สินค้า
บทความ
ประวัติคณาจารย์
ประวัติหลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม
ประวัติหลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
ประวัติพระพุฒาจารย์ เอนกสถาน ปรีชาฯ (ท่านเจ้ามา)
หลวงพ่อจันทร์ โฆสโก วัดหาดสองแคว
หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้
หลวงพ่อไซร้ ติสสฺโร วัดช่องลม
หลวงปู่เขียน วัดสำนักขุนเณร
หลวงพ่อสว่าง วัดท่าพุทรา
หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่
หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน
หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์
หลวงพ่อทบ วัดชนแดน
หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง
หลวงปู่พิมพา วัดหนองตางู
ประวัติพระกรุ
พระผงสุพรรณ จ.สุพรรณบุรี
พระรอด กรุมหาวัน
พระซุ้มกอ (พระกำแพงซุ้มกอ) จ.กำแพงเพชร
พระหลวงพ่อเงินกรุวัดขวาง
พระนางพญาพิษณุโลก
พระนางพญากรุเจดีย์กลางน้ำ
ประวัติพระเครื่อง/เครื่องราง/มีดหมอ
ประวัติพระสมเด็จวัดเกศไชโย
ประวัติพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม
พระชัยวัฒน์ท่านเจ้ามา
พระสมเด็จวัดะฆัง
ประวัติการสร้างเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก รุ่นแรก ปีพ.ศ.2513
ขั้นตอนการสร้างตะกรุด หลวงพ่อทบ
การสร้างตะกรุดลูกปืน
ประวัติการลงสูตรลบผงหลวงพ่อทบ
ประวัติตะกรุดหลวงพ่อทบ วัดชนแดน
ประวัติมีดหมอหลวงพ่อเดิม
รู้ทันพระแท้
พระสมเด็จวัดเกศไชโยพิมพ์เจ็ดชั้นอกตลอด
'พระสมเด็จวัดเกศไชโยพิมพ์ ๖ ชั้นอกตัน
พระสมเด็จเกศไชโยพิมพ์ ๗ ชั้น
พระสมเด็จอรหังพิมพ์เล็กมีประภามณฑล
พระสมเด็จอรหังพิมพ์ฐานคู่
'พระสมเด็จอรหังพิมพ์ใหญ่ ฐานสามชั้น
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่พระอุระเล็ก (อกเล็ก)
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่ พระกรโค้ง' (แขนโค้ง)
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑเล็ก
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์สังฆาฏิไม่มีพระกรรณ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์สังฆาฏิ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ฐานแซมพระอุระร่อง
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ฐานแซม
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์เส้นด้ายฐานแคบ
พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้ายอกวี
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์เส้นด้ายแขนกลม
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์เส้นด้าย
พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่พระพักตร์เล็ก
พระรอดพิมพ์ต้อวัดมหาวัน
พระรอดพิมพ์กลางวัดมหาวัน
พระรอดพิมพ์เครื่องราชฯพิมพ์ที่ 2
พระรอดพิมพ์เครื่องราชพิมพ์ที่ 1
ตำหนิ พระซุ้มกอ(พิมพ์ใหญ่มีกนก) จ.กำแพงเพชร
พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง
ชั่วโมงเซียน - เหรียญจบที่...ขอบ
การดูพื้นเหนรยญพระปั้ม
หลักการดูพระทั่วๆไป
การดูมีดหลวงพ่อเดิม
บทความทั่วไป
พระรอดพิมพ์ตื้นวัดมหาวัน
เรื่องใกล้ตัวแมลงกินพระเนื้อว่าน
เล่นพระยังไง ให้เป็นซะที
ประมูลพระเครื่อง
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   
สถิติ
เปิดเมื่อ5/10/2011
อัพเดท27/02/2013
ผู้เข้าชม862761
แสดงหน้า1054006




ประวัติพระสมเด็จวัดเกศไชโย

อ่าน 1138 | ตอบ 0
“พระสมเด็จวัดเกศไชโย” นับเป็นอีก “พระสมเด็จ” ที่วงการพระเครื่องยอมรับว่าสร้างขึ้นโดย “สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี” อดีตเจ้าอาวาส “วัดระฆัง” ผู้เป็น “อมตะเถระ” แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปีใดไม่มีหลักฐานแน่ชัดแต่ที่ “ยอมรับ” ก็เพราะมีปรากฏใน “จดหมายเหตุ” (คัดลอกจากหนังสือเบญจภาคีโดย วิวัฒน์ อุดมกัลยารักษ์) เมื่อครั้ง “พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสมณฑลอยุธยา ปี พ.ศ. ๒๔๑๖ ครั้งนั้นได้เสด็จฯ ทอดพระเนตร “พระพุทธรูปองค์ใหญ่” ปางประทับนั่งที่ “สมเด็จโต” สร้างขึ้นด้วยการก่ออิฐถือปูนขาวประดิษฐานอยู่ ณ วัดไชโยวรวิหาร ครั้นทอดพระเนตรแล้วทรงมีพระราชดำรัสว่า “...พระใหญ่ที่สมเด็จโตสร้างนี้ หน้าตารูปร่างไม่งามเลย ดูที่หน้าวัดปากเหมือนสมเด็จโตไม่มีผิด ถือปูนขาวไม่ได้ปิดทอง ทำนองท่านไม่คิดจะปิดทอง...”
 
ซึ่งหลังจากทรงทอดพระเนตรแล้วต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๓๐ ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ “พระยารัตนบดินทร์” (บุญรอด) เป็นแม่กองงานปฏิสังขรณ์วัดไชโยฯ ขึ้นใหม่ซึ่งการปฏิสังขรณ์ครั้งนั้นได้มีการสร้าง “พระวิหาร” เพื่อครอบพระพุทธรูปองค์ใหญ่ไม่ให้ตากแดดตากฝนอีกด้วย ซึ่งการก่อสร้างพระวิหารต้องมีการ กระทุ้งดินเพื่อฝังรากฐาน (เสาเข็ม) ให้มั่นคงแข็งแรงเป็นเหตุให้พระพุทธรูปองค์ใหญ่ สั่นสะเทือนและพังทลายลงจึงได้พบพระพิมพ์เนื้อผงขาวรูปทรง “สี่เหลี่ยมผืนผ้า” จำนวนมากถูกบรรจุไว้ในองค์พระพุทธรูปโดยพระพิมพ์ที่พบนี้ก็คือ “พระสมเด็จวัดเกศไชโย” ที่ “สมเด็จโต” สร้างขึ้นขณะเป็นเจ้าอาวาสครอง “วัดระฆังโฆษิตาราม” และได้ไปสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่พังทลายลงซึ่งต่อมา “พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใหม่ด้วยเนื้อโลหะพร้อมทรงถวายพระนามว่า “พระมหาพุทธพิมพ์” มาตราบปัจจุบัน
 
ส่วนมูลเหตุที่ “สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี” ไปทำการสร้าง “วัดไชโยฯ” และ “พระพุทธรูปองค์ใหญ่” พร้อมสร้าง “พระสมเด็จวัดเกศไชโย” บรรจุไว้นั้นตามบันทึกของ “พระยาทิพโกษา” (สอน โลหะนันทน์) และ “นายกนก สัชฌุกร” ที่บันทึกจากการบอกเล่าของ “พระธรรมถาวร จันทโชติ” เมื่อครั้งยังเป็น “สามเณร” ที่ทำการช่วย “สมเด็จโต” ตำผงสำหรับสร้างพระก็เพื่อนอกจากเป็นพุทธบูชาแด่ มารดา ของท่านที่ชื่อ “เกศ” แล้วยังเพื่อเป็นอนุสรณ์จากกรณีที่ท่านไปเติบโตและ “นั่ง” ได้ที่ จังหวัดอ่างทอง นั่นเอง
 
ทางด้านพุทธลักษณะของ “พระสมเด็จวัดเกศไชโย” ส่วนใหญ่จะคล้ายกับ “พระสมเด็จวัดระฆัง” และ “พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม” คือมีรูปทรงแบบ “สี่เหลี่ยมผืนผ้า” และสร้างด้วย “เนื้อผงปูนขาว” เป็นมวลสารหลักจะผิดแผกแตกต่างกันก็ตรง “พิมพ์ทรง” คือ “พระสมเด็จวัดเกศไชโย” มีทั้งพิมพ์ “๗ ชั้น, ๖ ชั้น, ๕ ชั้น” และ “๓ ชั้น” ซึ่งในอดีตนักสะสมจะให้ความนิยมเฉพาะ “พิมพ์ ๗ ชั้น” และ “พิมพ์ ๖ ชั้น” เท่านั้นเนื่องจากในอดีต “พิมพ์ ๕ ชั้น” และ “พิมพ์ ๓ ชั้น” ยังไม่เป็นที่ยอมรับจึงเรียกว่า “พระนอกพิมพ์” แต่ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ไหนนักสะสมก็นิยมกันแล้วซึ่งฉบับวันเสาร์หน้าจะนำ “พิมพ์ ๗ ชั้น” ซึ่งเป็นพิมพ์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดมา “ชี้จุดสังเกต” เพื่อการเรียนรู้ให้ถ่องแท้เนื่องจากปัจจุบันองค์ใดที่มีความสวยสมบูรณ์แล้วค่านิยมล้วนทะลุหลักล้านเช่นกัน.(ภาพประกอบจากหนังสือเบญจภาคี)


พุทธธัสสะ
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :
 


ศูนย์รวมพระเครื่อง และ ความรู้พระเครื่อง
อันดับหนึ่งของภาคเหนือตอนล่างภาคกลางตอนบน