สินค้า
บทความ
ประวัติคณาจารย์
ประวัติหลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม
ประวัติหลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
ประวัติพระพุฒาจารย์ เอนกสถาน ปรีชาฯ (ท่านเจ้ามา)
หลวงพ่อจันทร์ โฆสโก วัดหาดสองแคว
หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้
หลวงพ่อไซร้ ติสสฺโร วัดช่องลม
หลวงปู่เขียน วัดสำนักขุนเณร
หลวงพ่อสว่าง วัดท่าพุทรา
หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่
หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน
หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์
หลวงพ่อทบ วัดชนแดน
หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง
หลวงปู่พิมพา วัดหนองตางู
ประวัติพระกรุ
พระผงสุพรรณ จ.สุพรรณบุรี
พระรอด กรุมหาวัน
พระซุ้มกอ (พระกำแพงซุ้มกอ) จ.กำแพงเพชร
พระหลวงพ่อเงินกรุวัดขวาง
พระนางพญาพิษณุโลก
พระนางพญากรุเจดีย์กลางน้ำ
ประวัติพระเครื่อง/เครื่องราง/มีดหมอ
ประวัติพระสมเด็จวัดเกศไชโย
ประวัติพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม
พระชัยวัฒน์ท่านเจ้ามา
พระสมเด็จวัดะฆัง
ประวัติการสร้างเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก รุ่นแรก ปีพ.ศ.2513
ขั้นตอนการสร้างตะกรุด หลวงพ่อทบ
การสร้างตะกรุดลูกปืน
ประวัติการลงสูตรลบผงหลวงพ่อทบ
ประวัติตะกรุดหลวงพ่อทบ วัดชนแดน
ประวัติมีดหมอหลวงพ่อเดิม
รู้ทันพระแท้
พระสมเด็จวัดเกศไชโยพิมพ์เจ็ดชั้นอกตลอด
'พระสมเด็จวัดเกศไชโยพิมพ์ ๖ ชั้นอกตัน
พระสมเด็จเกศไชโยพิมพ์ ๗ ชั้น
พระสมเด็จอรหังพิมพ์เล็กมีประภามณฑล
พระสมเด็จอรหังพิมพ์ฐานคู่
'พระสมเด็จอรหังพิมพ์ใหญ่ ฐานสามชั้น
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่พระอุระเล็ก (อกเล็ก)
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่ พระกรโค้ง' (แขนโค้ง)
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑเล็ก
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์สังฆาฏิไม่มีพระกรรณ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์สังฆาฏิ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ฐานแซมพระอุระร่อง
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ฐานแซม
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์เส้นด้ายฐานแคบ
พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้ายอกวี
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์เส้นด้ายแขนกลม
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์เส้นด้าย
พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่พระพักตร์เล็ก
พระรอดพิมพ์ต้อวัดมหาวัน
พระรอดพิมพ์กลางวัดมหาวัน
พระรอดพิมพ์เครื่องราชฯพิมพ์ที่ 2
พระรอดพิมพ์เครื่องราชพิมพ์ที่ 1
ตำหนิ พระซุ้มกอ(พิมพ์ใหญ่มีกนก) จ.กำแพงเพชร
พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง
ชั่วโมงเซียน - เหรียญจบที่...ขอบ
การดูพื้นเหนรยญพระปั้ม
หลักการดูพระทั่วๆไป
การดูมีดหลวงพ่อเดิม
บทความทั่วไป
พระรอดพิมพ์ตื้นวัดมหาวัน
เรื่องใกล้ตัวแมลงกินพระเนื้อว่าน
เล่นพระยังไง ให้เป็นซะที
ประมูลพระเครื่อง
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    
สถิติ
เปิดเมื่อ5/10/2011
อัพเดท27/02/2013
ผู้เข้าชม855222
แสดงหน้า1045838




พระรอด กรุมหาวัน

อ่าน 7813 | ตอบ 1

 

พระรอดถือว่าเป็นพระ 1 ในชุดพระเบญจภาคีที่มีความสำคัญ ในเรื่องของความเก่ามีอายุถึง 1,300 ปี อีกประการหนึ่งมีความสวยงามในศิลปะการสร้างที่ลงตัว ถือว่าเป็นพระขนาดเล็กที่มีรายละเอียด มีความสวยงามประณีตด้วยศิลปะทวาราวดีบริสุทธิ์ จากหลักฐานศิลาจารึก และโบราณวัตถุที่ค้นพบในวัดมหาวัน และวัดดอนแก้ว สันนิษฐานว่าการสร้างพระรอดแบ่งออกเป็น 2 ยุค ยุคแรกในสมัยพระนางจามเทวีปฐมกษัตริย์ของนครหริภุญชัย ยุคที่ 2 ในสมัยพระยาสรรพสิทธ์ ในพิมพ์พระรอดยุคแรกนั้น จะแฝงด้วยปรัชญาและคติธรรมในการพิมพ์พระตามความหมายมวลสารที่บรรจุลงไปในองค์พระ แต่ปัจจุบัน ก็ยังมี การแยกแยะพิมพ์ที่ไม่ถูกทาง เช่น การนำพระรอดยุคที่สร้างโดยพระยาสรรพสิทธ์ นำมาเปรียบเทียบกับพระรอดยุคแรกที่สร้างโดยพระนางจามเทวี ซึ่งจะเปรียบเทียบกันไม่ได้ในเรื่องนี้ (1) ความงามที่มีคุณค่าทางศิลปะมีความคลาสสิกที่มีแนวคิด (2) ความแตกต่างกันในเรื่องของความเก่า (3) ในด้านศิลปะที่อ่อนช้อยงดงามของใบโพธิ์ที่รอบองค์พระ เหมือนจะมีชีวิตให้ความรู้สึก และที่สำคัญที่สุดคือเรื่องของความหมายของมวลสารที่บรรจุลงไปนั้นถือว่าสำคัญที่สุดในการสร้างพระรอด ส่วนยุคหลังการสร้างพระรอดมีใบโพธิ์แข็งทื่อ ทำให้อ่านค่าทางศิลปะไปทาง มอเดิร์นอาร์ท (Modern Art) ไม่มีความอ่อนช้อย เป็นเหลี่ยมรูปทรงเรขาคณิตขาดความงามทางสุนทรียภาพ มวลสารในการสร้างไม่ค่อยพบ นิยมสร้างพระเนื้อละเอียด

จากศิลาจารึกที่ค้นพบในวัดมหาวัน ท่านศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ ได้อ่านหลักศิลาจารึก 3 ด้าน อ่านแปลได้ด้านหนึ่ง ส่วนอีกด้านหนึ่งขำรุดข้องความลบเลือนหาย อ่านพอสรุปข้อความกล่าวถึงการปฏิสังขรณ์ วัดวาอาราม และสิ่งอื่น ๆ เช่น พระเจดีย์ พระอุโมงค์ และพระพุทธรูป ไม่ปรากฏนามของกษัตริย์และศักราช สันนิษฐานว่ากษัตริย์ ได้แก่พระยาสรรพสิทธิ์ ในสมัยของพระองค์นิยมการจารึกในศิลา มีลักษณะใกล้เคียงกับที่พบที่วัดดอนแก้ว มีคำอ่านดังนี้
“นี่เป็นการกล่าวถึงเรื่องศาสนา ซึ่งข้าพเจ้า................ในสมัยที่...............เดือนตราชัย............ซึ่งได้กระทำ...............บาทและสามสิบ..........ในเงินสามสิบ.........สองบาท..........ตราลัคบิสสุการ์ (Tralac Bissukar) ซึ่งเป็น.......ปี..........สร้างวัดนี้และวัดอุโมงค์............ร้อยเก้าสิบ...........ร้อย...........ห้าสิบบาท.........ร้อยและบาท........บาท ksar..........สามบาท เช่นเดียว............บาท Par ........สิบสาม เช่นเดียว.......หนึ่ง.......และ.........หนึ่ง...........เงิน.......บาทและหนึ่ง Tapal เจดีย์ราชะ........ขออุทิศทั้งหมดคือ.........แสนห้าหมื่น Kladin ……..สามสิบห้าบาทและสามสิบ.....เจ็ดบาท......ทองแดงหกบาท........kyot……..หนึ่งของสัมฤทธิ์.......สามบาทหนึ่งสิบบาท.......kyak สองแท่ง......หนึ่งแท่ง.......สาม........หิน หนึ่ง หก ของ สังเวยเจ็ดอย่าง..........ที่หนึ่ง...........ที่สาม kladin ..........หนึ่ง mrin ksay ทาสหนึ่งคน ดินที่ปลูกแล้งงาช้าง........ดินที่ปลูกแล้ว..........หมื่น..........”
จากศิลาจารึกทำให้ทราบว่า มีการปฏิสังขรณ์สร้างพระเจดีย์ มีการสร้างพระอุโมงค์ แสดงให้เห็นว่า ในสมัยนั้นนิยมสร้างพระเจดีย์คร่อมพระอุโมงค์ ดังจะเห็นได้จาก วัดอุโมงค์ในจังหวัดเชียงใหม่ ที่สร้างในสมัยพญาเม็งรายปฐมกษัตริย์เชียงใหม่ วัดมหาวันสร้างโดย พระนางจามเวที เพราะเป็นพระอารามหลวงในสมัยนั้นต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 17 สมัยพระยาสรรพสิทธ์ เป็นกษัตริย์ ได้เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง ทำให้เจดีย์และสิ่งก่อสร้างภายในวัด และพระอุโมงค์พังทลาย จึงต้องทำการบูรณปฏิสังขรณ์ ซ่อมแซมดังปรากฏหลักฐานในศิลาจารึก เมื่อมีการสร้างพระเจดีย์ใหม่ก็ มีการสร้างพระรอดบรรจุใหม่ บรรจุไว้ในพระเจดีย์ใหม่ โดยนำพระรอดพิมพ์ใหญ่ยุคแรกมาเป็นพระต้นแบบ แต่มีความแตกต่างในด้านโพธิ์สมมุติที่มีลักษณะแข็งทื่อ ไม่มีจุดตำหนิที่แฝงด้วยปรัชญาตามจุดสำคัญบนองค์พระรอด ยุคนี้จะมีมวลสารค่อนข้างละเอียดทำให้นึกไปถึง พระรอดของครูบากองแก้วและเณรเบี้ยว ที่สร้างพระรอดในยุคที่ 3 โดยนำพิมพ์พระจากพิมพ์เก่ามากและถอดพิมพ์จะเห็นว่ามีขนาดเล็กผิดปกติ และพระรอด ยุคนี้ไม่มีคราบกรุปรากฏภายในองค์พระออกมา เช่น พระรอดยุคพระนางจามเทวี ยุคที่ 1

รูปภาพด้านหน้าตัดของดินทางธรณีวิทยา
รูปภาพด้านหน้าตัดของดินทางธรณีวิทยาแบ่งดินออกเป็น 2 ชั้น คือดินขั้นบนและดินชั้นล่าง ในด้านการพิจารณาพระรอดวัดมหาวันทำให้ทราบว่าการสร้างพระรอด มี 2 ยุค ยุคแรกสร้างโดยพระนางจามเทวี พระรอดที่ค้นพบจึงมีความลึกที่ 1.5 – 2 เมตรจากผิวดิน ยุคที่ 2 สร้างโดย พระยาสรรพสิทธิ์ จาการขุดค้นพบพระรอดยุค พระยาสรรพสิทธิ์ มีระยะความลัก 1 – 1.5 เมตรจากผิวดิน เนื้อพระมีลักษณะแห้งเป็นสีดอกพิกุลเป็นส่วนมาก ส่วนสีอื่น ๆ พบน้อยมาก มีพระรอดพิมพ์ใหญ่เท่านั้นที่มีความงามใกล้เคียงพระรอดยุคแรก เนื่องจากเป็นพระถอดพิมพ์จึงมีขนาดที่เล็กว่าพระยุคแรก ส่วนพิมพ์อื่น ๆ สวยน้อยกว่าพิมพ์ใหญ่ รูปภาพ พระรอดพิมพ์ใหญ่ และ พระเปิม
พระรอดที่ สล่าทา แก้วสิงห์ เป็นผู้ขุดเสาวิหารนั้น มีความลัก 1.8 – 2 เมตร เป็นพระรอดที่สร้างยุแรกโดยพระนางจามเทวีพระรอดจำนวนไม่น้อยสูญหายจมไปในธรณี เนื่องจากแผ่นดินไหว ส่วนใหญ่พระรอดที่ค้นพบในระดับดินที่มีความลึกนี้พบพระรอดแขนติ่งพระคง พระรอดพิมพ์ต้อ พระรอดส่วนใหญ่จะมีมวลสารที่ใกล้เคียงพระคง จึงพอสันนิษฐานได้ว่าจะเป็นพระที่สร้างในยุคเดียวกัน จาการดูจากมวลสารที่ใกล้เคียงกัน จากโพธิ์ผนังที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน พระฤๅษีที่สร้างน่าจะอยู่ในชุดเดียวกัน
ข้อมูลของสล่าทานี้ ตรงกับข้อความสัมภาษณ์ของ ส.ต. ชิต นิลพันธ์ ปัจจุบันอายุ 85 ปี เล่าถึงเหตุการณ์ที่สล่าทา ขุดเสาพระวิหารและพบพระรอดโดยบังเอิญที่วัดมหาวัน
พบพิมพ์พระต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ พระรอดพิมพ์ใหญ่ พระรอดพิมพ์ต้อ รูปปั้นจำลอง ฤๅษี นารอด (สุมนนารถะ) มีขนาดเท่าพระรอดพิมพ์ใหญ่ เนื้อหาสาระ เหมือนพระรอดทั่วไปบางคนนิยมพูดว่าพระรอดคะแนน นอกจากนั้นยังพบพระรอดพิมพ์แขนติ่ง พระคง พบพระรอดพิมพ์ใหญ่ และพิมพ์ต้อ จำนวนหลายองค์ผู้เขียน จึงมีโอกาสได้ศึกษาพระรอดอย่างละเอียดและได้เห็นพระรอดแท้ ๆ ยุคที่พระนางจามเทวีสร้าง ทุกแง่ทุกมุม รวมทั้งเศษพระหักจำนวนมาก ทำให้ทราบรายละเอียดของมวลสารที่ใช้ในการสร้างพระรอด และตีความหมายออกมาตรงกับจุดประสงค์ของผู้สร้างเป็นเกณฑ์

ดินที่นำมาสร้างพระรอด
คุณสมบัติดินที่นำมาสร้างพระรอด จากผลการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน มิสเตอร์เจมส์ ฮอกกิ้น พบว่าดินเหนียวในจังหวัดลำพูน ที่ใช้ในการสร้างพระรอด พบธาตุเหล็ก และอะลูมิเนียม (Iron and aluminium clays) เป็นดินเหนียวชนิดที่มีธาตุเหล็ก และอะลูมิเนียมออกไซด์เป็นองค์ประกอบได้แก่
1. แร่ลิโมไนท์ Fe2 O NH2O
2. แร่เฮมาไทท์ Fe2 O3
3. แร่ออกไซด์ AK2 O3 N H2O

มวลสารที่ผสมใส่ลงไปในดินที่สร้างพระรอด นอกเหนือไปจากดินเหนียวแล้วยังประกอบด้วย สิ่งที่เป็นสิริมงคลดังนี้
1. โพรงเหล็กไหล (แร่ดอกมะขาม)
2. ว่านคงกระพัน 108
3. พระธาตุ
4. อิฐกำแพงเก่าสี่มุมเมือง
5. ดินบริเวณเสาหลักเมือง
6. ศาสตราวุธ (เพื่อข่มเป็นเคล็ดในการต่อสู้กับศัตรู)
7. ผลตะไบพระโลหะ
8. เกสรดอกไม้ 108
9. น้ำทิพย์ จากดอยคำม้อ และสถานที่อื่น ๆ 
10. ดินเหนียวบริสุทธิ์ใจกลางน้ำปิง (ดินจากบาดาล)
11. เหล็กไหล
12. เหล็กน้ำพี้

สาเหตุในการสร้างพระรอด
ในยุคที่พระนางจามเทวีสร้างอาณาจักรหริภุญชัย ได้นำศาสนามาฟื้นฟูอาณาจักรบ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรือง ประชาชนมีความสุขโดยทั่วหน้า ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ เข้าทำนองในน้ำมีปลาในนามีข้าว เป็นที่หมายปองของเจ้าเมืองต่าง ๆ อีกทั้งพระนางจามเทวีมีพระสิริโฉมสวยงามเป็นที่รักของคนทั่วไป ถ้าใครตีเมืองหริภุญชัยได้ก็จะได้ทั้งเมืองและได้ตัวพระนางเป็นมเหสีอีกด้วย จึงมีเจ้าเมืองต่าง ๆ พยายามจะทำสงครามมาโดยตลอด โดยที่พระนางฯ มีพระฤๅษีเป็นที่ปรึกษาในกิจการด้านศาสนา การบริหารและการทหาร จึงมีความเห็นว่าสมควรจัดสร้างสิ่งที่มีความเป็นสิริมงคลครั้งยิ่งใหญ่เพื่อเป็นทั้งขวัญและกำลังใจให้ทหาร แก้เคล็ดแก้อาถรรพ์ให้บ้านเมือง จึงตั้งศาลบูชาเทพยดาฟ้าดิน เพื่อสร้างพระรอด โดยเกณฑ์ช่าง 10 หมู่ ร่วมมือปรึกษาหารือกันออกแบบพระรอด ให้มีความสวยงามให้แนวคิด และมีความกลมกลืนช่างที่ออกแบบด้วยไม้มงคล แกะสลัก พิมพ์พระหลายพิมพ์ ในที่สุดก็เลือกพระรอดพิมพ์ใหญ่เป็นพระปางมารวิชัย (ชนะมาร) สอดแทรกปรัชญาในจุต่าง ๆ ลงในพิมพ์พระรอด คือจุดที่แสดงถึงอาณาเขต อาณาจักร ความยิ่งใหญ่ ความภาคภูมิใจในความเป็นไท มีจุดที่สำคัญทางศาสนาได้แก่วัดสี่มุมเมืองอันได้แก่ วัดมหาวัน วัดพระคงฤๅษี วัดดอนแก้ว และวัดประตูลี้ เป็นต้น 
จากหลักฐาน ประวัติของขุนหลวงวิลังคะ (มะลังคะ) โดย ประเวศ สายกัป เรียบเรียงพิมพ์แจกในงาน ประเพณีเลี้ยงดง ที่หมู่บ้านแม่เหียะ ตำบลแม่เหียะ จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า 
ขุนหลวงวิลังคะเป็นโอรสองค์ที่ 13 ของพระกุนาระราชา แห่งนครทัมมิฬะ บางแห่ง เรียกว่าทัมมิลลวะ และบางแห่งเรียกว่า นครมิลังคะกุระ ต่อมาเปลี่ยนชื่อมาเป็น เมืองระมิงค์นคร อายุได้ 90 ชันษา มเหสีได้ถึงแก่ทิวงคตลง ขุนหลวงวิลังคะ ได้ข่าวว่า เมืองหริภุญชัยมีกษัตรีย์ที่มีพระสิริโฉมงดงามมากมีชนมายุ จ พรรษา มีพระนามว่า พระนางจามเทวี จึงได้ส่งทูตไปเจรจาสู่ขอมาเป็นพระมเหสีพระนางจามเทวีได้ตั้งข้อแม้ ให้ขุนหลวงวิลังคะสำแดงเดชด้วยการพุ่งเสน้า ( เหลนบางที่เรียกว่า ธนู หน้าไม้ที่มีขนาดใหญ่ ) ถ้าสามารถพุ่งเสน้าจากดอยสุเทพถึงเมืองหริภุญชัยได้ ก็จะยอมเป็นมเหสี จึงทดลองพุ่งเสน้าครั้งแรก เสน้าที่พุ่งไปครั้งแรก ไปตกที่หนองน้ำเหนือเมืองหริภุญชัย ณ ที่ขุนหลวงวิลังคะพุ่งเสน้าไปตกครั้งแรก ( ปัจจุบันเรียกว่าหนองเสร้า ) พระนางจามเทวีตกพระทัยยิ่งนัก เพราะไม่ได้มีพระทัยปฏิพัทธ์รักใคร่ในตัวขุนหลวงวิลังคะเลย ครั้นจะตอบปฏิเสธก็กลัวระมิงค์นครจะนำทหารมาย่ำยี จึงได้เย็บพระมาลาหรือหมวก แล้วลงอาถรรพ์ไว้ภายใน ให้ทูตนำมาถวายขุนหลวงวิลังคะพร้อมกับรับสั่งว่า ครั้งต่อไป ให้สวมพระมาลาใบนี้ตอนพุ่งเสน้าด้วย
เมื่อถึงวันแรม 10 เดือน 8 ปีมะเมียพุทธศักราช 1226 เป็นวัที่ขุนหลวงวิลังคะพุ่งเสน้าครั้งที่ 2 นี้ ต่อมาเรียกว่าบ้านปุ่งน้อย ( ปัจจุบันเรียกว่า บ้านโป่งน้อย ต. สุเทพ )
ขุนหลวงวิลังคะคงจะมารู้ภายหลังว่าเสียรู้พระนางจามเทวีแล้ว มีความโกรธแค้นเป็นอันมาก จึงได้กรีฑาทัพเข้าโจมตีเมืองหริภุญชัย แต่กลับสู้ทัพเมืองหริภุญชัยไม่ได้ทัพขุนหลวงวิลังคะถูกโจมตีทัพแตก ขุนหลวงวิลังคะถูกฟันพระกรขวาขาดห้อยร่องเร่ง เหล่าทหารจึงพาขุนหลวงวิลังคะหนีออกจากทัพด้วยความคับแค้น อับอายที่พ่ายแพ้แก่ทัพเมืองหริภุญชัย ในเวลากลางคืนขุนหลวงวิลังคะได้เสวยยาสั่งปลิดชีพตัวเอง และลั่นคำสาปเอาไว้ว่า “นับตั้งเต่นี้ต่อไปอย่าใหชาวระมิงค์นครและชาวหริภุญชัย มันได้สู่สมกันด้วยความสุข ( เอกสารอ้างอิง ดร. สนอง วรอุไร เอกสาร ถ่ายสำเนาเรื่องพระราชชีวประวัติของเจ้าแม่จามเทวี)
จากหลักฐานดังกล่าวทำให้ทราบว่า เป็นสาเหตุหนึ่ง จำเป็นต้องสร้างพระรอด เพื่อเป็นราชประเพณีของกษัตริย์ การสืบอายุพระศาสนาและเสริมสร้างสิริมงคล ให้บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข ส่วนการมอบพระพิมพ์ให้ทหารก็เพื่อ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจเพราะในสมัยนั้น บ้านเมือ

ความคิดเห็น :
1
อ้างอิง

Sue
 
Sue [68.202.141.xxx] เมื่อ 9/12/2019 02:34
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :
 


ศูนย์รวมพระเครื่อง และ ความรู้พระเครื่อง
อันดับหนึ่งของภาคเหนือตอนล่างภาคกลางตอนบน