สินค้า
บทความ
ประวัติคณาจารย์
ประวัติหลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม
ประวัติหลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
ประวัติพระพุฒาจารย์ เอนกสถาน ปรีชาฯ (ท่านเจ้ามา)
หลวงพ่อจันทร์ โฆสโก วัดหาดสองแคว
หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้
หลวงพ่อไซร้ ติสสฺโร วัดช่องลม
หลวงปู่เขียน วัดสำนักขุนเณร
หลวงพ่อสว่าง วัดท่าพุทรา
หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่
หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน
หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์
หลวงพ่อทบ วัดชนแดน
หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง
หลวงปู่พิมพา วัดหนองตางู
ประวัติพระกรุ
พระผงสุพรรณ จ.สุพรรณบุรี
พระรอด กรุมหาวัน
พระซุ้มกอ (พระกำแพงซุ้มกอ) จ.กำแพงเพชร
พระหลวงพ่อเงินกรุวัดขวาง
พระนางพญาพิษณุโลก
พระนางพญากรุเจดีย์กลางน้ำ
ประวัติพระเครื่อง/เครื่องราง/มีดหมอ
ประวัติพระสมเด็จวัดเกศไชโย
ประวัติพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม
พระชัยวัฒน์ท่านเจ้ามา
พระสมเด็จวัดะฆัง
ประวัติการสร้างเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก รุ่นแรก ปีพ.ศ.2513
ขั้นตอนการสร้างตะกรุด หลวงพ่อทบ
การสร้างตะกรุดลูกปืน
ประวัติการลงสูตรลบผงหลวงพ่อทบ
ประวัติตะกรุดหลวงพ่อทบ วัดชนแดน
ประวัติมีดหมอหลวงพ่อเดิม
รู้ทันพระแท้
พระสมเด็จวัดเกศไชโยพิมพ์เจ็ดชั้นอกตลอด
'พระสมเด็จวัดเกศไชโยพิมพ์ ๖ ชั้นอกตัน
พระสมเด็จเกศไชโยพิมพ์ ๗ ชั้น
พระสมเด็จอรหังพิมพ์เล็กมีประภามณฑล
พระสมเด็จอรหังพิมพ์ฐานคู่
'พระสมเด็จอรหังพิมพ์ใหญ่ ฐานสามชั้น
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่พระอุระเล็ก (อกเล็ก)
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่ พระกรโค้ง' (แขนโค้ง)
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑเล็ก
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์สังฆาฏิไม่มีพระกรรณ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์สังฆาฏิ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ฐานแซมพระอุระร่อง
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ฐานแซม
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์เส้นด้ายฐานแคบ
พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้ายอกวี
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์เส้นด้ายแขนกลม
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์เส้นด้าย
พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่พระพักตร์เล็ก
พระรอดพิมพ์ต้อวัดมหาวัน
พระรอดพิมพ์กลางวัดมหาวัน
พระรอดพิมพ์เครื่องราชฯพิมพ์ที่ 2
พระรอดพิมพ์เครื่องราชพิมพ์ที่ 1
ตำหนิ พระซุ้มกอ(พิมพ์ใหญ่มีกนก) จ.กำแพงเพชร
พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง
ชั่วโมงเซียน - เหรียญจบที่...ขอบ
การดูพื้นเหนรยญพระปั้ม
หลักการดูพระทั่วๆไป
การดูมีดหลวงพ่อเดิม
บทความทั่วไป
พระรอดพิมพ์ตื้นวัดมหาวัน
เรื่องใกล้ตัวแมลงกินพระเนื้อว่าน
เล่นพระยังไง ให้เป็นซะที
ประมูลพระเครื่อง
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   
สถิติ
เปิดเมื่อ5/10/2011
อัพเดท27/02/2013
ผู้เข้าชม862750
แสดงหน้า1053993




พระสมเด็จอรหังพิมพ์ฐานคู่

อ่าน 5859 | ตอบ 0
สำหรับ “พระสมเด็จอรหังพิมพ์ฐานคู่” เป็นอีกพิมพ์ของพระสมเด็จ “เนื้อผงวิเศษ” ที่รังสรรค์ขึ้นโดย “สมเด็จพระสังฆราช” (สุก ไก่เถื่อน) แต่ความนิยมเป็นรอง “พิมพ์ฐานสามชั้น” และมีสองสีเฉกเช่น “พิมพ์ฐานสามชั้น” ทุกประการคือ “ขาว” และ “แดง” ด้านเอกลักษณ์เฉพาะตัวของ “พิมพ์ฐานคู่” นี้ก็คือเป็นพิมพ์ที่มีฐานเป็นแบบ “คู่” นักสะสมจึงบัญญัติชื่อเรียกว่า “พิมพ์ฐานคู่” ไปตามองค์พระที่มี “ฐานคู่” อีกทั้งเป็นพระสมเด็จเนื้อผงที่ไม่มีการ “ตัดขอบ” อย่างเช่น “พระสมเด็จวัดระฆัง” และ “พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม” อีกด้วย
   
และจากที่พระสมเด็จอรหัง “พิมพ์ฐานสามชั้น” และ “พิมพ์ฐานคู่” นี้มีสองสีดังกล่าวข้างต้นดังนั้นการชี้จุดสังเกตในที่นี้จึงขอนำเฉพาะ “สีขาว” มาทำการชี้จุดสังเกตโดยงดการชี้จุดสังเกต “สีแดง” เนื่องจากจะเป็นการซ้ำซากซ้ำซ้อนทั้งนี้เพราะเอกลักษณ์ของ พระทั้งสองพิมพ์และสองสีนี้เหมือนกันทุกประการนั่นเอง
   
ปัจจุบัน “พระสมเด็จอรหัง” ไม่ว่าพิมพ์ไหนก็พบเห็นได้ยากแล้วเนื่องจาก (ความเข้าใจของผู้เขียน) สร้างไว้น้อยเพราะสมัยที่มีการสร้างขึ้นนั้น วงการการสะสมพระเครื่องยังไม่แพร่หลาย “สมเด็จพระสังฆราช” (สุก ไก่เถื่อน) จึงสร้างขึ้นเพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา ตามคติความเชื่อของผู้คนสมัยโบราณประกอบกับผู้ที่มีครอบครอง ได้ทำสูญหายไปบ้างหรือหากมีการนำพกพาติดตัวแล้ว องค์พระแตกหักไปบ้างด้วยเหตุนี้จึงทำให้องค์พระ (เฉพาะที่แท้และสมบูรณ์) เหลือน้อยทำให้องค์พระไม่มีการหมุนเวียน และซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนในตลาดนักสะสมรุ่นใหม่จึงแทบไม่รู้จัก ความนิยมจึงเป็นรองพระสมเด็จที่รังสรรค์ขึ้นโดย “สมเด็จพระพุฒาจารย์” (โต พรหมรังสี) ไปโดยปริยายส่วนจุดสังเกตของ “พิมพ์ฐานคู่” มีดังนี้
   
๑.“ขอบข้างทั้งสี่ด้าน” มีเนื้อนูนหนาเป็นแนวตรงสวยงามได้สัดส่วนและขอบข้างช่วง “มุมองค์พระ” มีลักษณะมน (ไม่เป็นเหลี่ยม) ทั้งสี่มุมส่วน “เส้นซุ้มครอบแก้ว” แม้จะเส้นเล็กกว่า “พระสมเด็จวัดระฆัง” และ “พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม” แต่แนวเส้นที่วาดโค้งด้านบนองค์พระมีสัดส่วนที่สวยงามกว่า
     
๒. “พระเกศ” (ผม) ลักษณะเป็นเส้นเรียวเล็กบางแต่มีความคมชัด “พระพักตร์” (หน้า) เป็นรูปทรงกลมมนนูนหนาเฉกเช่นพิมพ์ฐานสามชั้น “พระกรรณ” (หู) เป็นเส้นตรงแต่เรียวเล็กคมชัดและด้านขวาชิดพระพักตร์มากกว่าด้านซ้าย
         
 ๓. “พระอังสา” (ไหล่) เป็นแนวตรงลักษณะผึ่งผาย “พระอุระ” (อก) ลักษณะกว้างนูนหนาผึ่งผายในรูปทรงกระบอกและไม่ปรากฏเส้นสังฆาฏิ
           
๔. “พระพาหา” (แขน)ทั้งสองข้างลักษณะเป็นเส้นนูนเรียวยาวทิ้งดิ่งแนวตรง แล้วไปประสานกันเป็นรูปตัวยูหรือเกือกม้าส่วน “พระเพลา” (ตัก) ลักษณะคล้ายรูปเรือเพราะปลาย “พระชานุ” (เข่า) ทั้งสองข้างตัดเฉียงทแยงขึ้น
   
๕.“ฐาน” ทั้งสามชั้นเป็น “เส้นคู่” โดยฐานชั้นล่างของคู่บนสุดมีเส้นเรียวเล็กเชื่อมต่อถึงฐานชั้นแรกของฐานชั้นที่สองที่ยาวจรดเส้นซุ้ม เช่นกันกับฐานชั้นล่างของฐานชั้นที่สองก็มีเส้นเรียวเล็กเชื่อมต่อถึงฐานชั้นแรกของฐานชั้นที่สามที่ยาวจรดเส้นซุ้มเช่นกัน.

พุทธธัสสะ
ที่มา dailynews
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :
 


ศูนย์รวมพระเครื่อง และ ความรู้พระเครื่อง
อันดับหนึ่งของภาคเหนือตอนล่างภาคกลางตอนบน