สินค้า
บทความ
ประวัติคณาจารย์
ประวัติหลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม
ประวัติหลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
ประวัติพระพุฒาจารย์ เอนกสถาน ปรีชาฯ (ท่านเจ้ามา)
หลวงพ่อจันทร์ โฆสโก วัดหาดสองแคว
หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้
หลวงพ่อไซร้ ติสสฺโร วัดช่องลม
หลวงปู่เขียน วัดสำนักขุนเณร
หลวงพ่อสว่าง วัดท่าพุทรา
หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่
หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน
หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์
หลวงพ่อทบ วัดชนแดน
หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง
หลวงปู่พิมพา วัดหนองตางู
ประวัติพระกรุ
พระผงสุพรรณ จ.สุพรรณบุรี
พระรอด กรุมหาวัน
พระซุ้มกอ (พระกำแพงซุ้มกอ) จ.กำแพงเพชร
พระหลวงพ่อเงินกรุวัดขวาง
พระนางพญาพิษณุโลก
พระนางพญากรุเจดีย์กลางน้ำ
ประวัติพระเครื่อง/เครื่องราง/มีดหมอ
ประวัติพระสมเด็จวัดเกศไชโย
ประวัติพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม
พระชัยวัฒน์ท่านเจ้ามา
พระสมเด็จวัดะฆัง
ประวัติการสร้างเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก รุ่นแรก ปีพ.ศ.2513
ขั้นตอนการสร้างตะกรุด หลวงพ่อทบ
การสร้างตะกรุดลูกปืน
ประวัติการลงสูตรลบผงหลวงพ่อทบ
ประวัติตะกรุดหลวงพ่อทบ วัดชนแดน
ประวัติมีดหมอหลวงพ่อเดิม
รู้ทันพระแท้
พระสมเด็จวัดเกศไชโยพิมพ์เจ็ดชั้นอกตลอด
'พระสมเด็จวัดเกศไชโยพิมพ์ ๖ ชั้นอกตัน
พระสมเด็จเกศไชโยพิมพ์ ๗ ชั้น
พระสมเด็จอรหังพิมพ์เล็กมีประภามณฑล
พระสมเด็จอรหังพิมพ์ฐานคู่
'พระสมเด็จอรหังพิมพ์ใหญ่ ฐานสามชั้น
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่พระอุระเล็ก (อกเล็ก)
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่ พระกรโค้ง' (แขนโค้ง)
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑเล็ก
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์สังฆาฏิไม่มีพระกรรณ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์สังฆาฏิ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ฐานแซมพระอุระร่อง
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ฐานแซม
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์เส้นด้ายฐานแคบ
พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้ายอกวี
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์เส้นด้ายแขนกลม
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์เส้นด้าย
พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่พระพักตร์เล็ก
พระรอดพิมพ์ต้อวัดมหาวัน
พระรอดพิมพ์กลางวัดมหาวัน
พระรอดพิมพ์เครื่องราชฯพิมพ์ที่ 2
พระรอดพิมพ์เครื่องราชพิมพ์ที่ 1
ตำหนิ พระซุ้มกอ(พิมพ์ใหญ่มีกนก) จ.กำแพงเพชร
พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง
ชั่วโมงเซียน - เหรียญจบที่...ขอบ
การดูพื้นเหนรยญพระปั้ม
หลักการดูพระทั่วๆไป
การดูมีดหลวงพ่อเดิม
บทความทั่วไป
พระรอดพิมพ์ตื้นวัดมหาวัน
เรื่องใกล้ตัวแมลงกินพระเนื้อว่าน
เล่นพระยังไง ให้เป็นซะที
ประมูลพระเครื่อง
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   
สถิติ
เปิดเมื่อ5/10/2011
อัพเดท27/02/2013
ผู้เข้าชม862772
แสดงหน้า1054018




'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์สังฆาฏิไม่มีพระกรรณ

อ่าน 6363 | ตอบ 0
เอกลักษณ์เฉพาะตัวของพระพิมพ์นี้ ส่วนใหญ่แล้วก็จะคล้ายกันกับพิมพ์ “มีพระกรรณ” (มีหู) แต่ก็ยังมีข้อปลีกย่อยเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่หากจะก้าวสู่การเป็น “เซียนพระ” ที่ถ่องแท้และรู้จริงแล้วจะต้องไม่มองผ่านข้อปลีกย่อยเล็ก ๆ น้อย ๆ โดยเด็ดขาดเนื่องจากปัจจุบัน “นักปลอมแปลงพระ” มีวิวัฒนาการ “การทำพระปลอม” ได้เหมือนจริงมากโดยวิธีอาศัย “สารเคมี” เข้าช่วย ทั้งนี้ก็เพราะหากทำพระปลอมได้ “ไม่เหมือนของแท้” แล้วก็ยากที่จะนำออกขายได้ฉะนั้นการศึกษาเพื่อแยกแยะ “พระแท้” และ “พระปลอม” ทุกเนื้อทุกพิมพ์และทุกตระกูลให้ออกจากกันได้ จะต้องอาศัย “ข้อสังเกต” สิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ประกอบกันไปด้วยจึงจะได้ชื่อเป็น “เซียนพระ” ได้โดยสมบูรณ์
   
โดยเฉพาะพระในตระกูล “พระสมเด็จ” ทั้งจากสำนัก “วัดระฆัง” และ “วัดบางขุนพรหม” นักปลอมแปลงพระยิ่งมีความพยายามที่จะทำปลอมออกมาให้เหมือน “ของแท้” เนื่องจากมีราคาสูงที่สุดในขบวนพระเครื่องด้วยกันนั่นเองส่วนทางด้านจุดสังเกตของ “พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์สังฆาฏิไม่มีพระกรรณ” (ไม่มีหู) มีดังนี้
 
   
๑. “เส้นขอบข้าง” ทั้งสี่ด้านยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของ “พระสมเด็จทรงชิ้นฟัก” ทั้งจากสำนัก “วัดระฆัง” และ “วัดบางขุนพรหม” คือจะปรากฏ “เส้นนูน” บนขอบข้างทั้งสี่ด้านอันเกิดจากการถอดออกจากแม่พิมพ์ขณะที่ “เส้นซุ้มครอบแก้ว” ก็มีลักษณะเป็นแบบหวายผ่าซีกเพียงแต่เป็นหวายผ่าซีกขนาดเล็ก และมีทั้งโย้ไปทางด้านซ้ายและด้านขวาองค์พระ ในลักษณะจะใช้จุดสังเกตจุดนี้เป็นบรรทัดฐานว่าต้อง “โย้” ไปด้านใดด้านหนึ่งไม่ได้
   
๒. “พระเกศ” (ผม) เป็นเส้นเรียวเล็กวิ่งไปจรดเส้นซุ้มที่มีทั้งแบบเป็น “เส้นตรง” และ “เอียงไปทางด้านซ้ายองค์พระ” ทางด้าน “พระพักตร์” มีลักษณะคล้ายผลมะตูมที่มีลักษณะเป็นผลค่อนข้างยาวกว่าพิมพ์อื่น ๆ และไม่ปรากฏ “พระกรรณ” (หู) จึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์ที่ว่า “ไม่มีพระ
กรรณ” (ไม่มีหู)
   
๓. “พระอุระ” (อก) ปรากฏเส้น “สังฆาฏิ” ที่ชัดคมลึกวิ่งขนานเป็นเส้นคู่ลงไปยัง “ลำพระองค์” (ลำตัว) และไปสิ้นสุดบน “พระหัตถ์” (มือ) ที่ประสานกันในลักษณะนั่งสมาธิบน “พระเพลา” (ตัก) ขณะที่ “พระกร” ทั้งสองข้างวาดโค้งตั้งแต่ “พระอังสา” (ไหล่) ในลักษณะของวงกลมลงไปถึง “พระเพลา” (ตัก)
   
๔.“พระเพลา” (ตัก) ด้านขวาเป็นเส้นยาวเรียวคมชัด ส่วนด้านซ้ายยกสูงกว่าเล็กน้อย ตรงกลางแอ่นนิด ๆ  ที่มองดูแล้วมีลักษณะคล้ายเรือพาย
   
๕.“ฐานมี ๓ ชั้น” โดย “ฐานชั้นบนสุด” เป็นเส้นเรียวยาวและแอ่นกลางเล็กน้อย “ฐานชั้นที่สอง” มีลักษณะคล้ายกับฐานชั้นบนและไม่เป็นฐานสิงห์ “ฐานชั้นที่สาม” เป็นแท่งหนาใหญ่และมีทั้งแบบเป็น “แท่งตัน” และแบบ “เป็นร่อง”
   
๖. จุดสังเกตอีกประการ ของพระพิมพ์นี้คือจะปรากฏทั้ง “เส้นแซม” และ “ไม่ปรากฏเส้นแซม” ระหว่างใต้ “พระเพลา” (ตัก) กับ “ฐานชั้นบน” นอกจากนี้องค์พระส่วนใหญ่ของพระพิมพ์นี้จะไม่ค่อยเรียบร้อยคือ หลาย ๆ องค์มีลักษณะที่คดงอไม่เรียบเป็นเส้นตรง ที่ผู้เขียนเข้าใจว่าเกิดจากนายช่างที่ทำการพิมพ์พระ ที่หลังจากพิมพ์พระเสร็จและถอดออกจากแม่พิมพ์แล้ว จะใช้นิ้วหยิบไปตากให้องค์พระแห้ง ซึ่งบางคนหยิบจับแรงไปจึงทำให้ขอบข้างคดงอไปตามแรงที่หยิบจับนั่นเอง.

'พุทธธัสสะ'
..
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :
 


ศูนย์รวมพระเครื่อง และ ความรู้พระเครื่อง
อันดับหนึ่งของภาคเหนือตอนล่างภาคกลางตอนบน