอาผ้าโพกเพื่อไม่ให้ถูกล้อเลียน 3. ไม่ยึดติดในโลกีย์ หนุ่มสาวยุคนั้นมักจะไปร่วมงานต่าง ๆ เช่น ช่วยบ้านสาวปั่นด้าย ทอผ้า ช่วยทำนา ช่วยทำงานรอบกองไฟในเวลากลางคืน เพื่อหมายตาสาว ๆ ไว้เพื่อเป็นคู่หมั้นคู่หมาย เรียกว่า มีโอกาสก็เกี้ยวพาราศีกันตามทำนอง อยู่ในศีลธรรมอันดี แต่หลวงพ่อเดิมไม่ชอบ ในระหว่างที่หนุ่มสาวเขานั่งคุยกัน ช่วยกันทำงาน หลวงพ่อจะทำบ้างก็คือ มักจะแอบเข้าไปใกล้ ๆ แล้วเอาก้อนดินบ้าง คันยิงกระสุนบ้าง หรือท่อนไม้บ้าง มาปาใส่กองไฟ เพื่อให้เขาตกใจเอะอะกันวุ่นวาย ท่านก็ชอบใจแอบไปหัวเราะคนเดียวใคร ๆ เขาก็รู้ว่าเป็นฝีมือท่านเขาก็ให้อภัย เพราะรู้ว่าท่านชอบสนุกและไม่มีเจตนาจะทำให้ใครโกรธจริงจัง 4. เก็บเกี่ยวประสบการณ์จากวัยรุ่น เมื่อท่านเป็นวัยรุ่น ไม่ได้เล่าเรียนมาก่อน แต่หากเรียนทีหลัง เมื่อบวชแล้ว อาศัยศึกษาจากประสบการณ์ทั้งด้านช่าง การเลี้ยงสัตว์ การทำของต่าง ๆ สรุปหลวงพ่อเดิมนิสัยแปลกกว่าคนธรรมดาทั่วไป ไม่ติดหรือหลงมัวเมาในกิเลสความรักของหนุ่มสาวในวัยอันสมควร ไม่ยินดียินร้ายในโลกีย์ จึงเป็นสาเหตุให้ท่านบวชตลอดชีวิต โดยไม่ได้เคยมีความรักมาก่อนเลยในชีวิต เรียกว่าบริสุทธิ์ผุดผ่องมาก่อนจะเข้าอุปสมบท คาดว่าเป็นเพราะบุญเก่าเกื้อหนุนให้ท่านเดินตามรอยพระบาทสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจวบจนสิ้นอายุขัย บั้นปลายชีวิตของหลวงพ่อเดิม หลวง พ่อเดิม เป็นเสมือนต้นโพธิ์และต้นไทรที่แผ่กิ่งก้านสาขาออกไป เป็นที่พึ่งพาอาศัยของประชาชนไม่เลือกชนชั้น เนื่องจากหลวงพ่อมีอายุยืนยาวมาก บรรดาศิษยานุศิษย์รุ่นผู้ใหญ่ซึ่งเคยติดสอยห้อยตามและร่วมงานร่วมการกันมา ต่างล้มหายตายจากไปก่อนหลวงพ่อเกือบหมด ครั้น ต่อมาราว 10 กว่าปี ก่อนหลวงพ่อมรณภาพ ร่างกายของหลวงพ่อ ซึ่งใช้กรากกรำทำสาธารณประโยชน์มาช้านานหลายสิบปี ก็ทรุดโทรมจนแข้งขาเดินไม่ได้ จะลุกนั่งก็ต้องมีคนพยุง จะเดินทางไปไหนก็ต้องขึ้นคานหาม หรือขึ้นเกวียนไป แม้ กระนั้นก็ยังมีผู้เลื่อมใสศรัทธามานิมนต์หลวงพ่อไปในงานการบุญกุศลบ่อย ๆ เพราะหลวงพ่อมีศิษยานุศิษย์มากทั่วบ้านทั่วเมือง หลวงพ่อปรารภว่าถ้าท่านแตกดับลง บรรดาหลานเหลนและศิษยานุศิษย์ในตำบลหนองโพและหมู่บ้านใกล้เคียงจะได้รับความ ลำบาก หลวงพ่อจึงได้ปรารภถึงความตายให้เห็นประจักษ์ สิ่งใดควรจัดทำขึ้นไว้ได้ก่อนท่านแตกดับ หลวงพ่อก็ให้จัดทำเตรียมไว้ เช่น สร้างหีบบรรจุศพของท่านเองและให้ก่อสร้างตัวเมรุที่เผาศพของท่านไว้ด้วย แต่บังเอิญตัวเมรุทำล่าช้ามาก ไม่ทันเสร็จหลวงพ่อก็มรณภาพก่อน สิ้นสูญเทพเจ้าเมืองปากน้ำโพ ว่า กันว่าในช่วงบั้นปลายชีวิตของหลวงพ่อเดิม แข้งขาของหลวงพ่อทานน้ำหนักตัวไม่ได้ หูก็ตึงไปบ้าง แต่นัยน์ตายังแจ่มใส มือก็ยังลงเลขยันต์ได้ปกติ ปากก็ยังเสกเป่าและเจรจาปราศรัยได้ดี โดยมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ตลอดมา หลังที่หลวงพ่อกลับจากเป็นประธานในงานก่อสร้างโบสถ์ในวัดอินทาราม (วัด ใน) ตำบลพยุหะ อำเภอพยุหะดีรี จังหวัดนครสวรรค์ และกลับมาอยู่ในวัดหนองโพ หลวงพ่อก็เริ่มอาพาธ ตั้งแต่วันอังคาร ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 6 (ตรงกับวันที่ 15 พฤษภาคม) พ.ศ. 2494 อาการทรุดลงเป็นลำดับ จนถึงวันอังคาร แรม 2 ค่ำ เดือนเดียวกัน วันที่ 22 พฤษภาคม อาการท่านทรุดหนักมากขึ้น ศิษยานุศิษย์และหลานเหลนมาห้อมล้อมและเฝ้าอาการเนืองแน่น ครั้นตกบ่ายวันนั้น หลวงพ่อก็สอบถามบ่อย ๆ ว่า “เวลาเท่าใดแล้ว” ศิษย์ผู้พยาบาลก็กราบเรียนตอบไปๆ จนถึงราว 17.00 น. หลวงพ่อจึงถามว่า “น้ำในสระมีพอกินกันหรือเปล่า” เพราะบ้านหนองโพมักกันดารน้ำ ศิษย์ก็เรียนว่า “ถ้าฝนไม่ตกภายใน 6-7 วันนี้ ก็น่ากลัวจะถึงกับอัตคัดน้ำเป็นแน่” หลวง พ่อก็นิ่งหลับตาไม่ถามอะไรอีก เพียงไม่นานกลุ่มเมฆก็ตั้งเค้าและพายุฝนก็ตกห่าใหญ่ น้ำฝนไหลลงสระราวครึ่งค่อนสระ พอฝนขาดเม็ด หลวงพ่อก็สิ้นลมหายใจมรณภาพเมื่อเวลา 17.45 น. สิริอายุได้ 92 โดยปี อุปสมบท 71 พรรษา ศิษยานุศิษย์ ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ได้ช่วยกันสรงน้ำศพหลวงพ่อ บรรจุศพ ตั้งบำเพ็ญกุศล ณ วัดหนองโพ ตั้งแต่วันรุ่งขึ้น (เว้นที่ 23 พฤษภาคม) ติดต่อมาครบ 7 วัน เมื่อวันที่ 29พฤษภาคม แล้วก็ทำติดต่อมาอีกและทำบุญครบ 50 วัน เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ทำบุญครบ 100 วัน เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2494 จึงเก็บศพหลวงพ่อรอเวลาพระราชทานเพลิงอย่างสมเกียรติ หลวงพ่อเดิม ได้รับการขนานนามว่า “เทพเจ้าแห่งเมืองสี่แคว” หรือปากน้ำโพ จ.นครสวรรค์ ด้วยความเปี่ยมล้นด้วยเมตตา อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาสาธารณชนจนได้รับการเคานับถือ จากลูกศิษย์และผู้ศรัทธาทั่วประเทศไทย วัตถุมงคลของหลวงพ่อเดิม ท่านสร้างไว้มากมายหลายรุ่นที่ได้รับความนิยมมาก ๆ คือ "มีดหมอเทพศาสตรา" ซึ่ง ทำแบบมีดควาญช้าง มีดหมอแบบพกพาและแบบปากกา สร้างชื่อเสียงจากประสบการณ์จนโด่งดังทั่วประเทศ ปัจจุบันหายากและสนนราคาเช่าบูชาสูงมาก นอกจากนี้ยังมีเหรียญ รูปหล่อ พระงาแกะ นางกวักงาแกะ สิงห์งาแกะ ตะกรุด ผ้ายันต์ และผ้ารอยเท้า
ความคิดเห็น :
1
อ้างอิง

Sue
 
Sue [68.202.141.xxx] เมื่อ 29/02/2020 10:53
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :
 


ศูนย์รวมพระเครื่อง และ ความรู้พระเครื่อง
อันดับหนึ่งของภาคเหนือตอนล่างภาคกลางตอนบน