สินค้า
บทความ
ประวัติคณาจารย์
ประวัติหลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม
ประวัติหลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
ประวัติพระพุฒาจารย์ เอนกสถาน ปรีชาฯ (ท่านเจ้ามา)
หลวงพ่อจันทร์ โฆสโก วัดหาดสองแคว
หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้
หลวงพ่อไซร้ ติสสฺโร วัดช่องลม
หลวงปู่เขียน วัดสำนักขุนเณร
หลวงพ่อสว่าง วัดท่าพุทรา
หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่
หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน
หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์
หลวงพ่อทบ วัดชนแดน
หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง
หลวงปู่พิมพา วัดหนองตางู
ประวัติพระกรุ
พระผงสุพรรณ จ.สุพรรณบุรี
พระรอด กรุมหาวัน
พระซุ้มกอ (พระกำแพงซุ้มกอ) จ.กำแพงเพชร
พระหลวงพ่อเงินกรุวัดขวาง
พระนางพญาพิษณุโลก
พระนางพญากรุเจดีย์กลางน้ำ
ประวัติพระเครื่อง/เครื่องราง/มีดหมอ
ประวัติพระสมเด็จวัดเกศไชโย
ประวัติพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม
พระชัยวัฒน์ท่านเจ้ามา
พระสมเด็จวัดะฆัง
ประวัติการสร้างเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก รุ่นแรก ปีพ.ศ.2513
ขั้นตอนการสร้างตะกรุด หลวงพ่อทบ
การสร้างตะกรุดลูกปืน
ประวัติการลงสูตรลบผงหลวงพ่อทบ
ประวัติตะกรุดหลวงพ่อทบ วัดชนแดน
ประวัติมีดหมอหลวงพ่อเดิม
รู้ทันพระแท้
พระสมเด็จวัดเกศไชโยพิมพ์เจ็ดชั้นอกตลอด
'พระสมเด็จวัดเกศไชโยพิมพ์ ๖ ชั้นอกตัน
พระสมเด็จเกศไชโยพิมพ์ ๗ ชั้น
พระสมเด็จอรหังพิมพ์เล็กมีประภามณฑล
พระสมเด็จอรหังพิมพ์ฐานคู่
'พระสมเด็จอรหังพิมพ์ใหญ่ ฐานสามชั้น
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่พระอุระเล็ก (อกเล็ก)
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่ พระกรโค้ง' (แขนโค้ง)
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑเล็ก
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์สังฆาฏิไม่มีพระกรรณ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์สังฆาฏิ
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ฐานแซมพระอุระร่อง
'พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ฐานแซม
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์เส้นด้ายฐานแคบ
พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้ายอกวี
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์เส้นด้ายแขนกลม
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์เส้นด้าย
พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่พระพักตร์เล็ก
พระรอดพิมพ์ต้อวัดมหาวัน
พระรอดพิมพ์กลางวัดมหาวัน
พระรอดพิมพ์เครื่องราชฯพิมพ์ที่ 2
พระรอดพิมพ์เครื่องราชพิมพ์ที่ 1
ตำหนิ พระซุ้มกอ(พิมพ์ใหญ่มีกนก) จ.กำแพงเพชร
พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง
ชั่วโมงเซียน - เหรียญจบที่...ขอบ
การดูพื้นเหนรยญพระปั้ม
หลักการดูพระทั่วๆไป
การดูมีดหลวงพ่อเดิม
บทความทั่วไป
พระรอดพิมพ์ตื้นวัดมหาวัน
เรื่องใกล้ตัวแมลงกินพระเนื้อว่าน
เล่นพระยังไง ให้เป็นซะที
ประมูลพระเครื่อง
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    
สถิติ
เปิดเมื่อ5/10/2011
อัพเดท27/02/2013
ผู้เข้าชม855114
แสดงหน้า1045730




พระซุ้มกอ (พระกำแพงซุ้มกอ) จ.กำแพงเพชร

อ่าน 70661 | ตอบ 8
ประวัติ พระซุ้มกอ (พระกำแพงซุ้มกอ) จ.กำแพงเพชร

พระกำแพงซุ้มกอ จัดเป็นพระที่สุดยอด และเอกของเมืองกำแพงเพชร เป็นพระที่อมตะ ทั้งพุทธศิลป์ และพุทธคุณถูกจัดอยู่ในชุดเบญจภาคีที่สูงสุดของพระเครื่องเมืองไทย พระกำแพงซุ้มกอ เป็นพระที่ทำจากเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ และทำจากเนื้อชิน ก็มีพุทธลักษณะของพระซุ้มกอนั้นองค์พระประติมากรรม ในสมัยสุโขทัย นั่งสมาธิลายกนกอยู่ด้านข้างขององค์พระนั่งประทับอยู่บนบัวเล็บช้าง ขอบของพิมพ์พระจะโค้งมนลักษณะคล้ายตัว ก.ไก่ คนเก่า ๆ จึงเรียกว่า “พระซุ้มกอ

พระกำแพงซุ้มกอ ที่ค้นพบมีด้วยกัน 5 พิมพ์ ประกอบด้วย

  1. พิมพ์ใหญ่ แยกออกเป็น 2 ประเภท คือ มีลายกนกและไม่มีลายกนก พระที่ไม่มีลายกนกส่วนใหญ่มักจะมีสีดำ หรือสีน้ำตาลแก่ซึ่งเรามักจะเรียกว่า “พระกำแพงซุ้มกอดำ”
  2. พิมพ์กลาง
  3. พิมพ์เล็ก
  4. พิมพ์เล็กพัดโบก
  5. พิมพ์ขนมเปี๊ย

         พระกำแพงซุ้มกอ ทั้งมีลายกนกและไม่มีลายกนกเป็นพระที่มีศิลปะของสุโขทัยปนกับศิลปะศรีลังกา โดยเฉพาะไม่มีลายกนกจะเห็นว่าเป็นศิลปะศรีลังกาอย่างเด่นชัด พระกำแพงซุ้มกอ เนื้อขององค์พระ ใช้ดินผสมกับว่านเกสรดอกไม้ จึงทำให้เนื้อของพระซุ้มกอมีลักษณะนุ่มมัน ละเอียดเมื่อนำสาลีหรือผ้ามาเช็ดถูจะเกิดลักษณะมันวาวขึ้นทันที

ลักษณะของเนื้อที่เด่นชัดอีกประการหนึ่ง คือตามผิวขององค์พระจะมีจุดสีแดง ๆ ซึ่งเราเรียกว่า “ว่านดอกมะขาม” และตามซอกขององค์พระจะมีจุดดำ ๆ ซึ่งเราเรียกว่า “ราดำจับอยู่ตามบริเวณซอกของพระ”

  • พระกำแพงซุ้มกอ นั้นนอกจากเนื้อดินยังพบเนื้อชินและชนิดที่เป็นเนื้อว่านล้วน ๆ ก็มีแต่น้อยมาก
  • พระกำแพงซุ้มกอ ที่ขุดค้นพบนั้นจะปรากฏอยู่ตามบริเวณวัดบรมธาตุ วัดพิกุล วัดฤาษีและตลอดบริเวณลานทุ่งเศรษฐี
  • พระกำแพงซุ้มกอ ที่ไม่มีลายกนกที่มีสีน้ำตาลนั้นจัดเป็นพระที่หาได้ยากมาก เพราะส่วนใหญ่จะมีสีดำ
  • พระกำแพงซุ้มกอ เป็นพระพุทธคุณนั้นไม่ต้องพูดถึง เพราะพระกำแพงซุ้มกอ มีครบเครื่องไม่ว่าเรื่อง เมตตา มหานิยม แคล้วคลาด ตลอดจนเรื่องโชคลาภ จนมีคำพูดที่พูดติดปากกันมาแต่โบราณกาลว่า “มีกูแล้วไม่จน” ประกอบกับพระกำแพงซุ้มกอ ถูกจัดอยู่หนึ่งในห้าของชุดเบญจภาคี ความต้องการของนักนิยมพระเครื่องจึงมีความต้องการสูงเพราะทุกคนต้องการแต่พระกำแพงซุ้มกอทั้งนั้น ราคาเช่าหาจึงแพงมาก และหาได้ยากมากด้วย
  • พระกำแพงซุ้มกอ ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ไหนก็ตามหรือจะเป็นเนื้อดินเนื้อว่าน ตลอดจนเนื้อชิน พุทธคุณเหมือนกันหมด แล้วแต่ว่าท่านจะหาพิมพ์ไหนมาได้
  • พระกำแพงซุ้มกอ จึงจัดว่าอยู่ในพระอมตะพระกรุอันทรงคุณค่าที่ควรค่าแก่การหา และนำมาเพื่อเป็นศิริมงคล เป็นอย่างมากทีเดียว

ประวัติความเป็นมาของพระซุ้มกอ

         พระเครื่องสกุลกำแพงเพชร มีตำนานปรากฏชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม และเมื่อ พ.ศ.2392 สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี แห่งวัดระฆังฯ ซึ่งขึ้นมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ก็ได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณ ที่วัดเสด็จ ฝั่งเมืองกำแพงเพชรมีอยู่ในจารึกได้กล่าวถึงพิธีการสร้างพระ อุปเท่ห์การอาราธนาพระ รวมถึงพุทธานุภาพอย่างมหัศจรรย์ ของพระเครื่องสกุลกำแพงเพชรทั้งหลาย นอกจากนี้ในพระราชนิพนธ์ เรื่องเสด็จประพาสกำแพงเพชร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเขียนในปี พ.ศ. 2449 ก็ได้กล่าวถึงจารึกบนแผ่นลานทอง อันมีข้อความเกี่ยวกับการขุดพบพระต่างๆ ตามกรุต่างๆ หลักฐานชิ้นสำคัญ อันเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ได้แก่ศิลาจารึกนครชุม ที่กล่าวถึงการสร้างเมือง โดยพระมหาธรรมราชาลิไท ในราวปี พ.ศ.1279
     
         จากหลักฐานการศึกษา เทียบเคียงทั้งหลายมีข้อสันนิษฐาน ที่เชื่อถือได้โดยสรุปว่า พระซุ้มกอสร้างโดยพระมหาธรรมราชาลิไท เมื่อครั้งดำรงพระยศผู้ครองเมืองชากังราว ในฐานะเมืองหน้าด่านสำคัญของอาณาจักรสุโขทัย ก่อนที่จะได้ทรงรับสถาปนาเป็นกษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัย ดังนั้นอายุการสร้างของพระซุ้มกอจนถึงปัจจุบัน จึงมีประมาณ 700-800 ปี

พระซุ้มกอที่ได้รับความนิยมมีทั้งหมด 4 พิมพ์คือ

  1. พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่มีกนก
  2. พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ไม่มีกนก
  3. พระซุ้มกอ พิมพ์กลาง
  4. พระซุ้มกอ พิมพ์ขนมเปี๊ยะ

เนื้อของพระกำแพงซุ้มกอมีดังนี้

  • เนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ เป็นเนื้อที่ได้รับความนิยมสูงสุด
  • เนื้อว่าน แบ่งเป็นเนื้อว่านล้วน ๆ และเนื้อว่านหน้าทองคำ เนื้อว่านหน้าเงิน
  • เนื้อชินเงิน
  • เนื้อว่านและเนื้อชินเงิน ปัจจุบันหาพบยาก

        พิมพ์ใหญ่มีลายกนก เป็นพิมพ์ที่พบเห็นแพร่หลาย เป็นพระปางสมาธิ บนฐานบัว มีซุ้มลายกนกรอบองค์พระ เป็นพระดินเผา ผสมว่านและเกสรดอกไม้ ตามผิวจะมีจุดแดง ๆ เรียกว่า แร่ดอกมะขาม ซึ่งเป็นวัตถุธาตุตะกูลเหล็กไหล จุดดำเรียกรารัก จับกระจายเป็นหย่อม ๆ

  • พิมพ์ใหญ่ไมมีลายกนก คือพระซุ้มกอดำ เป็นเนื้อที่หายากมาก ราคาแพง พบที่กรุวัดบรมธาตุ, วัดพิกลุล, และกรุนาตาคำ
  • พิมพ์กลาง มีลักษณะใกล้เคียงกับพิมพ์ใหญ่ลายกนก เพียงแต่บางและตื้นกว่า หายากครับ
  • พิมพ์ขนมเปี๊ยะ ความจริงก็เป็นพิมพ์ต่าง ๆ นั่นเอง เพียงแต่ไม่ได้ตัดขอบมนออก จึงดูคล้ายขนมเปี๊ยะ

ส่วนพิมพ์อื่น ๆ ไม่ขอพูดถึง เพราะหาชมได้ยากมาก

การค้นพบพระกำแพงซุ้มกอ

         เมื่อ พ.ศ.2392 สมเด็จพระพุฒาจารย์โต วัดระฆัง ได้ไปเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ได้พบศิลาจากรึกที่วัดเสด็จ จึงทราบว่ามีพระเจดีย์ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ฝั่งเมืองนครชุมเก่า ท่านจึงชักชวนเจ้าเมืองออกสรวจ ก็พบเจดีย์ 3 องค์ อยู่ใกล้ ๆ กัน แต่ชำรุดมาก จึงได้ชักชวนเจ้าเมืองทำการรื้อพระเจดียเก่าทั้ง 3 องค์ รวมเป็นองค์เดียวกัน เมื่อรื้อถอนจึงพบพระเครื่องซุ้มกอจำนวมาก หลวงปู่จึงนำเข้ากรุงเทพ ฯ ส่วนหน่งพร้อมเศษอิฐหิน และบรรทึกใบลาน แล้วนำมาสร้างพระสมเด็จของท่านจนขึ้นชื่อลือกระฉ่อน เพราะสร้างตามสูตรการสร้างพระซุ้มกอ ส่วนการสร้างเจด์ยังไม่ทันแล้วเสร็จ เจ้าเมืองก็ด่วนลาลับ ต่อมาพระยาตะก่า ขุนนางพม่า จึงปฏิสังขรณ์ต่อ จนเสร็จ จึงมีรูปลักษ์เป็นเจดีย์พม่า

         พระกำแพงซุ้มกอ เป็นพระศิลปะสุโขทัยยุคต้น สร้างประมาณ พ.ศ.1900 สมัยพญาลิไท ขุดค้นพบหลายกรุ โดยครั้งแรกพบ ณ วัดพระบรมธาตุ โดยหลวงปู่โต ต่อมา พ.ศ.2490, และ 2501 ก็พบอีก แต่ไม่มาก ปี 2505 และ 2509 พบจากกรุวัดพิกุลทอง, วัดฤาษี วัดหนองลังกา และวัดซุ้มกอ

พระซุ้มกอ พิมพ์มีกนก

         ขุดค้นพบบริเวณฝั่งตะวันตกของลำแม่น้ำปิง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นบริเวณทุ่งกว้างที่มีชื่อว่า ' ลานทุ่งเศรษฐี ' หรือโบราณเรียกว่า ' เมืองนครชุมเก่า ' บริเวณลานทุ่งเศรษฐีอันกว้างใหญ่นี้ ปรากฎซากโบราณสถานอยู่มากมาย เป็นชื่อวัดนับสิบกว่าวัดด้วยกัน พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์มีกนก ขุดพบที่กรุวัดมหาธาตุ กรุวัดพิกุล หรือหนองพิกุล กรุฤาษี กรุตาพุ่ม กรุนาตาคำ กรุลานดอกไม้ กรุวัดหนองลังกา และเจดีย์กลางทุ่ง

         ส่วนพระนามของพระซุ้มกอนั้น เป็นเอกลักษณ์ของซุ้มประภามณฑล ที่ครอบเศยรองค์พระ เป็นซุ้มโค้งงอเหมือน ก ไก่ เลยเรียกติดปากมาตั้งแต่โบราณว่า ' พระซุ้มกอ ' พระกำแพงซุ้มกอ สันนิษฐานว่า จะสร้างในสมัย พระมหาธรรมราชาลิไท แห่งสุโขทัย พระพุทธศิลปะขององค์พระจะสง่างาม มีความล้ำสัน นั่งขัดสมาธิราบอยู่บนบัลลังก์บัวเล็บช้าง ภายใต้ซุ้มเรือนกนก

พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์มีกนก 
     
         เป็นพระที่ขุดพบมีจำนวนค่อนข้างน้อย เนื้อดินเผา เป็นพระที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ไม่เหมือนพระเครื่องดินเผาทั่วไป เป็นพระดินเผาที่มีเนื้อค่อนข้างนิ่ม ละเอียด ไม่มีเม็ดกรวดเจือปน เนื้อขององค์พระจะดูค่อนข้างจะเปื่อยและยุ่ยง่าย เหมือนพระดินดิบ คือเหมือนพระที่ไม่ผ่านการเผามา มีว่านดอกมะขามสีแดงปรากฎให้เห็นทั่วองค์พระ

ตำหนิเอกลักษณ์ การสังเกตุพระซุ้มกอ

  1. พระเกศเป็นเกศปลี ปลายแหลมสอบเข้า
  2. พระเนตรรี ลอยอยู่ในเบ้า
  3. พระนาสิกเป็นแท่งแหลม พระโอษฐ์เล็ก
  4. พระกรรณโค้งเป็นแบบหูบายศรีเบาๆ
  5. ยอดองค์ใต้คอเป็นแอ่งกระทะเบาๆ
  6. กนกข้างแขนขวาองค์พระเป็นเลข 6 ฝรั่ง
  7. สังฆาฏิเป็นลำเล็ก
  8. ซอกแขนลึก
  9. ชายจีวรยาวเข้าไปซอกแขน
  10. พระหัตถ์ขวากระดกขึ้นเล็กน้อย

ข้อมูล 2

พระซุ้มกอ
เมืองกำแพงเพชร

ที่มาของกำแพงเพชร หรือในสมัยก่อนเรียกว่า เมือง ชากังราว ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระบรมราชาธิราช ที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) ยกทัพไปตีเมืองสุโขทัย ได้รวบรวมเมืองชากังราวกับนครชุมรวมสองฝั่งแม่น้ำปิงเข้าด้วยกัน ให้ชื่อใหม่ว่า กำแพงเพชร เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 358 กิดลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 8,607.5 ตารางกิโลเมตร
อาณาเขตติดต่อจังหวัดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ ติดต่อจังหวัดตาก จังหวัดสุโขทัย
ทิศใต้ ติดต่อจังหวัดนครสวรรค์
ทิศตะวันออก ติดต่อจังหวัดพิษณุโลก
ทิศตะวันตก ติดต่อจังหวัดตาก
จากศิลาจารึกหลักที่ 1 (ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง) และศิลาจารึกแผ่นที่ 2 (ศิลารารึกวัดศรีชุม) ทำให้ทราบว่ากรุงสุโขทัยแผ่อาณาจักรมายังเมืองกำแพงเพชร ในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทยเป็นกษัตริย์ มีการสถาปนาการปกครองพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำปิง เมืองนครชุมอยู่บนฝั่งแม่น้ำปิงทิศตะวันตกริมคลองสวนหมาก ศิลาจารึกหลักที่ 3 (จารึก นครชุม)

กล่าวว่าเมื่อ พ.ศ. 1900 พระมหาธรรมราชาลิไทยได้เสด็จมาสถาปนาพระศรีมหาธาตุ และปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ซึ่งได้มาจากลังกา ปลูกไว้ที่กลางเมืองนครชุม นอกจากนี้ยังทรงประดิษฐานรอยพระพุทธบาทไว้ที่เขานาทอง เมืองบางพานซึ่งปัจจุบันเป็นอำเภอพรานกระต่าย เมื่อพิจารณาหลักฐานจากศิลาจารึกและโบราณสถานทำให้ทราบว่า เมืองนครชุมเป็นศูนย์กลางบริเวณลุ่มแม่น้ำปิง ในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทยเป็นศูนย์กลางการปกครองที่มีความรุ่งเรืองทางศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมแผ่มาจนถึงเมืองกำแพงเพชร
ศิลปกรรมของเมืองกำแพงเพชรเป็นศิลปะที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แม้นว่าจะมีศิลปะสุโขทัยผสมผสาน แต่เราสามารถแยกความงามซึ่งมีสุนทรียภาพที่มีความแตกต่างกัน เช่น โบราณสถาน เจดีย์ โบสถ์ วิหาร ตามวัดต่าง ๆ ในเมืองกำแพงเพชร ส่วนใหญ่จะก่อสร้างด้วยหินศิลาแลงแบบเดียวกันกับที่พบในกรุงสุโขทัย
พระบูชาพระเครื่องที่ค้นพบในเมืองกำแพงเพชร มีมากวัดมากกรุ ในบริเวณทุ่งเศรษฐีก็มีเจดีย์กรุต่าง ๆ มาก ถ้ารวมฝั่ง ชากังราว ด้วย เช่น กรุอาวาสน้อย กรุอาวาสใหญ่ กรุวัดพิกุล กรุฤๅษี กรุวัดช้างรอบ กรุวัดพระนอน กรุวัดสี่อิริยาบถ กรุวัดกะโลทัย กรุวัดพระแก้ว กรุวัดบรมาตุนี้ ค้นพบแผ่นลานหิน และลานทองโบราณ พูดถึงการสร้างพระในสมัยนั้น นับว่าเป็นพิธีการสร้างพระที่เป็นพิธีหลวงเพราะมีการบันทึกในแผ่นลานเงินและลานทองดังกล่าว
แผ่นศิลาจารึกไทยโบราณการบรรจุพระบรมธาตุ ที่วัดพระบรมธาตุ หลักที่ 3
ศักราช 1279 ปีระกา เดือน 8 ออก 5 ค่ำ วันศุกร์หนไทยกัด เราบูรพผลคุณินักษัตร เมื่อยามวันสถาปนานั้นเป็น 6 ค่ำแล้ว พญาถาไทยราช ผู้เป็นลูกพญาเลอไทย เป็นหลานแก่พญารามราชเมิอได้ครองราชย์ในเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัยได้ราชาภิเษก อันฝูงท้าวพญาทั้งกลายอันเป็นมิตรสหายอันมีในสี่ทิศนี้ แต่งกระยาดงวายของฝาก หนาดปลาไหว้ยันยัดยันอภิเษกเป็นท้าวพญาจี ขึ้นชื่อศรีสุริยวงค์มหาธรรมราชาธิราช หากเอาวัดศรีรัตนมหาธาตุอันนี้มาสถาปนานครชุมปีนี้นั้น พระมหาธาตุอันนี้ไซร้ชาตุอันสามานย์คือพระธาตุจริงแล้ เอาลุกแต่ทวีปลังกาพู้นมาดาย เอาทั้งพืชศรีมหาโพธิ์อันพระพุทธเจ้าเราเสด็จอยู่ใต้ต้นแล ..... หลขุนมาราธิราชได้ปราบ แก่สรรเพชญเตญญาเป็นพระพุทธ นามลูกเบื้องหลังธาตุนี้ .....

แผ่นลานเงินประวัติการสร้างพระธาตุที่วัดพระบรมธาตุ
ตำนานเมืองพิษณุโลก เมืองกำแพงเพชร เมืองพิชัยสงคราม เมืองพิจิตร เมืองสุพรรณว่า มีฤๅษี 11 ตน ฤๅษีเป็นใหญ่ 3 ตน ฤๅษีตาไฟตนหนึ่ง ฤๅษีตาวัวตนหนึ่ง (ฤๅษีอีกตนหนึ่งนั้นสันนิษฐานเป็นฤๅษีนารอด ทำพิธีอัญเชิญโดยอิทธิจิต) เป็นปรานแก่ฤๅษีทั้งหลาย จึงปรึกษากันว่าเราท่านทั้งนี้จะเอาอันใดให้แก่ พระยาศรีธรรมาโศกราช ฤๅษีทั้ง 3 จึงว่าแก่ฤๅษีทั้งปวงว่าเราจะทำด้วยฤทธิ์ทำด้วยเครื่องประดิษฐานเงินทองไว้ฉะนี้ ฉลองพระองค์ จึงทำเมฆพัดอุทุมพรเป็นมฤตยูพิศม์อายุวัฒนะ พระฤๅษีที่ประดิษฐ์ไว้ในถ้ำเหวใหญ่น้อยเป็นอานุภาพ (สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเหล็กไหล เหล็กน้ำพี้ น้ำทิพย์ ดินบาดาล) แก่มนุษย์ทั้งหลาย สมณชีพราหมณาจารย์เจ้าไปถ้วน 5,000 พรรษา ฤๅษีตนหนึ่งจึงว่าแก่ฤๅษีทั้งปวงว่า ท่านจงไปเอาว่านทั้งหลายอันมีฤทธิ์เอามาให้ได้ 1,000 เก็บเอาเกสรไม้อันวิเศษที่มีกฤษณาเป็นอาทิให้ได้ 1,000 ครั้นเสร็จแล้วฤๅษีจึ่งป่าวร้องเทวดาทั้งหลายทั้งปวง (เข้าใจว่าทำพิธีบวงสรวงอัญเชิญเทวดา) ให้ช่วยกันบดยา ทำเป็นพระพิมพ์ไว้สถานหนึ่ง ทำเป็นเมฆพัดสถานหนึ่ง ฤๅษีทั้ง 3 ตน จึงบังคับแก่ฤๅษีทั้งปวง ให้เอาว่านทำเป็นผงเป็นก้อนประดิษฐานด้วยมนต์คาถาให้ประสิทธิ์ทุกอัน จึงให้ฤๅษีทั้งนั้นเอาเกสรไว้บนเจดีย์อันหนึ่ง ถ้าผู้ใดได้ให้ถวายพระพรแล้วจึงเอาไว้ใช้ตามอานุภาพเถิด ให้ระลึกถึงฤๅษีที่ทำไว้นั้นเถิด ... มีกูไว้ไม่จน
ดังมีตอนหนึ่งในพระราชนิพนธ์จากหนังสือเรื่อง เสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชร บทความในพระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ความว่าพระ (สงฆ์) เล่าให้ฟังว่าว่าเวลาที่ไม่ได้เสด็จมานั้นจึงรู้ว่า พระพิมพ์ มีมากมายถึงเพียงนี้ ต่างคนต่างตระเตรียมกันออกมาถวาย ไม่ได้ถือหรือห่อมาตามปกติ จัดหามาในพานดอกไม้ นั่งรายริมทางได้เสมอทุกวัน มิได้ขาด ฯลฯ ของถวายในเมืองกำแพงเพชร ก็มี พระพิมพ์เป็นพื้น
จากบทความพระราชนิพนธ์ดังกล่าว นับเป็นข้อพิสูจน์ที่แสดงให้เห็นว่าเมืองกำแพงเพชรนั้นมีพระเครื่องมากมาย หลายพิมพ์ทรง พระที่ได้เสนอในสื่อหนังสือพิมพ์พระนั้นมีแค่ 20% เท่านั้น (จากการที่ผู้เขียนได้สัมภาษณ์ คนโบราณผู้เฒ่าแก่ผู้รู้เรื่องพระเครื่องเมืองกำแพงกว่า 80% ที่ยังไม่ได้เสนอข้อมูลต่อสาธารณชน ) เพราะเขาเหล่านั้นมีความขลาด คือขาดความกล้าหาญที่จะเสนอความจริง และการยอมรับความจริง เพียงกลัวสังคมพระประณามกับคำว่าพระเก๊ มาลงหนังสือและกลัวจะไม่ได้ขายพระกิน การเขียนตำราเผยแพร่ความรู้พระเครื่องนั้นนิยมไปลอกตำรานักเขียนรุ่นพี่ที่เขียนเอาไว้ และนำราชาศัพท์มาชี้แจงซ้ำพระองค์เดิม ก็ไม่ทราบว่าเป็นพระแท้หรือไม่ข่มนักเขียนรุ่นหลังยังไม่พอ ปากยังด่าว่านักเขียนแนวสร้างสรรค์ไม่ให้เกิดอีก ว่ากันอย่างนั้นนักเขียนที่ดีเขาจะมีจรรยาบรรณ จะไม่ตกเป็นเครื่องมือของใคร จะเสนอความรู้ที่เป็นกลางๆ และมีวิสัยทัศน์ (vision) ที่กว้างไกล สามารถนำพิสูจน์ได้ มีเหตุผล รู้จักการวิเคราะห์ จะไม่ขีดกรอบให้แคบ และไม่ยกย่องใครคนใดคนหนึ่งเหมือนปัจจุบัน จึงไม่มีใครที่จะปริปากพูดความจริง ดังนั้นมีพระเพียงไม่กี่องค์เวียนกันจนพระสึกแล้วสึกอีกไม่มีอะไรใหม่ให้วงการไม่มีสีสันให้สังคมพระเครื่อง จืดชืดไร้น้ำยาเป็นการขีดเส้นรอบวงให้แคบลงไป เพื่อหวังผลเรื่องการปั่นราคาพระเครื่องให้สูงขึ้น และเหตุการณ์นี้ไปสวนกระแสการอนุรักษ์โดยสิ้นเชิงอย่างนี้แหละคือ การทำลายมรดกโลก ทางอ้อมพูดถึงการประกวดพระถ้านำคนที่ไม่มีความรู้เรื่องศิลปวิชาการเรื่องพระเครื่องมาเป็นกรรมการแล้วฟันธงพระแท้เป็นพระเก๊กันอย่างปัจจุบันแล้วน่าห่วงเยาวชนยุคใหม่คงแขวนหรือห้อยพระเก๊กันเป็นแถว แต่ห้ามนำไปอวดคนที่เขารู้จริงและชาวต่างประเทศ อายเขา เพราะเขาเหล่านั้นมีการศึกษาดี รู้จักการวิเคราะห์ หาเหตุผล อีกประการหนึ่ง พระแท้จะประกันตัวของพระเอง เพราะความเป็นธรรมชาติ ความเก่า ความเป็นอมตะที่เป็นสัจธรรมที่ปลอมไม่ได้ ไม่ต้องพึ่งใบรับรอง ใบรับรอง พระแท้ 100 ใบ ยังไม่เท่าพระแท้องค์เดียว ที่เปี่ยมสมบูรณ์ด้วยศิลปะที่สวยงาม ที่สูงค่าด้วยความเก่าที่ทรงความเป็นธรรมชาติ ที่นำไปพิสูจน์ได้ทุกเมื่อไม่ว่าทางเคมีและทางฟิสิกส์ ในโลกอนาคต เป็นเรื่องของข่าวสารและข้อมูล เป็นเรื่องของคอมพิวเตอร์ (เป็นการเสียมารยาทมากในการประณามพระแท้ว่าผิดพิมพ์ เพราะผู้กระทำเจตนาที่จะทำให้เป็นเช่นนั้น)

ประวัติการพบพระเครื่องฯ เมืองกำแพง
ตำนานการค้นพบพระกำแพงทุ่งเศรษฐีมีบันทึกไว้ว่ามีพระเจดีย์เก่า 3 องค์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระเจดีย์เก่าทั้งสามองค์ ชำรุดทรุดโทรมมาก พระยากำแพงเพชร (น้อย) ผู้ว่าราชการในสมัยนั้นได้รื้อพระเจดีย์ทั้งสามองค์ได้ค้นพบพระทุ่งเศรษฐีมากมายหลายพิมพ์และยังได้พบแผ่นลานเงินจารึกเป็นอักษรขอมโบราณได้พรรณนาเรื่องการสร้างพระพิมพ์ พร้อมพิธีสักการบูชา พระที่พบในเจดีย์มีดังนี้คือ พระกำแพงพลูจีบ พระกำแพงเมล็ดขนุน พระซุ้มกอพระกำแพงเปิดโลก (เมล็ดทองหลาง) พระเมล็ดน้อยหน่า พระนางกลีบบัวกำแพง พระเมล็ดมะลื่น พระนางกำแพงเมล็ดมะเมล็ด ฯลฯ
วัดพระบรมธาตุ สันนิษฐานสร้างในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี สร้างในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทย กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยได้โปรดสร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุดังปรากฏในศิลาจารึก นครชุมหลักที่ 3 ต่อมาได้บูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยพระยากำแพงเพชร (น้อย) เป็นผู้ว่าราชการตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 มีเศรษฐีชาวกะเหรี่ยง ชื่อว่า พญาตระก่า ได้ขออนุญาตทางผู้ว่าราชการจังหวัดทำการบูรณปฏิสังขรณ์ด้วยความเลื่อมใสศรัทธา โดยได้นำช่างชาวพม่า ทำการรื้อถอนเจดีย์ ซึ่งเดิมมี 3 องค์ สร้างขึ้นใหม่เป็นเจดีย์องค์เดียว เป็นเจดีย์ทรงพม่า สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2419 และอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุในเจดีย์องค์เก่า ซึ่งบรรจุในภาชนะรูปสำเภา มีพระธาตุอยู่ 9 องค์มาบรรจุในเจดีย์องค์ที่สร้างใหม่ ในปี พ.ศ. 2449 หลานพญาตระก่า ได้นำยอดฉัตรจากเมืองย่างกุ้งมาประดิษฐานที่ยอดพระเจดีย์ ซึ่งยังคงอยู่จนถึงทุกวันนี้

พระเครื่องพิมพ์ที่รู้จักกันโดยการจัดพิมพ์ทางสื่อสิ่งตีพิมพ์
ได้แก่พระเครื่องเมืองกำแพงสกุลทุ่งเศรษฐีที่มาจากกรุวัดต่าง ๆ ทุ่งเศรษฐีมีบริเวณกว้างใหญ่ไพศาล ประกอบด้วยหลายวัด หลายเจดีย์แบ่งสถานที่ที่ค้นพบออกเป็น 3 จุดใหญ่ ดังนี้

1. กรุฝั่งลานทุ่งเศรษฐี (นครชุม) ได้แก่พระเครื่องที่ค้นพบจากรุวัดบรมธาตุ กรุวัดซุ้ม
กอ กรุวัดเจดีย์กลางทุ่ง (วัดทุ่งเศรษฐี) และวัดพิกุล (วัดหนองพิกุล) เป็นต้น
พระเครื่องที่พบ ได้แก่พระกำแพงซุ้มกอ พระกำแพงเมล็ดขนุน พระกำแพงพลูจีบ พระ
กำแพงเปิดโลก พระกำแพงลีลา พระกำแพงกลีบจำปา พระยอดขุนพล พระกำแพงพิมพ์ต่าง ๆ ฯลฯ
จุดเด่นของพระเครื่องทุ่งเศรษฐี คือมีความละเอียดของเนื้อและมีความหนึกนุ่มเป็นพิเศษ

2. กรุฝั่งเมืองกำแพงเพชร (ชากังราว) ได้แก่ พระเครื่องที่พบจากรุวัดพระธาตุ กรุวัด
พระแก้ว กรุวัดพระนอน กรุวัดป่า กรุวัดสี่อิริยาบถ กรุวัดช้างรอบ กรุวัดอาวาสใหญ่ กรุวัดอาวาสน้อย กรุวัดตึกพราหมณ์ กรุวัดกระโลทัย
พระพิมพ์ที่ค้นพบ มีมากพิมพ์ เช่นเดียวกับฝั่งทุ่งเศรษฐี มีพุทธศิลป์ที่ใกล้เคียงกัน
หมายความว่าการดุด้วยสุนทรียภาพจะมีคล้าย ๆ กัน เช่น พระซุ้มกอ อาจจะมีหลายพิมพ์ แต่ละพิมพ์ก็แยกไปอีกหลายบล็อก ด้วยสาเหตุนี้เองจึงทำให้พระมีมากพิมพ์ แต่พบพระพิมพ์ที่แตกต่างจากฝั่งทุ่งเศรษฐีคือ พระกำแพงห้าร้อย

3. กรุนอกเมือง ได้แก่กรุที่นอกเหนือไปจากกรุลานทุ่งเศรษฐีและฝั่งกำแพงเพชร เช่น
กรุวังพาน กรุวังควง และกรุต่าง ๆ ที่กำลังค้นพบก็มี มักเรียกชื่อตามสถานที่ค้นพบ เช่น บ.ข.ส. วิทยาลัยครู ฯลฯ
พระกำแพงเพชรที่นิยมนำมาเข้าในชุดพระเบญจภาคีได้แก่
1. พระลีลาเมล็ดขนุน
2. พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ ชนิดมีกนก และไม่มีกนก
3. พระซุ้มกอพิมพ์ขนมเปี๊ยะ
4. พระซุ้มกอพิมพ์กลาง
5. พระลีลาพลูจีบ

มวลสาร (Material) ที่อยู่ในพระซุ้มกอ และความหมาย (Meaning) วิธีและพิธี
ก่อนอื่นต้องทราบว่า ผู้สร้างเป็นใคร มีจุดประสงค์เพื่อการใด ระยะเวลากาลใด เมื่อทราบดังนี้ ก็จะเป็นกุญแจสำคัญ ที่จะนำ เอาเหตุผลนี้ไปพิสูจน์พระแท้ได้อย่างไม่ผิดพลาดเพราะปัจจุบันใช้วี ครูพักลักจำ และมีการผิดพลาดบ่อย ๆ ในการ พิพากษาพระ ที่ใช้คำนี้เพราะพระที่ถูกตัดสินจะกลายเป็นพระเก๊ไปโดยทันทีที่คนกลุ่มนี้ตัดสิน แต่ถ้าเขาตัดสินพลาดใครรับผิดชอบ และก็ต้องถามต่อไปว่า เขาเป็นใคร ที่บังอาจมาตัดสิน ประดุจดังตัวแทนของพระพุทธเจ้า (ดังนั้นจึงขอฝากให้ผู้ใหญ่คือ กระทรวงศึกษาธิการกรุณาพิจารณา ดำเนินการควบคุมดูแลและรับผิดชอบ)
เรื่องที่ข้าพเจ้าเขียนเสนอความรู้เรื่องพระรอดแท้ไปแล้วนั้น ก็มีมวลสารและความหายที่จะไปสู่พระแท้ได้อย่างภาคภูมิใจ และนำแสงสว่างมาให้นักนิยมพระ

มวลสารทางกายภาพ ที่สามารถมองด้วยตาเปล่าเห็นในพระกำแพงเพชรและข้อมูลที่ได้จากแผ่นลานเงิน ประวัติการสร้างพระธาตุที่วัดบรมธาตุ มีดังนี้
1. พระธาตุเหล็กไหล มีความหมายทางความคงกระพันชาตรี
2. โพรงเหล็กไหล (แร่ดอกมะขาม) มีความหมายทาง ความคงกระพันชาตรีและคลาดแคล้ว
3. เหล็กน้ำพี้ มีความหมายคือมีความแข็งแกร่ง คงเหมือนเหล็กกล้า
4. เกสรดอกไม้ 1000 มีความหมายทางมหานิยมและโชคภาค
5. ว่าน 1000 มีความหมาย ทางคลาดแคล้วและคงกระพันชาตรี
6. น้ำทิพย์ มีความหมายทาง แก้เคล็ดอาถรรพ์
7. ดินมงคล มีความหมายทาง ความมีมงคล
8. ทราบเงินทรายทอง มีความหมายทางเงินทองและโชคลาภ
9. ผงถ่านใบลาน (ใช้เฉพาะพระที่มีสีดำ) มีความหมายทาง คงกระพันชาตรี
10. พระธาตุ มีความหมายทางเสริมบารมีอยู่เย็นเป็นสุข
11. ไม้มงคล มีความหมายทาง มหานิยมโชคลาภ

วิธีและพิธี
วิธีทำ พอปั้นเสร็จจะนำพระเข้าเตาเผาโดยบรรจุในภาชนะ วิธีเผาจะใช้ไฟอ่อน ๆ ทั้งนี้เพราะต้องการถนอมเนื้อว่านและเกสรดอกไม้ที่อยู่ในองค์พระให้คงอยู่ และทำให้เนื้อพระหอมและหนึกนุ่มเมื่อถูกสัมผัส วิธีการเผานี้จะแตกต่างไปจากพระรอดและพระนางพญา
พิธี พิธีสร้างเป็นพิธีหลวงเพราะสร้างโดยกษัตริย์ (พระยาลิไทย) พระค่อนข้างจะสมบูรณ์มีพุทธศิลป์สวยงาม เพราะบ้านเมืองอยู่ในความสงบ มีความเจริญรุ่งเรืองทางศาสนา

สีของพระกำแพงเพชร
1. สีดอกพิกุล
2. สีหัวไพลแห้ง
3. สีขมิ้นชัน
4. สีอิฐ
5. สีแดง
6. สีผลมะกอกดิบ
7. สีเขียว (มอย)
8. สีดำ
9. สีน้ำตาลอ่อน

ความคิดเห็น :
1
อ้างอิง

โบว์
รบกวนดูพระซุ้มกอให้ทีนะคะ ได้พระองค์นี้มาจากพ่อขอพี่สะไภ้ คนกำแพงเพชรค่ะ นู๋อยากทราบว่า พระพิมพิ์ไหน กรุไหน แท้ไม่แท้ คือลักษณะเนื้อพระ ดูจากรอยแตก ข้างในเป็นสีอิฐส้มๆค่ะ มีกลิ่นหอม นู๋กลัวที่จะไปถามร้านพระแล้วโดนเปลี่ยน เพราะนู๋ต้องการจะปล่อยเช่าบูชา กลัวเขาบอกเก๊ ช่วยฟังธงให้ทีนะคะ ขอบคุณค่ะ
Thanks: ฝากรูป
Thanks: ฝากรูป
 
โบว์ [110.49.240.xxx] เมื่อ 4/07/2012 09:57
2
อ้างอิง

โบว์
 
โบว์ [110.49.240.xxx] เมื่อ 4/07/2012 10:02
3
อ้างอิง

ป้อม
 
 
ป้อม [115.87.2.xxx] เมื่อ 26/10/2012 15:50
4
อ้างอิง

โก

โก
 
 
โก [171.98.47.xxx] เมื่อ 3/10/2013 14:43
5
อ้างอิง

วรรณศักดิ์
ผมก็มี พระซุ้มกอ แต่พบที่อำเภอพราณกระต่าย อยากทราบว่าเก่ารึป่าวครับ / คงเป็นพระที่เค้าทำแจกใช่มั๊ยครับ / แต่ประวัติที่ได้มาหลวงพ่อท่านไปธุดงค์ แล้วเกิดนิมิตร ท่านก็เลยไปขุดเจอมาครับ / จะแท้ จะเก่าทันที่เค้านิยมรึป่าวนั้น แต่ผมก็สุขใจได้กราบไหว้อยู่บ่อยๆๆ
 
 
วรรณศักดิ์ [110.168.232.xxx] เมื่อ 27/07/2015 16:42
6
อ้างอิง

คนชอบพระกรุ
ผมสงสัยทำไมพระซุ้มกอ ของผมผมเอาผ้าชุบน้ำอุ่นเช็คแล้วมีกลิ่นหอมออกมาครับ
 
 
คนชอบพระกรุ [1.10.213.xxx] เมื่อ 12/05/2017 14:22
7
อ้างอิง

Joy
 
Joy [68.202.141.xxx] เมื่อ 4/03/2019 09:59
8
อ้างอิง

Sue
 
Sue [68.202.141.xxx] เมื่อ 17/04/2019 08:10
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :
 


ศูนย์รวมพระเครื่อง และ ความรู้พระเครื่อง
อันดับหนึ่งของภาคเหนือตอนล่างภาคกลางตอนบน